Site icon Thumbsup

“เข้าใจคอนเทนต์” การทำคอนเทนต์ให้ถึงกลุ่มเป้าหมายและแบรนด์ก็รักเรา

ในช่วงที่สุ่มเสี่ยงว่าสถานการณ์ COVID-19 จะพ้นจากประเทศไทยได้จริงหรือไม่ เพราะการเปิดประเทศจำเป็นต้องมาพร้อมความเสี่ยง ยิ่งในต่างประเทศการติดเชื้อยังมีจำนวนมหาศาล ยิ่งมีความเสี่ยง แต่ถ้าไม่เปิดก็มีความเสี่ยงเรื่องเศรษฐกิจในประเทศจะทรุด เพราะรายได้แต่ละครัวเรือนถดถอยจากสถานการณ์นี้ไปเยอะมาก

แล้วในมุมของแบรนด์จะเป็นอย่างไร จังหวะนี้ควรรู้จักใช้ดาต้าอย่างไรให้เหมาะสม เรามี 3 กูรูจะมาบอกวิธีปรับตัวรับสถานการณ์ในช่วงนี้

คุณสโรจ เลาหศิริ Chief Marketing Officer ของ Rabbit Digital Group กล่าวว่า ไม่สามารถปฏิเสธได้เลยว่าสถานการณ์ COVID-19 นั้นสร้างผลกระทบเป็นวงกว้างให้กับทั้งโลก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการใช้ชีวิต การสร้างสัมพันธ์บนโลกที่ไร้การสัมผัส แต่ที่สำคัญไปกว่านั้นคงไม่พ้นการใช้จ่ายของผู้บริโภค

ในช่วง COVID-19 ยังเป็นประเด็นใหญ่ McKinsey & Company ได้เผยผลวิจัยของพฤติกรรมลูกค้าที่เปลี่ยนไป ผู้บริโภคเริ่มใช้จ่ายให้กับข้าวของเครื่องใช้ ของแต่งบ้านและของดูแลร่างกายเพิ่มขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน ค่าใช้จ่ายก็ไปลงที่กับเสื้อผ้า เครื่องประดับลดลง แต่ที่แน่ๆ พอทุกอย่างเริ่มผ่อนคลายลง ทุกคนก็พร้อมที่จะกลับมาอีกครั้ง

จากผลวิจัยของ EY เผยความคิดของผู้บริโภคหลังจากช่วง lockdown แบ่งเป็นประเภทได้ดังนี้:

“COVID คือการไดรฟ์การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลมากที่สุด

การเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ของผู้บริโภคนั้นมีปัจจัยหลักอยู่ 2 อย่าง

  1. กลับเข้าสู่โลกดิจิทัล ทุกวันนี้คนเริ่มมีงานเสริม ขายของมากขึ้น คนเริ่มคุ้นชินกับการใช้โซเชียลมีเดียมากกว่าเดิม ทำให้เรามีคอนเทนต์ครีเอเตอร์ผุดขึ้นมาใหม่ในทุกๆ วัน
  2. ผู้บริโภคจะใช้จ่ายกับสิ่งที่สำคัญและจำเป็นมากขึ้น ด้วย self tension ในตัวคนที่เพิ่มมากกว่าเดิม ผู้บริโภคคิดถึงความมั่นคงมากขึ้น สนใจในเรื่องพัฒนาตนเอง และความสมดุลระหว่างความฝันและเสถียรภาพทางการเงิน

อย่างไรก็ตาม COVID-19 ไม่ได้กระทบทุกคน และไม่ได้มีแค่แง่ร้ายเพียงอย่างเดียว ยังมีโอกาสที่คอนเทนต์ครีเอเตอร์สามารถคว้าไว้ในช่วงนี้ได้ และทำให้ดีที่สุดเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจไปในทางที่ดีขึ้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ควรมีแผนสำรองป้องกันไว้ด้วย

คนที่ปรับตัวเร็วและพร้อมกว่าเท่านั้น ถึงจะชนะผู้บริโภค

 

ทำคอนเทนต์อย่างไรให้เรามีความสุข ลูกค้าแฮปปี้

ปัจจุบันเป็นเรื่องปกติที่แบรนด์กับคอนเทนต์ครีเอเตอร์จะทำงานร่วมกัน แต่ในโลกที่พฤติกรรมของคนเปลี่ยนไปไวมาก การทำให้คอนเทนต์ของลูกค้าและเอเจนซี่ทรงพลังนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย

คุณไชยณัฐ สัจจะปรเมษฐ์ กรรมการผู้จัดการของบริษัท Alchemist บริษัทใหม่ล่าสุดของ Rabbit Digital Group เปิดเผยเคล็ดลับวิธีการทำคอนเทนต์คุณภาพอย่างไรให้มีความสุขทั้งเราและลูกค้าในระหว่างเดียวกันก็เป็นคอนเทนต์ครีเอเตอร์ไปในตัวด้วย

7 เคล็ดลับสำหรับการทำคอนเทนต์ให้แบรนด์และเอเจนซี่

  1. ทำงานอย่างมืออาชีพ ตามหาเป้าหมายของตัวเองที่ชัดเจน เก็บข้อมูลให้ครบครัน พร้อมเสนอลูกค้า
  2. ตลาด Niche ไม่ใช่เรื่องแย่ เข้าใจ STP (Segmentation, Target, และ Positioning) ตามหา Niche ที่แข็งแรง เจาะให้ลึกซึ้ง และยึดมั่นกับมัน
  3. ทำการบ้าน หาข้อมูลให้ลึกซึ้ง นำข้อมูลที่เป็น insight มาผสมกับความ creative ให้ลงตัว
  4. เลือกแบรนด์ที่เหมาะกับสไตล์การทำงานของเรา อย่าฝืนเลือกในสิ่งที่ไม่ใช่แล้วกัดกร่อนความเป็นตัวตนของเรา
  5. สูตรสำเร็จหายาก พฤติกรรมของคนเปลี่ยนเร็ว สูตรเดิมไม่ได้ให้ผลลัพธ์ที่ดีเหมือนเดิมเสมอไป
  6. Production ที่ดีอย่างเดียวไม่สามารถทำให้คอนเทนต์อยู่รอด คอนเทนต์ที่ดีคือ production ที่ดีและข้อมูล ความคิดสร้างสรรค์ที่ดี
  7. ยอมรับและเข้าใจในการโฆษณาอย่างตรงไปตรงมา ไม่จำเป็นต้องขายให้เนียนก็ได้

แต่ในเวลาเดียวกันความสม่ำเสมอก็คือใจความสำคัญของการเป็นคอนเทนต์ครีเอเตอร์ที่ดี การทำคอนเทนต์ก็คือการสร้างแบรนด์การสร้างแบรนด์ก็เหมือนสร้างบ้านเราค่อยต่อค่อยเติมเริ่มสร้างกำแพงสร้างหลังคาสร้างห้องตามลำดับ ไม่มีสูตรสำเร็จสำหรับการทำคอนเทนต์ที่ดี แต่เราก็สามารถเริ่มก้าวแรกของการเป็นคอนเทนต์ครีเอเตอร์ที่ดีได้ในทุกๆ วัน

วันที่เราเริ่มต้น จะเป็นคนละคนกับวันที่เข้าเส้นชัย

 

รู้เขารู้เรา ทำความเข้าใจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 

ปัจจุบันหลายคนคงเคยได้ยินคำว่า SEO (Search Engine Optimization) หรือการทำยังไงให้คอนเทนต์ติดหน้าแรกของเว็บเสิร์ช แต่ในยุคนี้ UX (User Experience) หรือประสบการณ์ของผู้ใช้ คือสิ่งที่จะตอบโจทย์ธุรกิจได้มากกว่า คุณณัฐกรณ์ รัตนชัยสิทธิ์ ซีอีโอแห่ง Predictive ผู้เชี่ยวชาญด้านข้อมูล SEO และ UX จะมาสรุปให้ฟังค่ะ

ในปัจจุบันพฤติกรรมการเสิร์ชของผู้บริโภคเปลี่ยนไปแล้ว 80% ของผู้บริโภคจะค้นหาข้อมูลสินค้าและบริการก่อนที่จะตัดสินใจซื้อ SEO จึงเป็นเรื่องสำคัญ แต่เรื่องที่สำคัญกว่าคือ UX

การค้นหาของผู้บริโภคมีความคาดหวังที่จะเจอคำตอบ ณ เวลานั้นเช่น ร้านเปิดกี่โมง ร้านมีสาขาที่ไหนบ้าง ต้องรอคิวกี่นาที แต่ธุรกิจควรมองการเสิร์ชให้เป็นการเดินทางมากกว่าเพียงแค่คำตอบ จึงจะสร้างประสบการณ์ที่ดีกว่าได้ สิ่งสำคัญคือเราต้องเข้าใจ ว่าผู้บริโภคต้องการค้นหาอะไร เราต้องทำความเข้าใจในส่วนนี้ก่อน ยิ่งรู้ลึก รู้เยอะ เราก็จะยิ่งหาข้อมูลมา Support ในส่วนนี้ได้ดียิ่งขึ้น (จะเสิร์ชอะไรก็เจอเว็บเรา)

ดังนั้น ควรทำให้ Google เข้าใจเนื้อหาข้อมูลของเราด้วยเพื่อให้อัลกอริทึมสามารถเข้าใจคอนเทนต์ของเราได้มากขึ้น

การวัดผล SEO และ UX ของ Google

  1. Findability ค้นหาเจอได้ง่ายหรือไม่
  2. Product pages การแสดงผลสินค้าและบริการดึงดูดแค่ไหน ปุ่ม Calls to Action เด่นหรือไม่?
  3. Registration & Conversion รูปแบบที่เสร็จสมบูรณ์และความปลอดภัยของเว็บไซต์
  4. Mobile design การออกแบบเหมาะสำหรับผู้ใช้งานในมือถือหรือไม่?
  5. Speed หน้าเว็บไซต์ใช้เวลาดาวน์โหลดนานแค่ไหน?

สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับ SEO & UX คือการวัดผล เราวิเคราะห์จากข้อมูลที่ได้มากน้อยแค่ไหน นำผลที่ได้มา Test and Learn เพื่อพัฒนาและปรับปรุงอยู่เสมอ