Site icon Thumbsup

รู้จัก N-po Generation เมื่อสังคมบีบให้คนรุ่นใหม่หมดไฟจะเดินต่อ

คุณเคยรู้สึกท้อใจกับปัญหาครอบครัว สังคม การเมือง การเรียน การทำงานหรือสิ่งแวดล้อมรอบตัวจนไม่อยากจะเดินต่อไหมคะ

วันนี้เราจะพาคุณมาทำความรู้จักกับ เอ็นโพเจเนอเรชั่น (N-po Generation) คำนิยามของคนช่วงวัยหนึ่งในเกาหลีใต้ที่ยอมแพ้เรื่องต่างๆ เมื่อพวกเขารู้สึกว่ายุคนี้มันอยู่ยาก คนรุ่นใหม่เลยไม่อยากแข่งกันแล้ว ทั้งในแง่การเรียน การทำงาน การใช้ชีวิตเพื่ออนาคต (อย่างการแต่งงาน มีครอบครัว)

หากใครเคยอ่านหนังสือที่ชื่อว่า “นี่เราใช้ชีวิตยากกันไปหรือเปล่านะ” จะสามารถอธิบายความรู้สึกเบื่อ ท้อ แล้วหมดหวังได้ดี จากการได้ใช้ชีวิตแบบปล่อยวางของผู้เขียนที่ลาออกจากงานและใช้ชีวิตแบบพักผ่อนสุดๆ

คนรุ่นใหม่ที่หมดไฟตั้งแต่เริ่มใช้ชีวิต

ย้อนกลับมาเรื่องของภาวะเอ็นโพเจเนอเรชั่นกันอีกรอบ สำหรับคนกลุ่มนี้นะเป็นกลุ่มคนที่เจาะไปในช่วงอายุ 20-30 ปีในเกาหลีใต้ที่มีทั้งคนที่เคยมีแฟนและเลิกรากันไป และคนที่มีครอบครัวแต่เลิกรากันไปแบบไม่มีลูกมาเป็นข้อผูกมัด เพราะมองว่าพวกเขาไม่สามารถมีภาระมาผูกพันตัวเองได้ เพราะเศรษฐกิจ แรงกดดันทางสังคมและค่าใช้จ่ายทางสังคมที่สูงเกินเอื้อม

ด้วยภาวะนี้ทำให้ประธานาธิบดีคนใหม่ของเกาหลีใต้อย่าง มุน แจอิน ต้องเผชิญกับความท้าทายนี้เช่นกัน เพราะมันเป็นภาวะที่ส่งผลต่อคุณภาพของประชากร และการว่างงานของประชาชนในอนาคตเช่นกัน

นอกจากนี้ อัตราการว่างงานในอนาคตของคนที่มีช่วงอายุ 15-29 ปีในเกาหลีใต้มีจำนวนเพิ่มขึ้นในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา โดยมีเด็กจบใหม่กว่า 560,000 คนที่กลายเป็นคนว่างงาน (ข้อมูลช่วงมีนาคม 2017) ซึ่งตัวเลขนี้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่อเทียบกับคนที่มีช่วงอายุ 15-19 ปี ในปี 2015 โดยเพิ่มขึ้น 11.3% ในเดือนมีนาคม 2012 ขณะที่อัตราว่างงานของกลุ่มคนอายุอื่นยังคงที่ เห็นได้ชัดว่างตลาดงานสำหรับคนรุ่นใหม่เพิ่มขึ้นในระยะเวลาเพียงไม่กี่ปีที่ผ่านมา

แม้ว่าช่วงอายุดังกล่าว จะมีไลฟ์สไตล์ที่ค่อนข้างมีรสนิยม หรูหรา ดึงดูดใจในอินสตาแกรม ในฐานะที่พวกเขาเป็นดิจิทัลเนทีฟ คุ้นเคยกับแอปพลิเคชั่นและเทคโนโลยีต่างๆ แต่พวกเขาก็โหยหารสนิยมในอดีต

ซึ่งก่อนที่จะมาถึงคำว่า N-po Generation นั้น มีคำว่า Som-po Generation มาก่อน มันคือ การยอมแพ้ 3 ประการ คือ ยอมแพ้ที่จะมีคนรัก ยอมแพ้ที่จะแต่งงาน และยอมแพ้ที่จะมีลูก ทำไมถึงยอมแพ้ ด้วยสถานการณ์ทางสังคมที่บีบคั้นไปเรื่อยๆ พวกเขาก็ถอดใจที่จะทำใน 3 สิ่งข้างต้นนั้น

