Site icon Thumbsup

ชนเผ่าในป่า Amazon ใช้ Android รักษาป่า และเริ่มขาย carbon offsets แล้ว

ชนเผ่า Surui สุดไฮเทคในประเทศบราซิลกลายเป็นชนเผ่าแรกที่ได้รับการรับรองในโครงการ carbon offsets และสามารถขาย carbon offsets ได้ หลังจากที่ร่วมงานกับทางทีมงาน Google Earth และจัดเก็บข้อมูลด้วยโทรศัพท์ Android มากว่า 4 ปี (อ่านรายละเอียดเกี่ยวกับ carbon offsets และ carbon credits ภาษาไทยได้ที่นี่ครับ)

ด้วยความช่วยเหลือจากเทคโนโลยีของ Google อย่างเครื่องโทรศัพท์ Android สมาชิกของชนเผ่า Surui ในบราซิลก็สามารถวัด carbon stock ในดินแดนของตัวเองที่ป่า Amazon ได้แล้ว ซึ่งทำให้ชาวเผ่าสามาราถขาย carbon offsets ในตลาด carbon ของโลกได้ต่อไปอีกถึง 30 ปี โดยล่าสุดทางชนเผ่าได้ส่งโครงการเข้าร่วมเพื่อขาย carbon offsets และก็ได้รับการอนุมัติจากองค์กรที่เกี่ยวข้องแล้ว

ชนเผ่า Surui จะขาย carbon offsets ให้กับบริษัทต่างๆ ที่สนใจในการที่จะชดเชยสิ่งที่ตัวเองได้สร้างปรากฏการณ์เรือนกระจกจากการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์มากเกินไปจากการผลิตหรือการคมนาคมขนส่ง โดย Rebecca Moore ผู้อำนวยการ?Google Earth Outreach ผู้ช่วยเหลือชนเผ่ากลุ่มนี้กล่าวว่า

?มันไม่ใช่แค่เรื่องการการลดปรากฏการณ์เรือนกระจก แต่มันเป็นเรื่องผลประโยชน์ต่อสังคมในโครงการนี้ด้วย ถ้าคุณมี carbon offsets ที่คุณสามารถซื้อได้ ชนเผ่าก็ต้องการที่จะจะให้คุณเรียนรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมของพวกเขาด้วยก่อนที่คุณจะเลือกซื้อ carbon offsets จากพวกเขา?

ในปี 2008 ทีมงาน Google Earth ได้พบปะกับชนเผ่า Surui หลังจากได้รับการติดต่อจากหัวหน้าเผ่า Almir Naramagoya Surui ให้เข้าไปช่วยเหลือ โดยชนเผ่า Surui ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่กำลังถูกทำลายด้วยการทำซุงเถื่อน พวกเขาต้องการที่จะรักษาวัฒนธรรมและพื้นฐานทางชีวิตในป่าของพวกเขาเอาไว้ให้ได้ด้วยเครื่องมือดิจิตอลต่างๆ เช่น Picasa, YouTube และเครื่องมือเขียนบล็อกอย่าง Blogger จากนั้นในปีถัดๆ มา Rebecca กับทีมงานก็กลับไปสอนชาวเผ่าในการใช้ Open Data Kit สำหรับ Android phones ซึ่งใช้เป็นการเก็บฐานข้อมูล ตลอดจนถ่ายภาพการตัดซุงเถื่อนในพื้นที่ ก่อนที่จะนำไปพัฒนาโครงการ carbon credits จนสำเร็จในที่สุด

ในรายงานข่าวเขาก็เขียนตรงๆ นะครับว่ามันอาจจะดูไร้เหตุผลไปสักนิดนะครับกับการใช้เทคโนโลยีในการรักษาชีวิตแบบดั้งเดิมไว้ แต่หัวหน้าเผ่าก็เชื่อว่ามันเป็นวิธีการที่ถูกต้องที่จะรักษาชนเผ่าเอาไว้? นอกจากนี้พวกเขายังหวังที่จะเปิดศูนย์เทคโนโลยีและศูนย์วัฒนธรรมเพื่อที่จะประกาศว่าทางชนเผ่ามีความเชื่อว่าเทคโนโลยีนั้นสามารถนำมาใช้ทำสิ่งดีๆ และสร้างสรรค์ได้เช่นกัน

ที่มา: Mashable

*การทำคาร์บอนออฟเซ็ต (Carbon Offset)
การทำ carbon offset นั้น คือการที่องค์กรต่างๆ เช่น ห้างร้าน บริษัท มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เข้าไปในชั้นบรรยากาศ และต้องการทดแทนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกชนิดนี้ โดยคำนวณออกมาว่ากิจกรรมต่างๆ ของบริษัทนั้นทำให้เกิดคาร์บอนไดออกไซด์ในอัตราเท่าไร และทดแทนด้วยการบริจาคเงินเข้าโครงการต่างๆ ที่มีการรณรงค์และทำกิจกรรมลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในแหล่งอื่น เช่น โครงการใช้พลังงานธรรมชาติทดแทน โครงการปลูกป่า เป็นต้น ซึ่งเราเรียกผู้ที่รับบริจาคว่า Carbon Offset Provider และองค์กรเจ้าของโครงการ (carbon offset provider) นี้จะมีวิธีคำนวณแปรอัตราการปล่อยคาร์บอนฯของบริษัทออกมาเป็นจำนวนเงินที่ ควรบริจาค อย่างไรก็ตามในการทำ carbon offset ผู้บริจาคควรตรวจสอบความน่าเชื่อถือของ offset provider ตลอดถึงการคำนวณคาร์บอนเครดิตที่ถูกต้อง นอกจากนี้ หลายฝ่ายยังออกมาให้ความเห็นว่า ผู้บริจาคเองควรใช้มาตรการลดการปล่อยคาร์บอนฯมากกว่าที่จะมาทดแทนด้วยการ จ่ายเป็นเงิน เพื่อกลบปัญหา จึงจะเป็นการแก้ปัญหาที่ถูกจุด