Site icon Thumbsup

กฎ 5 ข้อของเหล่า startup ที่ผู้ประกอบการในธุรกิจขนาดเล็กควร “เมินเฉย”

มีตัวอย่างดีๆ มากมายบนโลกของธุรกิจที่สามารถนำมารวบรวมเป็นกฎ หรือข้อแนะนำในการวางแผนธุรกิจให้ได้อย่างประสบความสำเร็จ แต่กฎเกณฑ์บางข้อก็ไม่ได้เหมาะสมไปกับทุกธุรกิจเสมอไป บางอย่างเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการในธุรกิจขนาดเล็กพึงกระทำ แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าจะเหมาะสมกับธุรกิจประเภท startup ด้วย ดังนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญในการพิจารณาถึงความแตกต่างระหว่างผู้ก่อตั้ง startup กับเจ้าของกิจการธุรกิจขนาดเล็ก ที่จะมีเส้นทางไปสู่ความสำเร็จแตกต่างกัน

จากงาน Small Business Week ที่สหรัฐอเมริกา ได้มีการแชร์กฎ 5 ข้อของเหล่า startup ที่ผู้ประกอบการในธุรกิจขนาดเล็กควร “เมินเฉย”

1. คิดการใหญ่ เสริมด้วยไอเดียที่วัดได้

แน่นอนว่า startup มีแนวโน้มที่จะโฟกัสเรื่องการเติบโตของธุรกิจมากกว่าสิ่งอื่นใด เพราะเป็นการสร้างอะไรใหม่ๆ สู่ตลาด อย่างไรก็ตามถ้าคุณเป็นเจ้าของกิจการที่ทำธุรกิจในตลาดที่มีผู่เล่นอยู่แล้ว เช่น ร้านซักรีด บริษัทเครื่องกรองน้ำ ฯลฯ มักยากที่จะเร่งอัตราการเติบโตของธุรกิจขึ้นมาได้ โดยเฉพาะถ้าคุณมีบริษัทที่สามารถสร้างกำไรได้เป็นพันล้านดอลล่าร์อยู่แล้ว คุณก็ลืมกฎข้อนี้ไปได้เลย และควรโฟกัสไปที่แนวทางการหากำไรดีกว่า ว่าจะสร้างอย่างไรในจำนวนทรัพยากรพนักงานและงบประมาณที่จำกัด

2. เหล่า Startup จะมีการแข่งขันความสามารถและความน่าดึงดูดอยู่ตลอดเวลา

การแข่งขันอยู่เป็นนิจ เป็นสิ่งที่เหล่า Startup ไม่เคยหยุด หากคุณมีธุรกิจที่ไปสู่จุดอิ่มตัวของตลาดแล้ว ให้คิดถึงว่า มีกี่ร้านที่ประสบความสำเร็จในเมืองนี้ จะเหมาะสมกว่า หรือการแชร์ร่วมกับธุรกิจที่คล้ายกัน เพื่อสร้างผลประกอบการอันมากขึ้น เช่น หากคุณมีร้านกาแฟที่ขายแต่เครื่องดื่ม ก็ลองหาร้านรับทำเค้กมาประดับเข้าคู่กัน

3. รับความเสี่ยง : ลงทุนสร้างสินค้าที่คุณต้องการและผลตอบแทนจะตามมา

ถ้าคุณสร้างตลาดขึ้นมาใหม่หรือชนะคู่แข่งที่มีอยู่ แปลว่าคุณสร้างตลาดใหม่ขึ้นมาได้ แต่ถ้าคุณพยายามที่จะเอาชนะในตลาดที่มีอยู่แล้ว นั่นคือคุณกำลังทำธุรกิจขนาดเล็กอยู่ มีคนจำนวนมากเรียนรู้จากการดูความสำเร็จของบริษัทที่มีอยู่ ว่าเขาทำอย่างไร ขายสินค้าอะไร สร้างตลาดอย่างไร
การแบกรับความเสี่ยงขนาดใหญ่ แนะนำว่าเหมาะสำหรับธุรกิจที่มีหลักสนับสนุนทางด้านการเงินที่ดี หรือไม่อย่างนั้น การทำซ้ำและปรับปรุงรูปแบบธุรกิจที่มีอยู่แล้ว ให้ประสบความสำเร็จจะเป็นสิ่งที่ควรกระทำมากกว่า

4. ตัวชี้วัดของบริษัท คือการรักษาลูกค้า

สิ่งสำคัญคือการเข้าใจว่าบริษัทของคุณมีอะไรดี หลายๆ Startup ต้องการการเติบโตอย่างรวดเร็ว พวกเขามักโฟกัสในหลายๆ เรื่อง ไม่ว่าจะเป็น ตัวชี้วัดของบริษัทในด้านต่างๆ แต่มักจะลืมโฟกัสในตัวสินค้าเอง ดังนั้น ทำไมธุรกิจขนาดเล็กไม่ลองวิเคราะห์จุดเด่นในตัวสินค้าของคุณดู เพื่อตลาดอันเหนือชั้นกว่า

5. วางแผนการก้าวออกจากเวทีธุรกิจ : การขายหุ้น

มีธุรกิจ startup จำนวนมาก วางแผนสร้างธุรกิจรวมไปถึงการออกจากตลาดในตอนจบของเรื่องเลยทีเดียว ส่วนธุรกิจขนาดเล็กนั้น ดีไซน์จุดสุดท้ายให้เป็นในอุดมคติ เช่น สร้างกำไรที่ดีควบคู่ไปกับการสร้างสุขภาพที่ดีให้กับลูกค้า เพียงเพราะหวังว่าบริษัทจะสามารถทำมาหากินตลอดไปในระยะยาวได้ เพราะว่า startup มีจุดยืนคือการสร้าง “แบรนด์ใหม่” ด้วยการปล่อยแคมเปญที่เป็นไอเดีย นำไปสู่การจ่ายเงินก้อนยักษ์จากบริษัทใดบริษัทหนึง แล้วก็ลาจากธุรกิจไป จึงควรเข้าใจความแตกต่างตรงนี้

ไม่ว่าคุณจะเป็นผู้ประกอบการธุรกิจขนาดเล็ก หรือเป็นผู้ก่อตั้งในธุรกิจ startup สิ่งสำคัญที่ควรทำความเข้าใจคือ เป้าหมายของธุรกิจคุณคืออะไร และดำเนินงานตามรอยของหลักที่ดี ตามประเภทธุรกิจของคุณ

ที่มา : Thenextweb