Site icon Thumbsup

คิดอย่าง Design Thinking สร้างโอกาสอยู่รอดในยุค Digital Disruption

การปรับตัวเข้าสู่โลกดิจิทัลของธุรกิจไม่ใช่เรื่องง่ายเลยนะคะ หลายคนพยายามที่จะคิดต่อยอดจากธุรกิจเดิมที่ตนเองมีอยู่ ในงานสัมมนาเชิงวิชาการหัวข้อ กลยุทธ์พัฒนานวัตกรรมธุรกิจด้วยแนวคิดเชิงออกแบบ ซึ่งจัดขึ้นโดย นิตยสาร BUSINESS+ โดย คุริา เถลิงศรี กรรมการผู้จัดการ SEAC (South East Asia Center) ศูนย์พัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ตลดชีวิตแห่งภูมิภาคาเซียน ได้ให้ข้อมูลอย่างน่าสนใจเลยทีเดียว

Design Thinking

การสร้างนวัตกรรมจากจุดเริ่มต้น หรือ Raising the BAR Innovation ไม่ได้หมายถึงการต่อยอดสิ่งเดิมที่เจ้าของธุรกิจทำอยู่ แต่ต้องมองหานวัตกรรมใหม่จาก Painpoint ในสังคมไปเลย

หลายสตาร์ทอัพที่สามารถขึ้นแท่นเป็นยูนิคอร์นได้อย่างรวดเร็ว มาจากแนวคิดแบบนี้ อย่างเช่น UBER ที่มีการ Design Thinking Process ก่อนการพัฒนาเป็นธุรกิจเรียกรถอย่างที่เห็นในปัจจุบัน ถ้ามองแต่นวัตกรรมเจ้าของรถแท็กซี่อาจจะคิดแค่ว่าทำยังไงให้ลูกค้าเรียกรถมากขึ้น ทำให้รถสะอาดขึ้นหรือบริการดีขึ้น

แต่ความเป็นจริง คนขับแท็กซี่เองต่างหากที่เป็น PAINPOINT สำคัญ จนทำให้ UBER สามารถแจ้งเกิดได้อย่างสวยงามในเวลาอันรวดเร็ว

นี่คือความหมายของ Raising the BAR Innovation คือทำความเข้าใจของปัญหาผู้บริโภคอย่างถ่องแท้ก่อนเอาเทคโนโลยีเข้ามาตรวจสอบและออกแบบเครื่องมือให้เหมาะสม

หรืออย่างเช่น FACEBOOK โซเชียลมีเดียชื่อดังระดับโลก เกิดขึ้นเพราะผู้ออกแบบต้องการค้นหาเพื่อนเก่าและอยากรู้เรื่องราวของเพื่อน

“เพราะทุกคนไม่ได้อยู่บนสปอตไลท์ และไม่ใช่ทุกคนอยากรู้เรื่องของคนดัง”

นอกจากนี้ เฟสบุ๊ค ก็เป็นเวทีให้คนที่อยากเป็น Somebody สิ่งนี้เข้ามาเติมเต็มความต้องการพื้นฐานด้านอารมณ์ของคน จึงทำให้เติบโตอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะในไทย

ดังนั้น การออกแบบโปรดักส์ไม่จำเป็นต้องตอบสนองลูกค้าใหม่ในอนาคตเสมอไป แต่ต้องมองภาพให้ชัดว่าลูกค้าในวันนี้ พอใจกับบริการของคุณมากแค่ไหน และธุรกิจของคุณแก้ Painpoint พวกเขาดีแค่ไหน เติมเต็มเขาได้ครบถ้วนหรือยัง หากทำในจุดนี้ได้ดี ย่อมสร้างความรักในแบรนด์ให้กลุ่มลูกค้าเดิมได้ และเป็นโอกาสของธุรกิจที่ยาวนาน

Empathy ช่วยสร้าง Passion

เมื่อทำธุรกิจไปถึงจุดหนึ่ง ลองวิเคราะห์ธุรกิจของคุณดูแล้วรึยังว่ามี Empathy (การเอาใจใส่) มากแค่ไหน เจ้าของธุรกิจ หากต้องการคิดไอเดียหรือบริการใหม่ ไม่ควรนั่งอยู่แค่ในห้องบนโต๊ะบริหาร แต่ออกไปมองหาไอเดียจากข้างนอกบ้าง

เช่น กรณีของ Netflix ที่กำลังส่งทีมกว่า 500 คน ออกไปเก็บข้อมูล Empathy กับเด็กนักเรียนเกรด 1-4 ที่รู้สึกว่าการเรียนเป็นเรื่องน่าเบื่อ โดยเข้าไปศึกษาและเรียนรู้ปัญหาของพวกเขา เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์และอาจเกิดโปรดักส์ใหม่ที่คาดไม่ถึง

หากคุณเป็นผู้นำที่ดีก็ต้องสร้าง Passion ให้เกิดกับทีมงานหรือลูกน้อง เพราะเกือบทุกธุรกิจในโลกเกิดขึ้นและสร้างสรรค์ได้อย่างมั่นคงสิ่งสำคัญมาจาก Passion ของผู้บริหารทั้งสิ้น

Macbook โน๊ตบุ๊คที่ลงตัวทั้งพกพาและการทำงาน คลิกเลย