Site icon Thumbsup

สรุปภาพรวมและมุมมองหลังการประมูลทีวีดิจิทัล (วันที่สอง)…

digital-tv-ntbc

หลังจากที่ได้รับทราบถึงผลการประมูลช่องโทรทัศน์ดิจิทัล ที่ผมได้ทำการสรุปและวิเคราะห์มุมมองต่อผลการประมูลไปเมื่อวานแล้ว วันนี้ก็จะเป็นผลสรุปของประมูลและวิเคราะห์ผลต่อจากเมื่อวานนี้ ซึ่งช่องที่ได้มีการประมูลกันในวันที่สองนั้น ก็คือ ช่องข่าว และช่องเด็ก เชิญติดตามกันได้เลยครับ…

สำหรับ “ช่องรายการข่าวความคมชัดระดับมาตรฐาน (SD)” นั้น มีโควต้าทั้งสิ้น 7 ช่อง ซึ่งบริษัทเข้าประมูลนั้นมีอยู่ไม่มากนัก และล้วนแล้วแต่เป็นบริษัทที่มีการผลิตรายการข่าวอยู่แล้ว ในเรื่องของราคาประมูลนั้น ดูจะไม่สูงเท่าช่อง SD ที่นำเสนอไปเมื่อวาน (คือน้อยกว่ากันอยู่เกือบพันล้านบาท) แต่ก็ยังสูงกว่าราคาเริ่มประมูลอยู่มาก ซึ่งผลการประมูลเรียงลำดับตามมูลค่าที่มีการประมูลสูงที่สุดไปน้อยที่สุด ได้แก่:-

ว่ากันเรื่องของประสบการณ์ ทั้ง 5 รายอาจจะไม่ถึงกับได้เปรียบเสียเปรียบกันมากนัก เพราะทุกรายล้วนแล้วแต่ผ่านการทำรายการโทรทัศน์มาแล้วทั้งสิ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง 5 รายอย่างเนชั่นฯ, วอยซ์ ทีวี, สปริงนิวส์, TNN และเดลินิวส์ ที่มีประสบการณ์ในการนำเสนอข่าวอยู่แล้ว

ส่วนทีวีพูลนั้น คาดการณ์กันว่าพวกเขาอาจจะใช้ประสบการณ์ในฐานะผู้นำเสนอข่าวบันเทิง ผลิตรายการโต๊ะข่าวบันเทิงแบบเต็มรูปแบบ ซึ่งจะทำให้พวกเขาโดดเด่น และมีจุดแข็งกว่าช่องข่าวอื่นๆ ด้วยซ้ำไป ในขณะที่ บ.3เอ มาร์เก็ตติ้ง นั้น หลายท่านอาจจะไม่เคยได้ยินชื่อกันมากนัก จริงๆ แล้วพวกเขาคือกลุ่มที่เป็นผู้ทำรายการข่าวให้สถานีกองทัพบกช่อง 5 แต่คราวนี้อาจจะขอกระโดดลงมาทำรายการข่าวเอง ซึ่งก็คงต้องดูกันต่อไปว่าจะเป็นอย่างไรกันบ้าง จะสามารถทานต่อการแข็งขันอย่างดุเดือดในกลุ่มช่องข่าวด้วยกันได้หรือไม่

สำหรับ “ไทยรัฐ” ซึ่งถูกคาดหมายว่าจะกระโดดมาร่วมวงสำหรับช่องข่าว หากได้อ่านผลของวันแรก ก็จะเห็นได้ว่า พวกเขาเลือกที่จะไปประมูลช่องความละเอียดสูง หรือ HD เลย นอกจากจุดขายเรื่องของการเป็นผู้นำเสนอข่าวชั้นนำแล้ว การมีฟุตบอลพรีเมียร์ลีกและสารพัดลิขสิทธิ์กีฬาอีกมากมายบน CTH ของบริษัทในเครือ ยิ่งน่าจะทำให้พวกแข็งแกร่งมากขึ้น ทำให้พวกเขาอาจจะมองข้ามช่องข่าว SD ไป