และด้วยภาวะที่บีบไปเรื่อยๆ นี้ ความยอมแพ้ของคนรุ่นใหม่จึงไม่ได้มีแค่ 3 เรื่อง แต่มากขึ้นไปเรื่อยๆ ทั้งอาชีพ การมีบ้านของตัวเอง และมนุษยสัมพันธ์ จนกลายเป็น N (Infinity) จนกลายเป็นยอมแพ้ที่จะมีเป้าหมายในชีวิตแบบคนในรุ่นก่อนๆ เช่นเดียวกับคนทั่วโลกทุกวันนี้ ที่รู้สึกยอมแพ้ที่จะไม่ขยับตำแหน่ง ด้วยภาวะทางเหตุผลที่กว้างขึ้นในแง่ต่างๆ นี้อธิบายสภาพสังคมและค่าครองชีพที่ทำให้พวกเขาความรู้สึกหมดหวังของคนทุกวันนี้

เช่นเดียวกับ มนุษย์ทำงานในทุกวันนี้ที่ไม่อยากเลื่อนขั้นด้วยเหตุผลต่างๆ ไม่อยากจะก้าวหน้ามากขึ้น ไม่ชอบงานที่ทำอยู่แต่ไม่รู้ว่างานที่เราชอบคืออะไร ก็เลยไม่กล้าที่จะกระโดดออกไปทำสิ่งที่ชอบ จนถึงไม่รู้ว่าตัวเองชอบอะไร ความสนุกของการใช้ชีวิตอาจหมายถึงการที่เราไม่รู้อะไรล่วงหน้าก็ได้ ให้เริ่มทำบางสิ่งที่อยากทำไปเลย

เรากำลัง “ขยัน” เพื่ออะไร

เป้าหมายในชีวิตที่คุณมองหาคืออะไร ลองตอบคำถามในชีวิตทุกวันนี้ว่า “เราขยันเพื่อให้มีชีวิตอย่างไร?” ตอนนี้เรากำลังโตมาในสังคมที่อยู่ในขั้นตอนไหนบ้าง เรียนจบ ทำงานในบริษัทที่มีชื่อเสียง มีเงิน มีบ้าน มีรถและเกษียณ หรือการที่เรายอมตามใจตัวเองสักครั้ง ในช่วงอายุที่ออกแบบตามหลักการไม่ได้ หากเราลาออกจากระบบหรือมายด์เซ็ทเดิมๆ ว่าชีวิตจะเป็นอย่างไร ความกล้าหาญ ความท้าทายในการออกไปพบสิ่งใหม่ๆ อาจเป็นสิ่งที่ยากในชีวิตแล้วการที่เรากล้าตัดสินใจออกไปทำสิ่งใหม่ๆ คือเรื่องยากหรือเปล่า

แม้ว่าภาวะการว่างงานของเกาหลีจะมีความซับซ้อน แต่ก็ส่งผลต่อโครงสร้างหลัก 3 ประการ คือ

ด้วย 3 เหตุผลหลักนี้ จึงเป็นปัจจัยให้คนจบใหม่ ต้องตกงานกันเป็นระยะเวลานานและยากที่จะหางานใหม่ได้ เมื่ออายุมากขึ้นและถูกถามถึงเรื่องของรายได้ การแต่งงาน จนถึงเส้นทางชีวิตในอนาคตยิ่งกลายเป็นความกดดันที่ทำให้พวกเขาท้อแท้มากขึ้น

รายได้สวนทางกับค่าใช้จ่าย

เรื่องของค่าครองชีพ ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลกระทบทางจิตใจของคนกลุ่ม n-po ยกตัวอย่างเช่น คนที่อาศัยในโซล มีจำนวนเกือบ 50 ล้านคน เรียกว่าเป็นเมืองที่มีราคาที่อยู่อาศัยแพง อัตราส่วนราคาต่อรายได้ อยู่ที่ 16.64% เมื่อเทียบกับราคาย่านใจกลางเมืองของที่อยู่อาศัยทั่วโลก อย่างแวนคูเวอร์ และซานฟรานซิสโก ทำให้ชาวเกาหลีใต้ต้องเก็บออมเงินรายได้ไว้เกือบ 17 ปี เพื่อซื้อบ้าน นี่จึงเป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่คนอยากมีบ้าน ต้องรักษาตำแหน่งงานของตัวเองให้มีรายได้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และคนรุ่นใหม่ก็รู้สึกหมดไฟกับการหางานตำแหน่งสูงๆ ส่งผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นทุกวัน และครอบครัวที่กดดันให้คุณมีชีวิตที่รำ่รวย จนคนกลุ่มนี้ยอมแพ้ที่จะวางแผนชีวิตเพื่ออนาคต

