Site icon Thumbsup

ส่องเทรนด์และสถิติ E-commerce 2020

ในปี 2020 นี้ทั่วโลกเผชิญกับวิกฤตการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งส่งผลให้หลายประเทศต้องล็อกดาวน์เป็นเวลาหลายเดือน จากการซื้อขายที่หน้าร้านค้าถูกบังคับให้เปลี่ยนเป็นช่องทางออนไลน์อย่างรวดเร็ว

แทบทุกธุรกิจต้องปรับตัวเข้าหาอีคอมเมิร์ซ (E-commerce) ทั้งจากการเปลี่ยนผ่านของเทคโนโลยีและพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป ทำให้การสั่งซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้นและมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง

ดังนั้นผู้ประกอบการ แบรนด์ ธุรกิจจะต้องตื่นตัวและปรับตัวให้สอดรับกับพฤติกรรมของผู้บริโภคตลอดเวลา โดยทีมงาน Thumbsup ขอพาส่องข้อมูลแนวโน้มของเทรนด์และสถิติ E-commerce ในปี 2020 จากเว็บไซต์ websitebuilderexpert

พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปในสินค้าแต่ละประเภท

สุขภาพและความสวยงสาม ออนไลน์เพิ่ม 23% ออฟไลน์ลดลง 8.2%

สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ออนไลน์เพิ่ม 20% ออฟไลน์ลดลง 26.3%

สินค้าแฟชั่น ออนไลน์เพิ่ม 19% ออฟไลน์ลดลง 33.7%

เฟอร์นิเจอร์และของแต่งบ้าน ออนไลน์เพิ่ม 16% ออฟไลน์ลดลง 15.2%

แนวโน้มพฤติกรรมผู้บริโภคหลังผ่านวิกฤตโควิด-19

39% ซื้อสินค้าผ่านทั้งช่องทางออนไลน์และหน้าร้าน

28% ซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ต่อไป

24% กลับไปซื้อสินค้าผ่านหน้าร้าน

9% อื่นๆ

Desktop vs Mobile

ค่าเฉลี่ย Page view

8.61 vs 7.28

ค่าเฉลี่ย Add-to-cart

11.87% vs 10.40%

Conversion Rate

3.90% vs 1.82%

เว็บไซต์ eMarketer คาดการณ์ว่ามูลค่าการซื้อขายผ่านมือถือจะสูงถึง 3.56 ล้านล้านดอลลาร์ ภายในปี 2564 และครองส่วนแบ่ง 72.9% ของการใช้จ่ายผ่าน E-commerce

เหตุผลที่ผู้บริโภคละทิ้งตะกร้าสินค้า

50% ค่าส่ง/ภาษีสูงหรือมีค่าบริการเพิ่มเติม

28% เว็บไซต์บังคับให้สร้างบัญชีก่อนซื้อ

21% ขั้นตอนการซื้อใช้เวลานาน

18% การจัดส่งสินค้าใช้เวลานาน

17% เว็บไซต์ดูไม่น่าเชื่อถือ

เทรนด์ที่น่าสนใจ

Voice Assistants

จากผลสำรวจในสหรัฐฯ, อังกฤษ, แคนาดา และอินเดีย พบว่าผู้บริโภคมากถึง 40% ใช้งานระบบสั่งการด้วยเสียงในระบบอีคอมเมิร์ซเป็นประจำ

Chatbots

ผู้บริโภคส่วนใหญ่ โดยเฉพาะเจน Y และ Z ที่ต้องการการตอบสนองจากร้านค้าที่รวดเร็ว ซึ่งข้อความอัตโนมัติหรือแชทบอทสามารถตอบโจทย์ได้เป็นอย่างดี

Multichannel Marketing

การตลาดหลายช่องทางช่วยให้ผู้บริโภคได้รับประสบการณ์การโฆษณาที่ต่อเนื่อง การผสานช่องทางออนไลน์และออฟไลน์ให้ตรงกับพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายมีแนวโน้มที่จะสร้างยอดขายได้มากยิ่งขึ้น