Site icon Thumbsup

‘ANTIFRAGILE’ ทางรอดของธุรกิจที่ต้องอยู่รอดได้แบบแข็งแกร่ง แต่ก็ยืดหยุ่นได้ในทุกสถานการณ์

ผู้เขียนยอมรับว่าหนังสือ ‘ANTIFRAGILE’ เป็นหนึ่งในหนังสือที่อ่านและเข้าใจได้ยากในการตีความหมายหลายอย่างที่ต้องตีความให้ชัดเจน จึงพยายามที่จะมองแง่มุมของหลายๆ คน เพื่อหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการหานิยามของคำว่า ‘ANTIFRAGILE’ ที่ข้องเกี่ยวกับเชิงธุรกิจ ว่าทำไมนักการตลาดยุคใหม่เริ่มให้ความสนใจในสิ่งเหล่านี้

ด้วยภาวะ “ความไม่แน่นอน” ที่ธุรกิจต้องเจอหลากหลายรูปแบบมาตั้งแต่ก่อนที่จะเกิดวิกฤตโควิด-19 ที่ผ่านมา 2 ปีแล้ว เราก็ยังไม่อาจรู้ได้ว่าวิกฤตนี้จะจบสิ้นเมื่อไหร่ นั่นจึงเป็นแนวทางที่ภาคธุรกิจต้องเจอ คือ ล้มแล้วลุกให้อยู่รอด ยิ่งเป็นบริษัทที่ใหญ่มากเท่าไหร่ โอกาสที่จะล้มยิ่งเป็นไปไม่ได้ แต่จะประคองอย่างไรให้ธุรกิจอยู่รอดและไม่กระทบในภาพรวมขนาดใหญ่

หากแบ่งประเภทของภาวะปัญหาต่างๆ ได้แก่

หนังสือ Antifragile: Things That Gain From Disorder ได้นิยามคำว่า ‘ANTIFRAGILE’ นี้ไว้ว่า สิ่งต่างๆ ที่ได้รับประโยชน์จากแรงกระแทก เมื่อต้องเผชิญกับความผันผวน สุ่มเสี่ยงความผิดปกติ และความเครียด มนุษย์เราจะมีความสามารถในการป้องกันภาวะเหล่านั้นด้วยความยืดหยุ่นหรือทนทานต่อแรงกระแทกและกลับมาคงเดิม

หากแปลเป็นภาษาทางการแบบเข้าใจง่ายๆ ในมุมของธุรกิจคงเป็น การที่ธุรกิจต้องเจอผลกระทบมากมายจากปัญหาต่างๆ ไม่ว่าหนักหนาแค่ไหน หากผู้บริหารสามารถประคองให้ฟื้นกลับมาได้ ธุรกิจที่เก่งกาจนั้นเรียกว่าเป็นธุรกิจที่ Antifragile เพราะไม่ใช่แค่ฟื้นกลับมาได้แบบ Resilience แต่เป็นแมวเก้าชีวิตที่ฟื้นกลับมาได้ แม้เจอภาวะที่บั่นทอนสุดๆ ก็ตาม

‘ANTIFRAGILE’ ในแง่สังคมคือเราพยายามลดความไม่แน่นอนมากเกินไป ด้วยการออกกฏควบคุมต่างๆ ทำให้ไม่เกิดการเรียนรู้ที่แท้จริง และเพื่อลดการผิดพลาดทั้งหลาย เราจึงเห็นการทดสอบหรือการแก้ปัญหามากมายเพียงแค่ทฤษฎีที่เรียนรู้จากแค่ในห้องเรียน แต่ไม่เคยลงมือทำจริง

หรือหากมองในเชิงของระบบวิวัฒนาการของสิ่งทั่วไปในโลก เรามักจะเห็นความเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อมมีบางอย่างที่เติบโตขึ้นได้ตามสภาพแวดล้อม ในขณะที่จะมีบางอย่างต้องสูญหายไป นั่นคือ วัฏจักร บางสิ่งเกิดใหม่และเติบโตได้บางสิ่งก็ดับสูญได้

ในมุมของธุรกิจ เราเห็นได้จาก วิกฤตเศรษฐกิจปี 2008 หลายธนาคารในสหรัฐฯ ใช้ความเสี่ยงมากเกินไป แต่เพราะกลุ่มธนาคารเหล่านี้ มีความข้องเกี่ยวกับระบบเศรษฐกิจอย่างมาก ทำให้รัฐบาลกลางต้องเข้ามาช่วยเหลือเพื่อฟื้นฟู และอัดฉีดเงินเข้าไปเพื่อประคองให้ธนาคารกลางอยู่ต่อไปได้ และนั่นก็ทำให้รัฐบาลกลางเจอภาวะเสี่ยงเรื่องความไม่ยั่งยืน

“หากคนที่มีอำนาจในการตัดสินใจแก้ปัญหา เป็นคนที่พร้อมรับความเสี่ยงไปด้วยกัน นั่นถึงจะเรียกว่าการแก้ปัญหาโดยคนที่สร้างปัญหา”

คนเราชอบใช้โมเดลหรือทฤษฎีมาควบคุมมากเกินไปและก้าวก่ายปัญหาจนไม่สามารถแก้ไขได้ มีนักวิชาการหลายคนพยายามที่จะออกมาแสดงความคิดเห็นของตนเองและไม่รับผิดชอบกับคำพูดของตนเองในปัญหานั้น ดังนั้น ก่อนที่จะเชื่อใครเราต้องดูก่อนว่า คนๆ นั้นมีส่วนได้ส่วนเสียกับปัญหานั้นหรือเปล่า และขอดูหลักฐานด้วย อย่าฟังแค่คำพูด

ดังนั้น ผู้เขียน ‘ANTIFRAGILE’ จึงแนะนำ กลยุทธ์บาร์เบล (Barbell Strategy) หากนึกถึงที่ยกน้ำหนักมันจะมีความเท่ากันอยู่ที่สองฝั่งถ้าเราตั้งอย่างเป็นกลาง (หรือมองอย่างเป็นกลาง) หากเราลองทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งก็ควรที่จะลองทำสิ่งหนึ่งที่สุดโต่งทั้งสองขั้ว เช่น บางคนยอมทำงานที่น่าเบื่อ แต่เขาก็ยอมทำงานอีกอย่างที่ลงทุนแบบสุดโต่ง และการลงทุนที่สุดโต่งนั้นถ้าสำเร็จก็อาจจะดีกว่างานประจำก็เป็นได้

ในแง่ของการทำงาน ไม่ว่าจะอยู่ในตำแหน่งไหน สูง กลางหรือล่าง สิ่งที่มนุษย์เราควรมีคือความกล้าที่จะออกไปเรียนรู้สิ่งใหม่ ลองล้มบ้างและลุกขึ้นมาสู้กับสิ่งใหม่ๆ บ้าง เพราะชีวิตคือการเรียนรู้ค่ะ

 

ที่มา : The Standard Podcast , Ichi, รีวิวหนังสือ Antifragile