Site icon Thumbsup

ส่องกลยุทธ์ Shopee vs Lazada ในเทศกาล 11.11 วันใช้จ่ายสุดร้อนแรงแห่งปี

เข้าสู่เทศกาลใหญ่อย่าง 11.11 ส่งท้ายปลายปีของทุกแพลตฟอร์มและกลายเป็นเทศกาลช้อปออนไลน์ยอดนิยม จนลามมาถึงกิจกรรมที่หน้าร้านค้าปลีกใหญ่ๆ เองก็เริ่มลงเล่นด้วย เพราะคาดหวังว่าผู้คนจะซื้อของกันอย่างคึกคักในวันนี้

ย้อนกลับมาดูเรื่องของ 11.11 กันสักนิดว่าทำไมแบรนด์ถึงต้องส่งแคมเปญกระตุ้นการใช้จ่าย คำว่า 11.11 ในภาษาจีนแปลว่า “คนโสด” หากขยี้ไปอีกนิดเลข 1 จำนวน 4 ตัว คนจีนรุ่นใหม่มองว่ามันคือ “เบื่อ เหงา เศร้า จน”

แม้ว่าเราจะมีการใช้จ่ายมาตลอดทั้งปีอยู่แล้ว แต่ช่วงส่งท้ายปีกลุ่มคนโสดมองว่าตนเองก็อยากมีช่วงเวลา “ซื้อของให้ตัวเอง” แบบเต็มที่และไม่รู้สึกผิดบ้าง ซึ่งเทศกาลนี้เกิดขึ้นในประเทศจีนเมื่อปี 2009

เรามาส่องดูว่า อีคอมเมิร์ซรายใหญ่ของไทยทั้ง 3 ราย เค้ามีการส่งแคมเปญอะไรมาบ้าง

การเริ่มต้นธุรกิจ

Shopee

ช้อปปี้ เป็นแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ มีสำนักงานใหญ่ในประเทศสิงคโปร์ อยู่ภายใต้บริษัท Sea Group เปิดตัวครั้งแรกอย่างเป็นทางการที่ประเทศสิงคโปร์ในปี พ.ศ. 2558 และขยายไปยังประเทศมาเลเซีย ไทย ไต้หวัน อินโดนีเซีย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และบราซิล ให้บริการซื้อและขายสินค้าออนไลน์แก่ผู้ใช้ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และไต้หวันในปี พ.ศ. 2558

ช้อปปี้เปิดตัวในประเทศสิงคโปร์เป็นที่แรก เป็นตลาดซื้อขายแบบโซเซียลที่มุ่งเน้นการใช้งานผ่านมือถือ มาผสมผสานกันเป็น Marketplace เต็มรูปแบบ ผู้ใช้สามารถเลือกซื้อและขายสินค้าได้ทุกที่ทุกเวลา อีกทั้งยังสบับสนุนด้านโลจิสติกส์ และแพลตฟอร์มการชำระเงิน ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกในการช็อปปิ้งออนไลน์ได้ง่าย ปลอดภัยแก่ผู้ขายและผู้ซื้อ

ไม่นานหลังจากนั้น ช้อปปี้ได้เปิดตัวเว็บไซต์เพื่อแข่งขันในตลาดอีคอมเมิร์ซอื่น ๆ ที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วในภูมิภาค เช่น Lazada, Tokopedia และ AliExpress

ช้อปปี้ได้สร้างความแตกต่างจากที่อื่น ด้วยการมี “ช้อปปี้ Guarantee” ซึ่งเป็นระบบที่ระงับการชำระเงินให้แก่ผู้ขาย จนกว่าผู้ซื้อจะได้รับสินค้า เพื่อเป็นการรับประกันความปลอดภัยในการช็อปปิ้งออนไลน์ และสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ที่ซื้อ

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 ช้อปปี้มียอดดาวน์โหลดใน App Store เป็นอันดับหนึ่งของแอปพลิเคชันที่สามารถดาวน์โหลดได้ฟรีในระบบ iOS มีผลิตภัณฑ์ที่ใช้งานมากกว่า 180 ล้านรายการ จากผู้ประกอบการกว่า 4 ล้านคน

ในไตรมาสที่ 4 ของปี พ.ศ. 2560 มีมูลค่าการขายสินค้ารวม (GMV) อยู่ที่ 1.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเพิ่มขึ้นถึง 206% จากปีก่อนหน้านี้

LAZADA

ลาซาด้า กรุ๊ป (อังกฤษ: Lazada Group) เป็นบริษัทอีคอมเมิร์ซระดับโลก ที่ก่อตั้งโดย มักซีมีเลียน บิตเนอร์ จากการการสนับสนุนของร็อกเก็ตอินเทอร์เน็ตในปี 2012[5][6] และมีกลุ่มอาลีบาบาเป็นเจ้าของในปี 2014 ลาซาด้า กรุ๊ป ดำเนินการในหลายประเทศและระดมทุนได้ประมาณ 647 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากการลงทุนโดยกลุ่มนักลงทุนเช่น เทสโก้, เทมาเส็กโฮลดิงส์, ซัมมิตพาร์ทเนอส์, เจพีมอร์แกนเชส, อินเวสต์เมนต์เอบีคินเนวิก และร็อกเก็ตอินเทอร์เน็ต

เว็บไซต์เปิดตัวในเดือนมีนาคม 2012 โดยมีรูปแบบธุรกิจขายสินค้าให้กับลูกค้าจากคลังสินค้าของตนเอง ต่อมาในปี 2013 ได้เพิ่มรูปแบบการตลาดที่อนุญาตให้ร้านค้าปลีกบุคคลที่สามขายสินค้าผ่านเว็บไซต์ของลาซาด้า ซึ่งในตลาดคิดเป็น 65% ของยอดขายภายในสิ้นปี 2014

ในเดือนเมษายน 2016 กลุ่มอาลีบาบาเข้าซื้อการควบคุมสัดส่วนการถือหุ้นในลาซาด้าเพื่อรองรับแผนการขยายตัวในต่างประเทศของอาลีบาบา

ในเดือนสิงหาคม 2018 ลาซาด้าเป็นผู้ให้บริการอีคอมเมิร์ซรายใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยอ้างอิงจากการเข้าชมเว็บเฉลี่ยรายเดือน

ในเดือนกันยายน 2019 ลาซาด้าอ้างว่าเป็นแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซชั้นนำในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยมีผู้ซื้อมากกว่า 50 ล้านรายต่อปี

ตัวเลขที่น่าสนใจ

รายได้

Shopee

2563 : รายได้รวม 5,812,790,479 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 192.68%

2562 : รายได้รวม 1,986,021,185 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,101.49%

2561 : รายได้รวม 165,296,143 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 18.27%

การเยี่ยมชมเว็บ

ไตรมาส 4/2020 : 51,242,700 ครั้ง

ไตรมาส 1/2021 : 51,246,700 ครั้ง

ไตรมาส 2/2021 : 53,520,000 ครั้ง

LAZADA

2564 : รายได้รวม 14,675,291,653 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 46.58%

2563 : รายได้รวม 10,011,765,022 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.35%

2562 : รายได้รวม 9,413,215,643 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 15.31%

การเยี่ยมชมเว็บ

ไตรมาส 4/2020 : 38,539,000 ครั้ง

ไตรมาส 1/2021 : 33,240,000 ครั้ง

ไตรมาส 2/2021 : 32,860,000 ครั้ง

แคมเปญ

Shopee

ผลตอบรับ

LAZADA

แคมเปญ

 

 

ที่มา : DBD, Brandinside, ipricethailand,