Site icon Thumbsup

“Beauty and Wonder” วัฒนธรรมดีต่อใจบนทวิตเตอร์ที่เปิดให้แบรนด์และกลุ่มเป้าหมายมาเจอกัน

หากพูดถึงโซเชียลมีเดียที่ทรงอิทธิพลที่สุด คงหนีไม่พ้น “Twitter (ทวิตเตอร์)” ที่หลายต่อหลายครั้งได้กลายมาเป็นตัวแปรสำคัญในการกำหนดเทรนด์ (Trend Setter) ด้วยบทสนทนาที่หลากหลาย และความอิสระในการติดตามและรวมกลุ่มกันทางความคิด ทำให้จากบทสนทนาหลอมรวมกันเป็นคอมมูนิตี้ที่พร้อมจะส่งเสียงดังเพื่อขับเคลื่อนสังคม รวมถึงขับเคลื่อนทิศทางการตลาด

ไม่นานมานี้ ทวิตเตอร์ได้ทำวิจัยชื่อว่า From Conversation To Culture – Twitter Thailand communities and conversation วันนี้ เราจึงขอชวนคุณมาแอบส่องกันว่า คนบนทวิตเตอร์กำลังพูดคุยกันเรื่องอะไร และสนใจอะไรกันบ้าง มารู้จักกับทวิตเตอร์ให้มากขึ้นกันเถอะ!

ไม่ได้มีแค่เรื่องบันเทิงหรือการเมือง แต่ทวิตเตอร์มีถึงสี่วัฒนธรรมหลัก!

เมื่อพูดถึงทวิตเตอร์ ผู้คนมักนึกถึง “แฟนด้อม” หรือพื้นที่ของเหล่าแฟนคลับ เพราะคนบนทวิตเตอร์มักใช้ Social Media เพื่อการเข้าถึงหรือใช้เพื่อค้นหาคนที่มีความสนใจ หรือคอมมิวนิตี้เดียวกันมากกว่าคนเล่นอินเตอร์เน็ตทั่วไปถึง 28% (GlobalWebIndex, Q2 2020 – Q1 2021) จึงไม่เป็นที่แปลกใจหากทวิตเตอร์จะเป็นพื้นที่ให้แฟนคลับมารวมตัวกัน

แต่จริง ๆ แล้ว รู้หรือไม่ว่า คนไทยบนทวิตเตอร์คุยกันหลายเรื่องมาก ๆ จนเกิดเป็นคอมมูนิตี้ที่แข็งแกร่งนับไม่ถ้วน โดยงานวิจัยจากทวิตเตอร์ได้กล่าวว่า วัฒนธรรมการพูดคุยของชาวทวิตเตอร์ไทยนั้นมีประมาณ 4 หัวข้อ ที่คนพร้อมเข้ามาคุยและใช้ชีวิตกันบนแพลตฟอร์มจนกลายเป็นพื้นที่เชื่อมต่อตนเองกับคนอื่น ๆ ให้ได้ใกล้ชิดกันกว่าเดิม โดย 4 วัฒนธรรมหลักของชาวทวิตเตอร์นั้น ประกอบไปด้วย

