Site icon Thumbsup

‘8 HR Mega Trends’ แนะองค์กรเติมทักษะทรงพลัง ติดสปีดการพัฒนาคน รับโลกการทำงานปี 2022

ใครเล่าจะเชื่อว่า แท้จริงแล้ว ไม่ใช่แค่เพียงผู้นำที่เก่งอย่างเดียวเท่านั้นที่จะนำองค์กรสู่การเปลี่ยนแปลงได้แต่ต้องอาศัย HR ที่ทำหน้าที่เป็น กระดูกสันหลัง และ จิตใจขององค์กร คอยเยียวยาเสมือนกาวใจผสานองค์กรให้ยังเป็นหนึ่ง ผลักดันองค์กรให้ไปต่อได้ไม่สะดุด

ขับเคลื่อน “คน” สู่การสร้างผลลัพธ์ “Work Hard – Work Fast – Work Smart” ให้สอดรับกับนิยามใหม่ของโลก หรือ Now Normal ที่ก่อให้เกิดพฤติกรรมใหม่ๆ ที่คาดไม่ถึงและไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ จากการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลจากองค์กรชั้นนำทั่วโลก

โดย นางอริญญา เถลิงศรี กรรมการผู้จัดการ SEAC ศูนย์พัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแห่งภูมิภาคอาเซียน ได้สรุปแกนหลักสำคัญในการพัฒนาทักษะงาน HR ภายใน HR Community by SEAC ที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงสู่กระแสการดำเนินธุรกิจและการทำงานของพนักงานทั้งองค์กร ได้แก่

3 แกนหลัก ที่ HR ทั่วโลก ต้องให้ความสำคัญ

หลายบริษัทเริ่มหันมาสนใจเรื่องการปรับเปลี่ยน HR Operation ในการดูแล Workforce ท่ามกลางความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นนี้ องค์กรต้อง ‘รุก-เร่ง-รับ’ กับกระแสการเปลี่ยนแปลง อย่างกรณี Work from Home ที่เกิดขึ้น และเปลี่ยนรูปแบบการทำงานขององค์กรเป็นเวลานาน

ในอนาคต HR จะใช้ทิศทางหรือนโยบาย ไหนในการรับมือให้พนักงานยังมี High Productivity และองค์กรเป็น Happy Workplace อยู่เสมอ
พูดกันมาเยอะ กับเรื่อง Transformation หรือ การทรานสฟอร์มองค์กร ที่จะยังคงมีความเข้มข้น และเพิ่มขึ้นมีอีกหลากหลายมิติ แต่องค์กรส่วนใหญ่ก็ยังคงติดกับคำถามที่ว่าต้องเริ่มที่ใคร และอะไรคือการทรานสฟอร์มที่แท้จริงกันแน่

สิ่งสุดท้าย คือ จะทำให้องค์กร Growth หรือ เติบโต ได้อย่างไร เพราะปัจจุบันการแข่งขันสูงขึ้นทวีความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสวนทางกับการพัฒนาเรื่อง Innovation ที่มีแนวโน้มจะลดลงจากเดิมที่นวัตกรรมเกิดขึ้นเยอะในช่วงแรกของโควิด-19

8 HR Mega Trend 2022 สู่การเปลี่ยนแปลงองค์กร

เทรนด์ที่ 1 : Hiring New Talent Internally

การจ้างงานในปี 2022 จะเน้นไปที่การเติมเต็ม หรือ จ้างงานคนข้างใน มากกว่าการจ้างงานคนนอก โดยสร้างกลไกใน 2 มิติ คือ

1. การสร้าง Internal Talent Marketplace การอัพสกิลรีสกิลในหมู่พนักงานและ Talent อย่างต่อเนื่อง

2. ฝั่งผู้บริหาร ต้องมองเรื่องการสร้าง Internal Recruitment ซึ่ง HR พร้อมออกแบบการเติบโตของอาชีพ Career Path ใหม่ๆ ให้ Talent สามารถเติบโตได้ในหลายทิศทาง (Multidirectional) มากขึ้น และให้ความสำคัญกับคนที่เก่งจากการมีทักษะรอบด้าน

เทรนด์ที่ 2 : Building New Management Models for a Multigenerational Workforce

องค์กรต้องพร้อมสร้างวัฒนธรรมองค์กร (Organization Culture) ที่ครอบคลุมและรองรับการทำงานของคนอย่างน้อย 4 เจเนเรชัน อย่าง GEN Z, GEN Y, GEN X และ Baby Boomer เพื่อให้ทำงานร่วมกันได้อย่างสร้างสรรค์และมีความสุข

