Site icon Thumbsup

สรุปเสวนา ?จิบกาแฟ แชร์ไอเดียร์ คนทำข่าว กับบล็อกเกอร์?

วันนี้สมาคมนักข่าวเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ ITPC? ร่วมกับสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย จัดงาน ?จิบกาแฟ แชร์ไอเดียร์ คนทำข่าว กับบล็อกเกอร์? ที่ร้าน True Life ชั้น 4 สยามสแควร์ ซอย 3? มีบล็อกเกอร์หลายๆ คนไปร่วมงานกัน โดยเรื่องที่พูดคุยกันหลักๆ ในวันนี้เป็นเรื่องบทบาทหน้าที่ การทำงานร่วมกับบล็อกเกอร์ และระดับจริยธรรมของบล็อกเกอร์ รวมถึงความเป็นไปได้สำหรับการจัดทำแนวทางของข้อควรปฎิบัติของบล็อกเกอร์ไทยออกมาด้วย ก็นับว่าเป็นอีกความเคลื่อนไหวหนึ่งในแวดวงบล็อกเกอร์ไทย เอามานำเสนอให้ thumbsuper รับทราบกันครับ

เป็นที่ทราบกันดีว่า “นักข่าว” กับ “บล็อกเกอร์” นั้นมีทั้งจุดเหมือนและจุดต่างในการทำงาน จุดเหมือนก็คือทั้งสองฝ่ายมีช่องทางในการนำเสนอของตัวเอง นักข่าวอาจจะมีบริษัททีวี วิทยุ หนังสือพิมพ์ หรือองค์กรข่าวที่ตัวเองสังกัด ส่วนบล็อกเกอร์ก็มีบล็อกของตัวเอง รวมถึง Social Media ที่ช่วยให้การนำเสนอของตัวเองขยายไปถึงวงกว้างได้มากขึ้น ส่วนจุดต่างก็คือ นักข่าวนั้นบอกว่าตัวเองเป็นสื่อมวลชนที่จะต้องมาพร้อมกับจริยธรรมในวิชาชีพข่าว ในขณะที่บล็อกเกอร์นั้นยังไม่สามารถบอกได้ชัดเจนว่าตัวเองเป็นสื่อมวลชนหรือไม่ ตลอดจนจริยธรรมและความรับผิดชอบต่อสังคมยังไม่มีบทบัญญัติชัดเจน

การเสวนาวันนี้หลักๆ เลยเน้นหนักในเรื่องบทบาทความรับผิดชอบ ตลอดจนการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ซึ่งผมขอนำเอาบทสรุปของ ภัคญภา จงวัฒนสุข หรือ @pinnynoy สรุปไว้มาจัดเป็นประเด็น ไล่เรียงตามลำดับเวลาตั้งแต่บ่ายสองจนถึงบ่ายสี่ตามนี้เลยครับ

– ปัจจุบันการสื่อสารยุคใหม่ไม่ได้มีเพียงแต่สื่อมวลชนอีกต่อไป หากแต่หลายคนก็เริ่มพูดว่า “ใครๆ ก็สามารถจะเป็นนักข่าวได้” หากแต่ในรายละเอียดลึกๆ คงต้องมาว่ากันอีกทีว่าบล็อกเกอร์จะสามารถมีบทบาทเทียบกับสื่อมวลชนได้มากน้อยแค่ไหน

– ฝั่งนักข่าวก็ให้ความเห็นว่า ปัจจุบันนักข่าวขณะทำข่าวก็ต้องการความคิดเห็น ความรู้จากบล็อกเกอร์ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญบ้างเหมือนกัน เพราะนักข่าวต้องทําหลายอย่างและอาจจะไม่ได้เก่งทุกอย่าง จึงต้องพึ่งพาความสามารถเฉพาะด้านของบล็อกเกอร์ด้วย

– ปัจจุบันผู้บริโภคมีทางเลือกในการเสพและกระจายสื่อมากขึ้น อย่างเช่นการแสดงความคิดเห็นเฉพาะด้านผ่านช่องทาง Social Media ของตัวเอง จนเดี๋ยวนี้เอเยนซี่และบริษัทเจ้าของแบรนด์ต่างก็หันมาสนใจบล็อกเกอร์ เพราะข้อเขียนของบล็อกเกอร์นั้นมีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อสินค้าและบริการของผู้บริโภคไม่ทางตรงก็ทางอ้อม

– เมื่อมีคนหันมาเป็นบล็อกเกอร์กันมากขึ้น ก็ทำให้เราเจอทั้งบล็อกเกอร์ที่มีความรับผิดชอบทางสังคม และบล็อกเกอร์ที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมน้อย ทำให้หลายคนในงานเสวนาลงความเห็นกันว่าเราควรจะต้องมีแนวทางหรือข้อควรปฎิบัติของบล็อกเกอร์ ซึ่งบล็อกเกอร์ในงานเสวนาก็อ้างถึงข้อเขียนจากหนังสือคู่มือสื่อพลเมือง ที่ว่า “อย่าเขียนอะไรที่ทำให้เสียใจ เมื่อย้อนกลับไปอ่านอีกครั้ง”

– แม้บล็อกเกอร์ไม่ได้มองตัวเองเป็นสื่อมวลชน แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าเราเป็น “ผู้ส่งสาร” เพราะฉะนั้นเราต้องรับผิดชอบกับสารที่ เราจะสื่อออกมา (@Joe9L9 นักข่าวอิสระ)