  1. บันทึกส่วนตัว (Personal Musings)
    บทสนทนาในกลุ่มวัฒนธรรมนี้มักเกี่ยวกับเรื่องทั่ว ๆ ที่เจอในชีชีวิตประจำวัน เรื่องสัพเพเหระต่าง ๆ ตั้งแต่ฝนตก รถติด หนาว ร้อน ง่วง หิวข้าว ยันเรื่องแอบรักและอกหัก ที่สำคัญเรื่องธรรมดา ๆ เหล่านี้มักได้ยอดรีทวีตสูงเสียด้วย!
  2. การเชื่อมต่อกับคนคอเดียวกัน (Community and Connection)
    เป็นกลุ่มวัฒนธรรมของคนที่เข้ามาเพื่อเชื่อมต่อและรวมกลุ่มกับคนที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกันโดยเฉพาะ รวมถึงอัพเดทเรื่องต่าง ๆ ที่กำลังเกิดขึ้น เช่น เกม อาหาร การออกกำลังกาย ไปจนถึงการเมืองและเศรษฐกิจที่เป็นความสนใจย่อยของคนในกลุ่มนี้
  3. การส่งพลังบวกให้ตัวเองและคนรอบข้าง (Betterment and Aspiration)
    บทสนทนาในกลุ่มวัฒนธรรมนี้มักเกี่ยวกับเรื่องราวดี ๆ ผู้คนเข้ามาเพื่อส่งต่อพลังบวกให้แก่กัน เช่น แสดงความยินดีเมื่อเรียนจบ วันเกิด เกรดออก ได้งานใหม่ เป็นต้น เป็นพื้นที่ที่คนมาเพื่อให้กำลังใจซึ่งกันและกัน และตามหาแรงบันดาลใจในเรื่องต่าง ๆ ดังนั้นเราจึงเห็นกลุ่มคนในทวิตเตอร์หลาย ๆ คนชอบโพสต์คำ และส่งต่อพลังบวกกันเป็นหมู่คณะ
  4. สิ่งสวยงามที่ดีต่อใจ (Beauty and Wonder)
    บทสนทนาในกลุ่มวัฒนธรรมนี้มักเกี่ยวกับเรื่องราวจรรโลงใจ ความฝัน ความหวัง กับกลุ่มคนที่มีความสนใจเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องคู่จิ้นที่กำลังเป็นที่นิยมอยู่ในขณะนี้บนเทรนด์ทวิตเตอร์ หรือเรื่องเคป๊อปที่เป็นความสนใจในหมู่วัยรุ่นทั้งรุ่นเล็กและรุ่นใหญ่คู่ชาวไทยมาเนิ่นนาน

เจาะลึกกลุ่มวัฒนธรรม “สิ่งสวยงามที่ดีต่อใจ (Beauty and Wonder)” คืออะไรกันนะ?

วันนี้เราขอถือโอกาสพาไปเจาะลึกหนึ่งในกลุ่มวัฒนธรรมของชาวทวิตเตอร์ไทย นั่นก็คือ “กลุ่มสิ่งสวยงามที่ดีต่อใจ

บทวิจัยได้แบ่งความสัมพันธ์ระหว่างบทสนทน กับกลุ่มวัฒนธรรมเป็นสองแกน ทั้งในคำถามว่า บทสนทนานี้เกี่ยวกับ “อะไร” และเป็นเรื่อง “แบบไหน” โดยพบว่าบทสนทนาของพวกเขา มักจะเป็นเรื่องไกลตัว เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นกับคนอื่น รวมถึงมักเป็นเรื่องแปลกใหม่ มากกว่าเรื่องธรรมดาที่คุ้นเคย โดยมีจุดเชื่อมโยงระหว่างเรื่องไกลให้กลายเป็นใกล้ชิดทางความรู้สึก ด้วยความสนใจและเป็นเรื่องราวที่ดีต่อใจของตนเองและคนในคอมมูนิตี้

ชาว “สิ่งสวยงามที่ดีต่อใจ” เขาคุยอะไรกันบ้าง

เราพบว่าบทสนทนาของกลุ่ม “สิ่งสวยงามที่ดีต่อใจ (Beauty and Wonder)” พูดคุยกันทั้งหมด 3 หัวข้อ ได้แก่ คนดังและแฟนด้อม (Celebrities and Fandoms), แกลอรี่ศิลปะ (Curated Aesthetic) และ ความหวังและความฝัน (Hopes and Dreams)