เทรนด์ที่ 3 : Enabling Hybrid Workplaces

แน่นอนว่า Workplace จะเปลี่ยนไปเป็น Hybrid Workplace ผสมผสานระหว่าง Virtual ทำงานจากที่ไหนก็ได้บางวัน และการเข้ามาทำงานที่บริษัทแบบ Face-to-Face ในบางวัน ดังนั้น หน้าที่ของ HR คือ หาจุดบาลานซ์ในหลากหลายมิติใหม่ ทั้งเรื่องรูปแบบการทำงาน และการดูแลคนในองค์กร เช่น การ On-Boarding การสื่อสารภายในองค์กร การมีส่วนร่วมของพนักงานการประเมินผลงานพนักงานที่เน้นผลลัพธ์ ตลอดจนการเสริมทักษะผู้บริหารในการบริหารจัดการทีมแบบ Virtual Communication

เทรนด์ที่ 4 : Rethinking Work For Gen Z

Gen Z ที่กำลังเข้ามาในตลาดงาน และมีการทำงานที่สุดขั้วต่างจาก Gen Y โดยสิ้นเชิง ดังนั้น การใช้คอนเซ็ปต์แบบเดียวกันในการบริหารคนต่างเจนไม่ตอบโจทย์อีกต่อไป ต้องคิดต่างและคิดมุมใหม่ในการทำงานร่วมกับคน Gen Z เน้นการ Mentor เพื่อที่จะสร้างแรงจูงใจให้เด็กรุ่นใหม่เหล่านี้อยากมาทำงานกับเรา และสร้างผลงานแบบ High Productivity ซึ่งจะนำพาองค์กรสู่การเปลี่ยนแปลงและเติบโตต่อไปได้อย่างยั่งยืน

เทรนด์ที่ 5 : Benefiting from a Growing Gig Economy

การจ้างงานถาวรเริ่มลดน้อยลง เพราะองค์กรเริ่มให้ความสนใจกับการจ้างคนเป็นงานๆ หรือ การจ้างเป็นรายสัญญา รายโปรเจค ซึ่งหลายองค์กรเริ่มหันมาใช้กลยุทธ์นี้มากขึ้น และจากสถานการณ์การแพร่ระบาดที่เกิดขึ้น ทำให้ประเทศไทยนั้นมี Gig workforce เกิดขึ้นเป็นจำนวนหลานแสนคนเลยทีเดียว ซึ่งจะเห็นได้ว่า องค์กรที่มีความยืดหยุ่นปรับตัวได้เร็วแบบ Agile จะมีการใช้ Gig Worker มากขึ้น

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปี 2022 ดังนั้น HR จะต้องเตรียมตัวในเรื่องของการทำงานร่วมกันระหว่างพนักงานประจำและเหล่า Gig ทั้งหลาย ผ่านนโยบายที่เหมาะสมการดูแลพนักงาน หรือ Talent ทั้งภายในและภายนอกบริษัท รวมไปถึงการพัฒนาทักษะผู้บริหารให้ทำงานสื่อสารกับ Gig workforce ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เทรนด์ที่ 6 : Increasing Need for Power Skills: Soft Skills, Digital Skills, Thinking Skills

เรื่องที่สำคัญมากๆ คือ ปีหน้าองค์กรต้องเร่งเพิ่ม “ทักษะทรงพลัง” ใน 3 มิติ ได้แก่ ทักษะทางอารมณ์ ทักษะดิจิทัล และทักษะด้านความคิด ที่ผ่านมา องค์กรยังไม่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงได้สำเร็จ เพราะติดกับดักในเรื่อง Soft Skills อย่างเรื่อง Mindset และ Communication เป็นต้น ที่หลายองค์กรยังมองเผินๆเหมือนไม่สำคัญ

แต่แท้จริงแล้ว ทักษะเหล่านี้กลับกลายเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จขององค์กร นอกจากนี้คนในองค์กรต้องมี Digital Savvy เข้าใจการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัล และต้องมีการพัฒนาในเรื่องของความคิดที่จะช่วยเรื่องการเติบโตขององค์กรได้เป็นอย่างดี

เทรนด์ที่ 7 : Planning for Perpetual Reskilling/Upskilling at Speed

HR ต้องติดสปีดการเรียนรู้ใหม่ๆ ให้กับพนักงานในองค์กร เร่งเติมเสริมศักยภาพของพนักงานผ่านการรีสกิลและอัพสกิลที่เหมาะสม จัดลำดับความสำคัญของทักษะที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงองค์กร ต้องทำคู่ขนานไปกับแผนการดำเนินงานขององค์กร และนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาช่วยเร่งติดอาวุธทักษะให้กับคนในองค์กร และเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กร

เทรนด์ที่ 8 : Increasing Focus on Building Learning Ecosystems

การมีส่วนร่วมของพนักงานนั้นสำคัญมาก และเป็นสิ่งที่ละเลยไม่ได้ การสร้างระบบนิเวศในการทำงานใหม่จึงจำเป็นมากในการสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่เป็นมิตรให้พนักงานไม่รู้สึกกดดันในการทำงานมากเกินไป