– ควรมีการจัดตั้งเป็นชมรมบล็อกเกอร์ขึ้น รวมถึงการรับรองบล็อกเกอร์ว่าบล็อกเกอร์ที่ดี ควรมีลักษณะเช่นใด และจัดตั้งเป็นชมรมนั้นก็เพื่อเอื้อผลประโยชน์ ปกป้องบล็อกเกอร์ในบางข้อ เช่น ป้องกันการขโมย content ของกันและกัน หรือมีอำนาจการต่อรองกับเอเยนซี่ แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องปกป้องผู้อ่านในแง่ของต้องมีการเขียนคำออกตัวหรือ disclaimer ว่าบทความที่เขียนนั้นได้รับเงินสนับสนุนมาให้เขียนหรือไม่ ซึ่งต้องชี้แจงให้ชัดเจน

– ควรมีการกำกับดูแลและตรวจสอบกันเองเพื่อให้ได้สิทธิ์ทั้งบวก (สิทธิ) และลบ (อาทิ ถูกดำเนินคดี)” (โดย @lekasina)

– การเชิญบล็อกเกอร์ไปร่วมงานเปิดตัวสินค้า คล้ายกับที่มีการจัดให้กับนักข่าวนั้น ปัจจุบันเจ้าของแบรนด์จะต้องจัด 2 ครั้ง ครั้งแรกสำหรับนักข่าว ครั้งที่สองสำหรับบล็อกเกอร์ ซึ่งใช้งบประมาณเป็น 2 เท่า แต่การเตรียมตัวจัดงานก็ต้องทำแตกต่างกัน เพราะบล็อกเกอร์กับนักข่าวมีความต้องการข้อมูลไม่เหมือนกัน

– บล็อกเกอร์ไม่ใช่สื่อมวลชน แต่บล็อกเกอร์มีอาวุธเหมือนนักข่าว เพราะฉะนั้นบล็อกเกอร์ควรจะต้องมีจริยธรรมในการเผยแพร่เช่นกัน” (โดย @jakrapong)

– นักข่าวอยากแลกเปลี่ยนมุมมองการนําเสนอข่าว กับบล็อกเกอร์ เพราะรู้ว่านักข่าวต้องเริ่มปรับตัว และคิดว่าทั้งสองฝ่ายน่าจะแชร์ด้วยกันได้ (โดย @chavarong)

– นักข่าวและบล็อกเกอร์ก็เหมือนกัน แต่สำคัญที่มารยาทและกาละเทศะ ทั้งสองคือผู้มีสื่ออยู่ในมือ?ทั้งสองก็ต้องมีจรรยาบรรณ แบรนด์เองก็ต้องรู้จักการเข้าหาและมารยาท สมัยนี้ สื่อทั้งออนไลน์ และออฟไลน์มันผสมผสานกันเนียนแล้ว?แบรนด์ไหนเร็ว ให้ความสำคัญกับบล็อกเกอร์ เข้าถึงและสร้างความสัมพันธ์ได้ดี ก็ต้องบอกว่ามีวิสัยทัศน์มากๆ ได้เปรียบสุดๆ?ถ้า PR มีงบประมาณสำหรับนักข่าว แบรนด์ต่างๆ ก็ควรมีงบประมาณสำหรับบล็อกเกอร์และสื่อดิจิตอลด้วย นอกจากนี้ข้อดีของสื่อดิจิตอลคือการวัดผลที่เห็นเป็นรูปธรรม? เพราะมีตัวเลขระบุชัดเจน แบรนด์ไหนไม่เชื่อให้ลองทำดู (digit=ตัวเลข=วัดผลได้) ทางแสนสิริเคยจัดอีเวนท์ที่มีเวลาเชิญสื่อเพียง 3 วันล่วงหน้า สื่อดิจิตอลช่วยได้มาก วันนั้นมีบล็อกเกอร์มากันเป็นร้อยคน ทำให้เกิด lead ไปสู่สื่อออฟไลน์ทำให้ข่าว?@SansiriPLC?social commerce อยู่ในหน้าสิ่งพิมพ์ยาวไปอีก 6 เดือน (โดย @Dhanis จากแสนสิริ)

-? นักข่าวและบล็อกเกอร์ลงความเห็นกันวันนี้ว่าจะนัดร่างข้อตกลงร่วมกันในเรื่องของข้อควรปฎิบัติและจริยธรรมของบล็อกเกอร์ในครั้งต่อไป วันที่ 29 ตุลาคม ที่ Enigma Cinema หลังจบงาน Nforum เพื่อหาข้อตกลงร่วมกัน โดยจะเริ่มจากบล็อกเกอร์ในสายไอทีก่อนที่จะให้มาช่วยร่วมกันร่างข้อตกลง โดยอาจมีสมาคมผู้ดูแลเว็บไทย ช่วยดูแลอยู่ห่างๆ และนำเอาข้อตกลงของชุมชนบล็อกเกอร์ในต่างประเทศมาเป็นตัวตั้ง และหาข้อตกลงร่วมกัน้เพื่ออนุมัติกันเป็นข้อๆ และนำเสนอข้อตกลงใหม่ๆ ที่เหมาะกับประเทศไทย

นี่คือความเห็นของบล็อกเกอร์บางส่วนที่ไปร่วมงานพูดคุยกับนักข่าว แล้ว thumbsuper ล่ะ อ่านแล้วคิดอย่างไรกับทิศทางที่คนกลุ่มนี้คุยกัน?