คนดังและแฟนด้อมเป็นกลุ่มที่เสียงดังมากในทวิตเตอร์ จนเกิดกระแสการผลักดันให้ไทยกลายเป็นฮับเอนเตอร์เทนเมนต์ และเป็นตลาดใหญ่ของศิลปินเคป๊อป! กลุ่มนี้จัดได้ว่าเป็นวัฒนธรรมที่แข็งแรงอย่างมากในทวิตเตอร์ไทย เช่น กลุ่มแฟนด้อมของศิลปินเกาหลีอย่าง BTS, GOT7 และ Blackpink ที่แข่งกันขึ้นเทรนด์บนทวิตเตอร์วันเว้นวัน ทั้งอวดความสวย อวยความหล่อ พร้อมกับหวีดเพลงใหม่ทันทีที่พวกเขา “คัมแบ็ค”

และมากไปกว่านี้ ยังมีเหล่าคู่จิ้นศิลปินไทยยุคใหม่ ที่ได้ครองพื้นที่ทวิตเตอร์เทรนด์แข่งกับศิลปินไทยในเกาหลี ที่ไม่ได้โด่งดังแค่ในไทย แต่ยังไปจนถึงเทรนด์โลก โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ซีรีส์ออนแอร์ เช่น #2gethertheseries #นิทานพันดาว #แปลรักฉันด้วยใจเธอ รวมถึงซีรีส์จีนอย่าง #ปรมาจารย์ลัทธิมาร ที่ติดเทรนด์ข้ามปีกันเลยทีเดียว

เหล่าแฟนคลับไม่ใช่แค่ชอบแคปเจอร์ภาพซีนโดนใจมาหวีดกันเป็นหมู่คณะ พวกเขายังพาส่องสินค้าและแบรนด์ที่เหล่าคนดังใช้ นั่นทำให้หลายต่อหลายครั้ง เราได้เห็นชื่อของศิลปินพ่วงกับแบรนด์ต่าง ๆ ขึ้นฮิตติดเทรนด์ ผ่านความสร้างสรรค์และพลังของแฟนคลับ

ความสำเร็จไม่ได้มาเพียงแค่จำนวนบทสนทนานับแสนทวีตเท่านั้น แต่เหล่าแฟนคลับยังชวนกันไปตามรอยซื้อสินค้าที่เหล่าคนดังเป็นพรีเซนเตอร์จนหมดสต็อคอีกด้วย

นอกเหนือไปจากแชร์ภาพสุดปังของเหล่าไอดอล ภาพที่ได้รับความนิยมในการแชร์เป็นอย่างมาก ยังเป็นภาพของความสวยความงาม ชวนจรรโลงจิตใจ เช่น #ตลาดนัดแฟนอาร์ต จะมีคนมาแชร์ภาพสวย ๆ ที่ตนเองวาด ประหนึ่งใช้ทวิตเตอร์เป็นแกลอรี่จัดแสดงงานศิลปะของตนเอง หรือแชร์ภาพวิวสวย ๆ ดอกไม้ สถานที่ท่องเที่ยวชิค ๆ หรือแม้กระทั่งขนมน่ารัก ๆ คาเฟ่สวย ๆ ก็เช่นเดียวกัน

เรียกกันได้ว่าชาวทวิตเตอร์สามารถแชร์กันได้แบบไม่มีเขิน เพราะเป็นพื้นที่ที่ทุกคนสามารถแสดงความเป็นตัวเองได้อย่างเป็นอิสระ พวกรูปแมวเองก็อยู่ในกลุ่มนี้ด้วย และแชร์ไปแชร์มา แมวก็กลายเป็น “มีม” ด้วยได้เหมือนกัน

ใครบอกว่าคนไทยไม่มีความหวัง? ในเมื่อชาวทวิตเตอร์แข่งกันส่งต่อความหวังกันมากขนาดนี้! หัวข้อของบทสนทนาของกลุ่มนี้ที่เป็นที่นิยมสุด ๆ ในตอนนี้ ก็คือหัวข้อที่ว่า “หลังโควิดแล้วจะไปเที่ยวไหนดี” พร้อมลงภาพ #Throwback กันให้ชวนคิดถึงบรรยากาศการท่องเที่ยวก่อนช่วงโควิด เห็นได้ว่าแม้บรรยากาศจะชวนหดหู่ แต่เหล่านักสู้บนทวิตเตอร์ก็ยังหวังถึงโลกหลังโควิด และร่วมกันแชร์ไอเดียกันมากมาย

แบรนด์จะได้อะไรจากการทำการตลาดบนทวิตเตอร์?