อีกหนึ่งช่องที่พลาดหวังกับช่องข่าว ก็คือกลุ่มบริษัท “สยามกีฬา” ซึ่งคงต้องการนำเสนอข่าวกีฬาแบบเต็มรูปแบบ ก็พลาดหวังไป ก็คงต้องไปหวังเช่าช่วงเวลาจากผู้ที่ประมูลได้ หรือหาช่องทางการนำเสนออื่นๆ ซึ่งกลุ่มผู้ชมอาจจะไม่เท่ากับกลุ่มที่นำเสนอข่าวทั่วไป ในฝากของกลุ่มโมโน หลังจากได้ช่อง SD ในวันก่อนหน้าไปแล้ว ก็อาจจะไม่ได้ผิดหวังมากนัก เมื่อยังมีช่องสำรองในการที่จะนำรายการไปฝากไว้กับช่อง SD ที่ประมูลมากแสนจะแพง

และกลุ่มช่องสุดท้าย คือ “ช่องเด็ก” หรือช่องที่จะนำเสนอรายการเกี่ยวกับเด็ก เป็นกลุ่มที่มีโควต้าน้อยที่สุด คือแค่ 3 ช่องเท่านั้น แม้จะมีช่องไม่มาก แต่ผู้เข้าร่วมประมูลนั้นถือว่าเยอะเลยทีเดียว โดยราคาเปิดประมูลของช่องเด็กอยู่ที่ 140 ล้านบาท โดยผลการประมูล บริษัทที่ได้ไปคือ:-

มาดูกันที่ “ช่อง 9” ซึ่งถ้าจะพูดถึงการ์ตูนเช้าวันหยุดอย่าง “ช่องเก้าการ์ตูน” เชื่อว่าหลายๆ คน คงต้องร้องอ๋อ และน้อยคนมากที่จะไม่รู้จัก นอกจากนั้นช่องเก้าเองยังมีประสบการณ์ในการทำคอนเทนต์เกี่ยวกับเด็กมานาน ดังนั้นการกระโดดมาคว้าลิขสิทธิ์ไปทำรายการเด็ก อาจจะไม่พลิกโผมากนัก เช่นเดียวกับ “ช่อง 3” ซึ่งถ้าหากได้ติดตามช่อง 3 มาอยู่ตลอด จะพบว่าเราได้เห็นการ์ตูนอนิเมชันมากมาย ที่ทางช่อง 3 นำมาเสนอ รวมไปถึงรายการข่าวเด็ก วาไรตี้สำหรับเด็กอีกมากมาย จึงน่าจะเป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่พวกเขา เลือกที่จะมาทุ่มเงินอีกหลายร้อยล้านบาท เพื่อลิขสิทธิ์

ที่น่าจะแปลกใจก็จะเป็นกลุ่มทีวีพูล ที่เน้นหนักไปที่รายการบันเทิง ข่าวดารา เป็นส่วนใหญ่ อันนี้อาจจะต้องติดตามข่าวสารกันต่อไป ว่าทางทีวีพูลจะทำรายการเด็กออกมาในรูปแบบใด เพราะเราเองก็ยังไม่เคยเห็นกลุ่มนี้ทำรายการสำหรับเด็กกันมาก่อนเสียด้วย

ทิ้งท้ายกันสำหรับการสรุปผลและวิเคราะห์ กับผู้ที่หายไปจากรายการผู้ชนะการประมูล ได้แก่ กลุ่ม บ.แอดวานซ์ อินโฟเซอร์วิช หรือกลุ่มอินทัช (AIS) ซึ่งการที่จะได้ช่องรายการมา น่าจะช่วงทำให้เป็นการต่อแขนขาธุรกิจคอนเทนต์ ที่ปัจจุบันพวกเขารุกคืบมาก ก็เป็นอันพับเสื่อกลับบ้านไปทั้งช่อง SD และช่องรายการเด็ก ส่วนกลุ่มเนสกาแฟ  (กลุ่มมหากิจศิริ) ก็ถือเป็นบิ๊กเนมในการเข้าประมูล แม้ว่าเราเองก็ยังไม่แน่ใจว่าการเข้าประมูลนี้ ทำเพื่ออะไร ตั้งใจทำคอนเทนต์จริงๆ หรือเป็นเพียงนอมินีเท่านั้น

ขอขอบคุณผลการประมูล และข่าวสารจากทาง กสทช เพื่อเป็นการประกอบข้อมูลการเขียนมา ณ ที่นี้ด้วยครับ…