Site icon Thumbsup

“ลูกค้าต้องมาก่อน” กุญแจสู่การยกระดับความเชื่อมั่นต่อแบรนด์ของผู้บริโภค ในช่วงที่ธุรกิจกำลังฟื้นตัว

การตั้งเป้าหมายแนวคิดเรื่องการให้ลูกค้าเป็นสิ่งสำคัญ หรือ ลูกค้าต้องมาก่อน เริ่มกลายมาเป็นการยกระดับความเชื่อมั่นต่อแบรนด์ของผู้บริโภคในช่วงที่ธุรกิจกำลังจะฟื้นตัวกลับมาอีกครั้ง

Qualtrics เผยผลสำรวจที่ระบุถึงปัจจัยสำคัญในการสร้างความเชื่อมั่นต่อแบรนด์ในช่วง New normal และแนวทางที่ผู้บริโภคต้องการที่จะมีส่วนร่วมกับแบรนด์ โดยอินไซต์ดังกล่าวจะช่วยให้แบรนด์สามารถวางแผนและดำเนินการในการสร้างความไว้วางใจและความเชื่อมั่นต่อแบรนด์ ท่ามกลางสถานการณ์ที่ไม่แน่นอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ในช่วงเวลาที่มาตรการล็อคดาวน์ การปรับใช้แนวคิด ลูกค้าต้องมาเป็นอันดับแรก หรือ customer first คือ สิ่งสำคัญในการสร้างความเชื่อมั่นต่อแบรนด์ในภาวะวิกฤติ โดยผู้บริโภคร้อยละ 62 ชี้แบรนด์ไม่ควรแสวงหาผลประโยชน์จากวิกฤติ ขณะที่ร้อยละ 40 ระบุว่าแบรนด์ควรรักษาระดับราคาสินค้าและบริการให้มีความสมเหตุสมผล และร้อยละ 31 ต้องการให้แบรนด์ใส่ใจดูแลลูกค้า ผู้บริโภคในไทยกว่าร้อยละ 75 มองว่า แบรนด์จำเป็นต้องใส่ใจดูแลพนักงานและลูกค้าให้มากกว่ามาตรฐานความปลอดภัยหรือคำแนะนำที่ควรจะเป็น

นอกจากนี้ยังพบว่า ในช่วงการระบาดของโควิด-19 ผู้บริโภคกว่าร้อยละ 46 มีความเชื่อมั่นเพิ่มมากขึ้น ต่อแบรนด์ที่พวกเขาเลือกใช้อยู่เป็นประจำ

งานวิจัยของ Qualtrics พบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่ (ร้อยละ 87) มองว่าการตอบโต้ของแบรนด์ ในสภาวะวิกฤติมีผลอย่างยิ่งต่อระดับความเชื่อมั่นในแบรนด์ โดยมีเพียง ร้อยละ 2 เท่านั้นที่ไม่เห็นความสำคัญ อินไซต์ดังกล่าวตอกย้ำว่า แบรนด์ที่มีส่วนสนับสนุนลูกค้าให้สามารถปรับตัวเข้าสู่ new normal ได้ จะสามารถสร้างความไว้วางใจและความเชื่อมั่นต่อแบรนด์ ซึ่งจะส่งผลดีต่อการฟื้นตัวทางธุรกิจและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันอีกด้วย

สื่อสาร ด้วยสาระที่ใช่ และสื่อกลางที่ตอบโจทย์

ในด้านการสื่อสารของแบรนด์ ผู้บริโภคนั้นให้ความสนใจต่อการดำเนินงานของแบรนด์ที่เปลี่ยนไปจากผลกระทบของโควิด-19 มากกว่าข่าวสารด้านการขายหรือโปรโมชั่นทางการตลาด โดยเนื้อหา 3 อันดับแรก ที่ผู้บริโภคต้องการทราบ ได้แก่

การศึกษาของ Qualtrics ยังเผยถึงช่องทางการสื่อสารที่ผู้บริโภคไทยต้องการให้แบรนด์เลือกใช้ โดยแพลตฟอร์มออนไลน์ได้รับความนิยมสูงสุด นำโดย

  1. Facebook 23%
  2. สื่อออนไลน์ 20%
  3. โฆษณาทางโทรทัศน์ 15%
  4. Whatsapp 12%
  5. TikTok 12%
  6. วิทยุ 13%

มาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social distancing) ได้สร้างข้อจำกัดในการสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์และลูกค้า การสื่อสารที่สม่ำเสมอและมีประสิทธิภาพจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเข้าถึงผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ในการสื่อสารอย่างมีศักยภาพ แบรนด์จำเป็นต้องสร้างสมดุลระหว่างความถี่และสาระของการสื่อสาร องค์ประกอบที่มีความเหมาะสมนี้จะช่วยให้แบรนด์อยู่ในความสนใจของลูกค้าอยู่เสมอ ในยามที่ตลาดมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา