Site icon Thumbsup

พบคนไทย 44% ยังหวั่นเรื่องความปลอดภัยในการใช้แอปพลิเคชันธนาคาร

แม้ว่ารูปแบบการทำธุรกรรม และการใช้แอปพลิเคชันธนาคารบนมือถือจะพัฒนาต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง แต่การสำรวจของ Innov8asia ร่วมกับ Marketbuzzz ก็ยังพบว่าในประเทศไทยนั้นมีผู้ใช้งานสมาร์ทโฟนที่ใช้แอปพลิเคชันของธนาคารทำธุรกรรมบนสมาร์ทโฟนเพียง 69% เท่านั้น และยังมีถึง 44% ที่ยังกังวลเรื่องความปลอดภัย เกรงว่าจะโดนแฮคบัญชี

การสำรวจวิจัยล่าสุด หัวข้อ ใช้แอปธนาคารทำธุรกรรมอะไรบ้าง นี้ ได้รับการเปิดเผยจาก innov8asia (อินนอฟ8เอเชีย) และ Marketbuzzz (มาร์เก็ตบัซซ) ที่ได้ร่วมกันทำการศึกษาสำรวจกลุ่มตัวอย่างผู้บริโภคคนไทยจำนวน 1,000 คนพบว่า การทำธุรกรรมผ่านแอปพลิเคชันเป็นที่นิยมขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดย 69% ของผู้ใช้งานสมาร์ทโฟนที่ได้ตอบแบบสอบถามนี้ ใช้แอปพลิเคชันธนาคารเพื่อทำธุรกรรมทางการเงินหลากหลายรูปแบบในปัจจุบัน ยิ่งไปกว่านั้น การสำรวจยังเผยให้เห็นว่า ผู้ใช้งานสมาร์ทโฟนเกือบครึ่ง (45%) ใช้แอปพลิเคชันธนาคารบนสมาร์ทโฟนอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง และอีก 36% ใช้งานอย่างน้อยเดือนละครั้ง

อย่างไรก็ดี จุดประสงค์หลักของการใช้งานก็ยังคงเป็นการกิจกรรมที่ไม่ซับซ้อน เช่น การโอนเงิน (67%) และการตรวจสอบยอดเงินในบัญชี (65%) รองลงมาคือการชำระค่าโทรศัพท์/เติมเงิน 44%

แกรนท์ บาร์โทลี่ ประธานบริหารของ Marketbuzzz ซึ่งเป็นอีกหน่วยธุรกิจของ Buzzebees (บัซซี่บีส์) ได้แสดงความคิดเห็นต่อการใช้งานแอปพลิเคชันธนาคารบนมือถือไว้ว่า “ทั้งหมดเป็นเพราะความสะดวกสบาย สามารถทำได้ทุกที่ทุกเวลา มีความปลอดภัยสูง และยังช่วยประหยัดเวลา รวมถึงใช้งานง่ายอีกด้วย

“เราอยู่ในยุคที่เราใช้งานสมาร์ทโฟนเพื่อทำธุรกรรมทางการเงิน ควบคู่ไปกับการชำระเงินบนมือถือ ซึ่งจะช่วยเปลี่ยนแปลงรูปแบบระบบการเงินให้ตรงตามความต้องการของลูกค้า ซึ่งลูกค้าต้องการความสะดวกสบาย ความรวดเร็ว และความมีประสิทธิภาพในการชำระเงิน และการจัดการเรื่องเงิน คุณไม่จำเป็นจะต้องไปยืนต่อคิวที่ธนาคาร เพราะคุณสามารถเข้าสู่ธนาคารได้อย่างง่ายดายผ่านมือถือทุกเวลา ตลอด 24 ชั่วโมง”

ด้าน คาห์ลิด คาห์น หุ้นส่วนผู้จัดการ และผู้ร่วมก่อตั้ง innov8asia กล่าวเสริมว่า

“ธนาคารส่วนใหญ่มักตกหลุมพรางในเรื่องของการปฏิบัติกับกลุ่มลูกค้า โดยส่วนใหญ่ก็มักจะมอบข้อเสนอแบบเดียวกันให้กับลูกค้าทุกกลุ่ม ซึ่งแท้ที่จริงแล้ว ธนาคารควรจะต้องพิจารณาว่ากลุ่มผู้บริโภคใดที่ต้องการข้อเสนอในรูปแบบมือถือ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการรักษาฐานลูกค้าเดิม และเพิ่มจำนวนลูกค้าให้มากขึ้น ซึ่งจะทำให้เกิดการพัฒนาทางด้านบริการต่อไป”

เปรียบเทียบกับประชากรโดยทั่วไป เราจะเห็นได้ว่าผู้ใช้งานแอปธนาคารบนมือถือมักมีอายุที่น้อยกว่า มีสถานะทางสังคมที่สูงกว่า เป็นโสดและเป็นผู้หญิง บางทีนี่อาจจะไม่ใช้เรื่องที่น่าแปลกใจนัก หากดูจากความสัมพันธ์ และความคุ้นเคยของผู้ใช้งานเหล่านี้ที่มีต่อเทคโนโลยีบนมือถือ อย่างไรก็ตาม เราคาดว่าในอนาคตลูกค้าของธนาคารกลุ่มอื่นๆ จะมาใช้บริการผ่านทางมือถือมากยิ่งขึ้น

จากการศึกษายังพบอีกว่า อุปสรรคที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในการพัฒนาเทคโนโลยีนี้ก็คือ ความกังวลเกี่ยวกับเรื่องความปลอดภัย ด้วย 44% ของผู้ใช้งานมือถือกังวลว่าจะมีใครมาแฮ็คบัญชีของตนเอง

สำหรับธนาคารที่ต้องการเพิ่มการเข้าถึงแอปพลิเคชันนั้น ทางรายงานวิจัยได้ให้คำแนะนำไว้ดังนี้

ทั้งนี้ การสำรวจดังกล่าว ได้ใช้ฐานข้อมูลของ Buzzebees ซึ่งปัจจุบันมีผู้ลงทะเบียนกว่า 29 ล้านคน นับเป็นฐานข้อมูลที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยงานวิจัยของ innov8asia และ Marketbuzzz  ได้ทำการสำรวจในเดือนธันวาคม 2559 ด้วยจำนวนตัวอย่าง 1,000 คน ที่มีบัญชีธนาคารที่ยังใช้งานอยู่และใช้แอปพลิเคชันธนาคารบนสมาร์ทโฟนในปัจจุบัน