Site icon Thumbsup

Ananda พาเหล่า Gen C สัมผัสประสบการณ์ UrbanTech กลางกรุงโตเกียว

หลังจากที่เราเคยนำเสนอถึงการมาของ Ananda ที่หันมาจับด้านเทคโนโลยีด้วยแนวคิด UrbanTech ล่าสุดพาชาว Gen C ตะลุยดูงานที่ญี่ปุ่น ประเทศที่มีนวัตกรรมสำหรับคนเมืองที่โดดเด่นมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก

เมื่อพูดถึง UrbanTech นั่นหมายถึงเทคโนโลยีต่างๆ ที่ช่วยอำนวยความสะดวกสบายและทำให้คุณภาพชีวิตของคนเมืองดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเดินทาง สุขภาพ การใช้ชีวิตในในที่พักอาศัย โดยครั้งนี้ Ananda พาเราไปทำความรู้จักกับบริษัทต่างๆ ที่มีโมเดลธุรกิจที่น่าสนใจที่งาน Ananda UrbanTech Startup Day in Tokyo ไปติดตามกันเลยว่ามีใครบ้าง

GaiaX

เป็นบริษัทที่ก่อตั้งขึ้นมาโดยโฟกัสเรื่องการสร้างออนไลน์คอมมูนิตี้ตั้งแต่ปี 1999 และปัจจุบันเมื่อเทรนด์ด้าน Sharing Economy กำลังเติบโต GaiaX ก็เล็งเห็นประโยชน์ที่มีต่อผู้ใช้ของบริษัทเหล่านี้ และเลือกสนับสนุนธุรกิจด้านนี้โดยตรง รวมถึงการสนับสนุนในเชิงของเงินทุนด้วย อาทิเช่น Startup อย่าง TABICA, notteco, Hyakusenrenma (ที่จะกล่าวถึงต่อไป) โดยครั้งนี้ CEO ของ GaiaX ก็มากล่าวเปิดงานด้วยตัวเอง

TABICA (Dive into the Life of Locals)

บริษัทนี้เกิดจากการผสมผสานของคำ 2 คำ TABI และ SUMICA ธุรกิจ Startup ที่เน้นการท่องเที่ยวแบบสัมผัสประสบการณ์แปลกๆ ในญี่ปุ่นแบบเป็นธรรมชาติสุดๆ รวมถึงกิจกรรมเฉพาะ อย่างเช่นการฝีกการฟันดาบแบบญี่ปุ่น เป็นต้น เปิดให้คนที่ต้องการเป็นเสมือนไกด์ท้องถิ่นขึ้นมา list โปรแกรมท่องเที่ยวและเปิดให้คนจองผ่านทางเว็บไซต์ของ TABICA โดยตรง

Notteco ((The largest Carpooling service in Japan)

เมื่อพูดถึงบริการ Carpool ในสหรัฐฯ​ก็มีบริการดังๆ อย่าง Uber ซึ่งจริงๆ แล้วเค้าว่ายังผิดกฏหมายอยู่ในญี่ปุ่น แต่สำหรับ Notteco เขาวาง position ตัวเองเป็นบริษัทไม่แสวงหากำไร และเน้นการเดินทางระยะไกลๆ สถานที่ท่องเที่ยว ที่รถไฟฟ้า และช่องทางอื่นๆ ในการเดินทางยังไปไม่ถึง อาทิเช่นที่เมือง Teshio Town ใน Hokkaido ซึ่งห่างจากตัวเมืองถึง 70 กิโลเลยทีเดียว ปัจจุบันมีผู้ใช้มากกว่า 33,000 คน และมีผู้ขับมากกว่า 4,000 คน/ปี บริษัทนี้จริงๆ แล้วเริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2007 และ Gaiax ก็ซื้อธุรกิจไปเดือนกันยายน 2015 โดยในปี 2016 หลังจาก GaiaX เข้ามาสนับสนุนบริการดังกล่าวก็เติบโตอย่างก้าวกระโดดมีผู้ใช้มากถึง 3 เท่าเลยทีเดียว

Dverse

เป็นบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญด้าน Virtual Reality โดยเฉพาะ โดยสิ่งที่เค้ามานำเสนอในงานเป็นตัวอย่างของ VR program ที่ให้เราสามารถดูสถานที่เสมือนจริงได้ เหมาะกับธุรกิจกลุ่ม รีสอร์ท โรงแรม อสังหาริมทรัพย์ ความโดดเด่นก็คือไม่ใช่เพียงแค่ดูเท่านั้น แต่ในโปรแกรมเองสามารถกดเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมในจุด และเลือก Layer ของ 3D ใน VR อีกทีว่าจะดูอะไรบ้างอีกด้วย

Hoomano (Making Social Robot Smarter)

ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่นับว่าโดดเด่นเรื่องการพัฒนาหุ่นยนต์มาแต่ไหนแต่ไรแล้ว และมีหุ่นยนต์ออกมาสู่ท้องตลาดมากมาย อาทิ Pepper, Buddy, Sanbot, Jibo เป็นต้น แล้ว Hoomano ทำอะไร? Hoomano พัฒนาซอฟแวร์รวมถึงระบบการจัดการเจ้าหุ่นยนต์คล้ายๆ กับ CMS ใช้ควบคุมหุ่นยนต์ให้ทำงานและ interact กับคนได้ดีขึ้น โดยเฉพาะในทางธุรกิจ อาทิเช่น ต้องการให้หุ่นยนต์โต้ตอบและสร้างประสบการณ์ที่ให้กับลูกค้าของร้านค้าขายเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น โดยสิ่งที่ทาง Hoomano ทำคือการพยายามสร้างซอฟแวร์ที่มีมาตรฐานและใช้ได้กับหุ่นยนต์ยี่ห้อต่างๆ ไม่ว่าจะผลิตจากที่ไหน โดยการที่มาเปิดตัวที่ญี่ปุ่นก็เพราะที่นี่เป็นตลาดที่มีหุ่นยนต์เยอะนั่นเอง