ทวิตเตอร์ได้จุดกระแสการตลาดมาแล้วนานนับไม่ถ้วน โดยอาศัย “ความสนใจร่วมกัน” มาเป็นอาวุธสำคัญ และผลวิจัยได้ระบุว่า พลังของคนบนทวิตเตอร์นั้นยิ่งใหญ่กว่าที่คุณคิด เพราะ 34% ของคนบนทวิตเตอร์มีโนวแน้มจะสนับสนุนแบรนด์ที่มีความสนใจร่วมกัน (Cultural Relevance) หรือเป็นพวกเดียวกันกับเขา (GlobalWebIndex, Q1 2021)

หากแบรนด์ต้องการเป็นส่วนหนึ่งของพวกเขา การทำโฆษณาบนทวิตเตอร์เป็นโอกาสที่แบรนด์สามารถสร้างความรู้สึกร่วมและกลมกลืนไปกับวัฒนธรรมของกลุ่มเป้าหมายได้เลย โดยเราพบความเกี่ยวพันกันถึง 88% ระหว่างโฆษณาบนทวิตเตอร์กับการที่กลุ่มเป้าหมายรับรู้ถึงความเชื่อมโยงทางวัฒนธรรมกับแบรนด์ (MAGNA, 2019) นี่จึงเป็นคำตอบว่า ทำไมหลาย ๆ แบรนด์ถึงถูกพูดถึงบนทวิตเตอร์กันวันเว้นวันเลยทีเดียว

แล้วคุณจะเชื่อมต่อกับพวกเขาได้อย่างไรกัน?

“รูปภาพ” คือ อาวุธหลักสำหรับวัฒนธรรมนี้เลย เราพบว่าคนกลุ่มนี้ให้ความสำคัญกับรูปภาพมาก และมีแนวโน้มจะนำคอนเทนต์ไปคุยต่อกับทั้งคนในคอมมูนิตี้ และนอกคอมมูนิตี้ โดยอารมณ์และความรู้สึกหลัก ๆ ที่พบในรูปภาพมักจะสร้างความตื่นเต้น ความสร้างสรรค์ และความรัก ดังนั้นหากคุณอยากเพิ่มความแข็งแกร่งในการสื่อสาร ก็ต้องหันมาสร้างความตื่นเต้นผ่านการใช้น้ำเสียงสื่อสารที่เหมาะสม รวมถึงรูปภาพที่คัดสรรและคิดมาอย่างดี

เราพร้อมให้คำแนะนำและมอบอาวุธบนทวิตเตอร์ให้กับคุณ

ทวิตเตอร์ยังคงมีพื้นที่ไร้ขีดจำกัดให้กับความสร้างสรรค์และที่สุดของบทสนทนา และรอคอยให้แบรนด์ได้ปลดล็อค และเชื่อมต่อกับผู้คนอีกนับล้านคน หากใครอ่านมาถึงตรงนี้แล้วสนใจรู้จักทวิตเตอร์ให้มากขึ้น หรืออยากพัฒนาเครื่องมือทางการตลาดบนทวิตให้เฉียบคมโดนใจทุกคน สามารถติดต่อ MediaDonuts ตัวแทนจำหน่ายโฆษณาอย่างเป็นทางการของทวิตเตอร์ในประเทศไทย ได้ที่ MarketingSEA@mediadonuts.com

 

 

บทความนี้เป็น Advertorial