Site icon Thumbsup

Zero waste และ Zero landfill การจัดการขยะอิเล็กทรอกนิกส์ฉบับ Dtac

ปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่เพิ่มขึ้นตามการพัฒนาของเทคโนโลยี หากได้รับการจัดการที่ไม่เหมาะสม สารพิษหลากหลายชนิดจะรั่วไหลสู่สิ่งแวดล้อม ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศทั้งระยะสั้นและระยะยาว รวมถึงผลกระทบต่อต่อสุขภาพประชาชน ดังนั้นการจัดการอย่างถูกต้องและเหมาะสมจึงเป็นโจทย์สำคัญสำหรับธุรกิจโทรคมนาคม

ทั้งนี้ ทีมงาน thumbsup ได้รับเกียรติสัมภาษณ์ คุณรัชญา กุลณพงษ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายความยั่งยืน บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ Dtac เกี่ยวกับระบบการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ของธุรกิจโทรคมนาคม

ทำไมต้องกำจัดขยะ E-waste

คุณรัชญา : ในส่วนของ Dtac ซึ่งเป็นบริษัทที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีและการสื่อสาร ประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมที่สำคัญคือ ขยะอิเล็ทรอนิกส์ Electronic waste หรือ E-waste ในช่วงสองสามปีที่ผ่านมาประเด็นเกิดขึ้นอยู่ตลอด จากการประเมินเป็นประจำทุกปี เพราะฉะนั้นตรงนี้ทำให้เราต้องคิดกระบวนการหรือวิธีการในการจัดการกับขยะอิเล็กทรอนิกซ์ขึ้นมา

เรามีกระบวนการ Environmental Management system ซึ่งในกระบวนการนี้จะมีการประเมินแต่ละช่วงของ Business Operation ว่าส่วนไหนสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากที่สุด หลังจากนั้นก็สร้างวิธีการหรือ Solution เพื่อการลดความเสี่ยงตรงนั้น

ในปี 2019 เราเริ่มเก็บขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่เกิดจากการดำเนินงานด้านโครงข่ายสัญญาณทั่วประเทศทำให้เห็นว่ามีปริมาณเยอะ ซึ่งรวมกันประมาณ 2 แสนกว่าชิ้นในปี 2019 แต่ว่าขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่เกิดขึ้นจากข้างนอกก็คือผู้บริโภคคิดเป็นแค่ 20-21% ของขยะอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดของที่เราเก็บได้ นี่คือประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมที่สำคัญของธุรกิจโทรคมนาคม ก็คือการกำจัดขยะ E-waste อย่างถูกต้อง การบริหารจัดการ E-waste อย่างถูกต้องและเหมาะสม

ที่มา Dtac

การดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อมของ Dtac

คุณรัชญา : เป้าหมายหนึ่งของการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมของ Dtac คือการทำ Zero landfill และ Zero waste ในส่วนของ Zero landfill จะครอบคลุมทั้งขยะทั่วๆ ไปที่เกิดขึ้นจากชีวิตประจำวัน การดำเนินธุรกิจ จากออฟฟิศ และครอบคลุมเรื่อง E-waste ด้วย 

เพราะฉะนั้นการที่จะทำ E-waste มีเป้าหมายเป็น Zero waste และ Zero landfill เราจำเป็นจะต้องมีผู้ที่รับกำจัดขยะด้วยวิธีรีไซเคิลให้ไม่เกิด waste และ Landfill ตอนที่สิ้นสุดกระบวนการ

ปัญหาและอุปสรรค

คุณรัชญา : หลักการนึงที่ Dtac มีในการดำเนินงานด้านความยั่งยืนก็คือการ Raise standard ทำให้เราสามารถมีช่องทาง หรือว่าแนวทางในการยกระดับ Supply Chian หรือบริษัทที่อยู่ในอุตสาหกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ Telecommunication ให้มีมาตรฐานเทียบเท่ากับสากล หรืออย่างน้อยก็มีแนวทางตามกฎหมายของสากลและประเทศไทยเอง

เราเห็นช่องว่างตรงนี้อยู่ และ Dtac ก็อยากร่วมงานกับภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องกับเรื่อง E-waste, Recycle เพื่อยกระดับโรงงานเหล่านี้ ให้มีศักยภาพที่สูงขึ้น มีมาตรฐานในการดำเนินงานด้าน Recycle, E-waste ที่ดีขึ้นปลอดภัยสำหรับทั้งตัวพนักงานและชุมชนที่อยู่รอบๆโรงงานของเขาเอง คิดว่าเป็นแนวทางอีกอย่างนึงที่อยากจะช่วยทำและคิดว่าน่าจะแก้ไขปัญหาได้อย่างยั่งยืน

ที่มา Dtac

สำหรับคนที่อยากเริ่มต้นทิ้งขยะ E-waste

คุณรัชญา : สำหรับผู้ใช้โทรศัพท์มือถือทั่วไปที่ตอนนี้คิดว่ามือถือของเราถึงเวลาที่ต้องเปลี่ยนแล้ว ใช้ไม่ได้แล้ว เสียแล้ว พังแล้วอยากจะซื้อใหม่เนี่ย แล้วก็จะทิ้ง คิดว่าสิ่งที่อยากแนะนำก็คือทิ้งในที่ที่เตรียมไว้สำหรับการรับขยะประเภทนี้อยู่แล้ว เพราะขยะประเภทนี้จะมีวิธีการจัดการที่แตกต่างจากประเภทอื่น

ซึ่งกระบวนการแรกก็จะมีการคัดแยกนะคะ เอาสิ่งที่คิดว่าเรายังใช้ต่อได้ สามารถมี Life cycle ต่อได้ หรือเป็นโลหะที่มีค่าก็สกัดออกมา ถ้าเป็นอุปกรณ์ที่มีการเก็บข้อมูล รีไซเคิลที่ดีก็จะลบข้อมูลทั้งหมด เพราะฉะนั้นก็ไม่ต้องกลัวเรื่องข้อมูลรั่วไหล เพราะฉะนั้นสิ่งที่ผู้บริโภคทั่วไปคิดว่าพออยากทิ้ง โอเคอาจจะลบข้อมูลตัวเองก่อน ให้เรียบร้อยก่อน ลบรูป ลบข้อมูล ลบ Contact ต่างๆ เพื่อป้องกันไว้ในระดับนึง แล้วก็เอาไปทิ้งที่จุดรับของ Dtac ได้ เพราะว่า Dtac ทิ้งทุกอย่างอย่างถูกต้อง เหมาะสม แล้วก็ไม่มีการรั่วไหลของข้อมูลแน่นอน คือเราทำงานกับรีไซเคิลที่มีศักยภาพ มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในเรื่องนี้จริงๆ