ทางด้านของประธานาธิบดี มุน เอง ก็พยายามที่จะแก้ปัญหาวิกฤตการว่างงานของเยาวชนอย่างต่อเนื่อง เพราะกลุ่มผู้มีสิทธิเลือกตั้งอยู่ในช่วงอายุ 20-40 ปี และมีผู้หย่อนบัตรเลือกเขาเพียง 52% จากคนช่วงอายุเหล่านี้ ทำให้การสร้างงาน 1.3 ล้านตำแหน่งตลอดระยะเวลา 5 ปีที่เขาดำรงตำแหน่ง และมีงานกว่า 810,000 ตำแหน่งของภาครัฐ ที่ช่วยให้พวกเขามีความมั่นคงในชีวิตในวัยเกษียณ

นอกจากนี้ มุน ยังพยายามที่จะเพิ่มคุณภาพชีวิตให้ประชากรสูงขึ้น ด้วยการเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำจาก 5.76 ดอลลาร์ (ประมาณ 179.48 บาท) เป็น 8.90 ดอลลาร์ ( ประมาณ 277.32 บาท) รวมทั้งให้ภาคธุรกิจยอมให้พนักงานชั่วคราวได้เป็นพนักงานประจำ เพื่อลดความเสี่ยงด้านอาชีพการงานในกลุ่มคนรุ่นใหม่ลง

สาเหตุหลักของ N-po Generation อีกอย่างหนึ่งคือ พวกเขารู้สึกว่าเรื่อง “ความรัก” เป็นสิ่งที่ฟุ่มเฟือย ถูกครอบงำด้วยภาวะการใช้จ่ายทางสังคม นอกจากปัญหาเรื่องการกู้เงินเรียน ค่าเช่าซื้อที่อยู่และค่าครองชีพในแต่ละวันก็สูงมากพออยู่แล้ว หากยังต้องมาเจอโครงสร้างทางสังคมและการใช้จ่ายที่ไม่สมเหตุสมผลอีก พวกเขาก็ไม่อยากจะสร้างค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น

เรื่องของการเริ่มต้นใช้ชีวิตคู่ในมุมมองของคนเกาหลีใต้ รู้สึกว่าถ้าอยากได้ความรักที่โรแมนติกเหมือนเจ้าหญิงก็ต้องเต็มไปด้วยค่าใช้จ่ายที่ต้องแบกรับ เพราะความรักไม่ได้เป็นแค่ความรู้สึกแต่เป็นความคาดหวังของคนอีกคนหนึ่ง จึงมีคนที่ถึงช่วงวัยที่ต้องแต่งงานแต่รู้สึกว่าตนเองไม่ได้อยู่ในช่วงวัยที่อยากแต่งงานหรือมีชีวิตคู่

หรือคนที่แต่งงานแล้วก็รู้สึกว่าพวกเขาไม่อยากแบกรับค่าใช้จ่ายในการดูแลเด็กที่เป็นลูกหลานของเขาในอนาคตทำให้อัตราการเกิดของเด็กต่ำลง เพราะความกดดันเหล่านี้ รวมไปถึงการลางานหลังคลอดบุตรของพนักงานหญิงที่มีข้อจำกัดก็เป็นอีกหนึ่งเหตุผลให้คู่แต่งงานใหม่ลังเลที่จะมีบุตร

ความกดดันแบบนี้อาจไม่ใช่เฉพาะชาวเกาหลีใต้ แต่เป็นกันทุกประเทศ สำหรับคนวัยหนุ่มสาวที่เริ่มรู้สึกถึงความกดดัน ท้อแท้ และสิ้นหวังต่ออนาคต อาจเพราะวัยที่ควรเกษียณก็พยายามต่อสู้และรักษาตำแหน่งให้ได้นานขึ้น เพื่อมีรายได้และความมั่นคงในชีวิตของตนเองจนละเลยคนรุ่นหลัง รวมทั้งการบีบให้คนรุ่นหลังที่มีความคิดต่อต้านเชื่อฟังตนเองมากขึ้นด้วยการบังคับเชิงนโยบาย หรือบังคับเชิงครอบครัวและสังคม จนเป็นภาวะของคนเป็นโรคซึมเศร้าเยอะขึ้น

ทั้งในญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ รวมถึงคนในภูมิภาคเอเชียที่เจอปัญหาเหล่านี้ ส่งผลให้พวกเขามีภาวะซึมเศร้าและฆ่าตัวตายมากขึ้น ผู้เขียนก็ได้แต่เป็นกำลังใจให้ทุกคนที่กำลังความกดดันในเรื่องต่างๆ นี้ บรรเทาลงจากใจของคนที่กำลังท้อแท้และมองเห็นอนาคตที่สดใสในเร็ววันนะคะ

 

ที่มา : wikipedia, asiafoundation, StandardPodcast