Crowd Reality

เป็นนวัตกรรมสำหรับธุรกิจด้านอสังหาเลยทีเดียว โดยพัฒนา Peer-Peer Platform สำหรับอสังหาฯ​ สำหรับนักลงทุนรายย่อยที่อยากลงทุนในธุรกิจกลุ่มนี้ทั้งบ้าน คอนโด ในขณะที่ฟากของโครงการในญี่ปุ่นก็ต้องการเงินลงทุน ดังนั้นจึงจับทั้ง 2 ฟากมาเจอกัน Crowd Reality ได้รับรางวัลมาจากหลายแห่งไม่ว่าจะเป็นเข้ารอบสุดท้าย Tokyo Accelerate Program 2016, MUFG Digital Accelator 2017, Next Money FinTech Finals 2017, Financial Innovation Business Conference 2017 และทีมชนะเลิศจากงาน Innovative Startup 2017 “Real Estate Section” จัดโดย EY และ FinTech Startup Pitch Batter งาน FinTech Japan 2016 อีกด้วย

Hyakusenrenma

เป็นบริการให้เช่าห้องพักในญี่ปุ่น ลักษณะคล้ายกับ Airbnb แต่ไม่ได้มีแค่เพียงที่พัก ถ้าใครต้องการหาประสบการณ์การใช้ชีวิตแบบญี่ปุ่นที่นี่ก็มีให้เลือกใช้บริการ ไม่ว่าจะเป็นประสบการณ์ปลูกพืชผักกับชาวนา จับปลา และสัมผัสวัฒนธรรมแบบญี่ปุ่นทั้ง 4 ฤดู

Mebiol (Seeding the future)

ส่วนตัวต้องบอกว่าบรรณาธิการชอบ Startup รายนี้เป็นพิเศษ เขาว่ากันว่าในอีก 10 ปีข้างหน้าโลกเราจะขาดดินและน้ำที่มีคุณภาพที่เหมาะแก่การปลูกพืช ผักเป็นอาหาร ฟังแล้วน่ากลัวไม่น้อย จึงเป็นที่มาของการคิดค้นการปลูกต้นไม้ด้วยแผ่นฟิล์มแบบไม่ต้องใช้ดิน เหมาะมากกับสถานที่ที่ไม่เหมาะแก่การปลูกพืช/ผัก โดยแผ่นฟิลม์นี้มีชื่อว่า Hymec หน้าตาแบบพลาสติกใสๆ ดังรูป ไม่ว่าจะเป็นในเมือง หรือทะเลทราย ก็ปลูกพืชได้ ปัจจุบันมีฟาร์มในญี่ปุ่น จีน และสหรัฐอาหรับเอมิเรตใช้บริการแล้วกว่า 150 ฟาร์มและมีแผนขยายไปยังเยอรมัน อิตาลี รัสเซีย การ์ตา และเคนยาในปีนี้ นอกจากนี้ได้จดสิทธิบัตรแล้วกว่า 120 ประเทศ

Upstay (New way of living with flexibility)

เป็นหนึ่งใน Startup สาย Marketplace ที่เน้นเจาะตลาดผู้ต้องการมาพักผ่อนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยผู้ก่อตั้ง Startup รายนี้เป็นชาวญี่ปุ่นนั่นเอง และมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ไทย ปัจจุบันได้รับทุนสนับสนุนจาก East Ventures หนึ่งใน Venture Capital ชื่อดังจากญี่ปุ่นเช่นกัน

นอกจากงานนี้แล้วยังมีโอกาสได้ไปเยี่ยมชมศูนย์ Panasonic ซื้อมี Smart Home Service ให้การใช้ชีวิตในบ้านสะดวกสบายมากขึ้นในรูปแบบต่างๆ รวมถึงพาไปดูอสังหาริมทรัพย์โครงการคอนโดจริงที่นั่น ซึ่งมีกระบวนการดูแลการจัดการที่ยอดเยี่ยมมากๆ ทั้งเรื่องการจัดการจักรยานซึ่งเป็นพาหนะสำคัญของชาวญี่ปุ่นที่นั่น และการจัดแยกขยะชนิดที่ว่าไม่มีกลิ่นมาให้กวนใจลูกบ้านกันเลยทีเดียว

และนี่เป็นเพียงตัวอย่างกิจกรรมดีๆ ที่จัดโดยบริษัท Ananda ให้ทีมงานได้รู้จักว่าเทคโนโลยีจะเข้ามาช่วยให้คุณภาพชีวิตคนเมืองดีขึ้นไ้ด้อย่างไร สุดท้ายต้องขอขอบคุณกิจกรรมดีๆ ที่ทาง Ananda จัดให้กับกลุ่ม Blogger Gen C ในการพาไปเยี่ยมชมดูงานครั้งนี้