Site icon Thumbsup

dtac ผุดโครงการ accelerate Creator สร้างคนรุ่นใหม่ ทำคอนเทนต์โดนใจ

ในยุคที่คอนเทนต์บนโลกออนไลน์มาแรงนั้น dtac ยอมรับว่า มีหลายคอนเทนต์บนโลกดิจิทัลที่สร้างขึ้นผ่านฝีมือของครีเอเตอร์ได้รับความนิยมที่ดีกว่าโฆษณาหรือคอนเทนต์ที่ผลิตขึ้นมาเอง จึงผุดโครงการ Accelerate Creator ครั้งแรกขึ้น เพื่อปั้นเด็กรุ่นใหม่ มีใจรักการสร้างสรรค์อย่างน้อย 16 ทีม 

ปานเทพย์ นิลสินธพ (ซ้าย) และ พิพัฒน์ ศรีมัธยกุล (ขวา)

ปานเทพย์ นิลสินธพ รักษาการรองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มดิจิทัล dtac เล่าให้ฟังว่า จากการสำรวจของ TNS พบว่า ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในไทยกว่า 90% ใช้ YouTube และกว่า 75% ดู YouTube ทุกวันโดยใช้เวลากว่า ชั่วโมงโดยเฉลี่ย ทำให้แนวโน้มของ content creator ในปัจจุบัน เริ่มมีบทบาทในการช่วยผลักดันธุรกิจมากขึ้น และกลายเป็นอาชีพใหม่ที่ดึงดูดให้คนรุ่นใหม่สนใจทำเป็นอาชีพสร้างรายได้ที่ดี มีอิสระ แต่ตลาดยังขาด content creator ที่สร้างสรรค์คอนเทนต์ที่มีการเล่าเรื่องที่ดี มีทักษะในการผลิตที่ดี และที่สำคัญคือมีความเข้าใจและมีประสบการณ์ในการทำงานแบบแบรนด์อีกมาก

Digital สร้างการรับรู้ดีกว่า

dtac มองว่า Content Marketing ของแบรนด์ หากสื่อสารผ่าน Creator จะได้มุมมองที่ดีกว่า และคน Engage ได้ดีกว่าเดิม ทำให้แบรนด์ต่างๆ มาใช้ Content Marketing มากขึ้น แต่ถ้าเน้นปริมาณในการสื่อสารมากเกินไป อาจทำให้คุณภาพของชิ้นงานออกมาด้อย ทางบริษัทจึงต้องการสร้างคนรุ่นใหม่เข้ามาช่วยเสริมให้มีคอนเทนต์ที่ดีมากขึ้นกว่าเดิม

โดยหลังจากฝึกอบรมผ่านระบบของ dtac แล้ว บริษัทไม่มีจำกัดหรือห้ามโฆษณาแบรนด์อื่นๆ ซึ่งโครงการนี้จะเน้นการให้ความรู้จากวิทยากรชั้นนำเท่านั้น หากต้องการเข้าสู่ระบบเอเจนซี่หรือรับโฆษณาเองก็สามารถทำได้อย่างอิสระ

“เราไม่ได้ต้องการเป็นเอเจนซี่หรือหารายได้จากธุรกิจนี้ เราแค่เห็นว่าโครงการนี้จะเป็นประโยชน์แก่คนรุ่นใหม่ เหมือน Start up Accelerate ที่สนับสนุนคนรุ่นใหม่ใช้เทคโนโลยีเปลี่ยนโลก ส่วนโครงการ Creator นี้ จะพัฒนาไปเป็นหน่วยงานแยกของบริษัทหรือไม่ ต้องปล่อยให้เป็นเรื่องของอนาคต”

เริ่มต้นจาก Hackatron สู่ Creator

เมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา  ดีแทค ได้เชิญ Content Creator จำนวน ราย มารวมตัวกัน เพื่อที่จะดึงศักยภาพและความสามารถของพวกเขาออกมา ผ่านการผลิตวิดีโอคอนเทนท์บนโจทย์พิเศษ ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ที่ Content Creator บนแพลตฟอร์ม YouTube ถูกท้าทายให้เข้าร่วมกิจกรรม Hackathon  ซึ่งเปิดโอกาสให้มีการแข่งขันในกลุ่ม Content Creator เพื่อสร้างสรรค์และนำเสนอวิดีโอเพื่อโปรโมทแคมเปญ ดีแทคใจดี บนแพลตฟอร์ม YouTube

ปรากฏว่าวิดีโอที่ Content Creator สร้างสรรค์ขึ้นให้กับ dtac มียอดจำนวนการเข้าชมมากกว่าวิดีโอตัวอื่นๆ บนช่อง YouTube ของ Content Creator เหล่านั้นเอง กว่า 40% หรือมากกว่าหนึ่งในสามของอัตราการเข้าชมปกติเมื่อเทียบกับวิดีโอทั้งหมดในช่อง YouTube ของ Content Creator ดังกล่าว

พิพัฒน์ ศรีมัธยกุล ผู้อำนวยการฝ่าย Social Engagement ของ dtac กล่าวเสริมว่า แบรนด์ส่วนใหญ่ไม่ค่อยเปิดโอกาสให้ Content Creator มีอิสระในการสร้างสรรค์ผลงานอย่างเต็มที่ รวมทั้งต้องการควบคุมอย่างใกล้ชิด เพื่อให้ทุกอย่างเป็นไปตามคู่มือของแบรนด์ที่วางไว้ ซึ่งตรงกันข้ามกับที่ dtac ที่มอบอิสระในการทำงานอย่างเต็มที่ เพื่อให้ Content Creator สื่อสารออกมาด้วยภาษาของพวกเขาเอง

จากงาน Hackathon นี้ ทำให้ราคาต่อการเข้าชม (Cost per View) อยู่ที่ 1 ใน 4 ของค่าเฉลี่ยที่ dtac เคยทำมา และอัตราการชมวิดีโอ (View Through Rate) สูงเกือบ 70% ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยที่ผ่านมาถึง 2 เท่า

จัดหลักสูตรใหม่โดยเฉพาะ

สำหรับการอบรมตลอดโครงการนั้น จะจัดทำขึ้นจากข้อมูลของทีม Youtube วิทยากรชั้นนำ มารวบรวมเป็นข้อมูลและถ่ายทอดโดยจะมีโจทย์ให้ผู้สมัครได้สร้างสรรค์ขึ้น

ทางด้านของวิทยากรนั้น ด้วยความร่วมมือกับ Google ประเทศไทย จึงมีการนำหลักสูตรและการใช้เครื่องมือต่างๆ จาก Youtube มาให้ความรู้โดยตรง รวมทั้งมีโค้ชชั้นนำที่คัดเลือกมาให้ความรู้จากหน่วยงานต่างๆ ด้วย

ส่วนการจัดกิจกรรมตลอดทั้งโครงการจะมีขึ้นในวันเสาร์ จำนวน 5 ครั้ง เพื่อให้สะดวกแก่นักเรียน นักศึกษาที่อาจติดเรียนในวันธรรมดา สามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ในวันหยุด (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม ที่นี่)