Site icon Thumbsup

งาน F8 เปิดตัว Facebook Messenger ที่มาพร้อม Bot อย่างเป็นทางการ

Facebook CEO Mark Zuckerberg introduces a new messenger platform at the F8 summit in San Francisco, California, on March 25, 2015. AFP PHOTO/JOSH EDELSON (Photo credit should read Josh Edelson/AFP/Getty Images)
ภาพจาก Fortune โดย Joshn Edelson

ในงาน F8 งานใหญ่สำหรับนักพัฒนาที่จัดขึ้นทุกปีของ Facebook ที่หลายคนปูเสื่อรอว่าปีนี้จะมีอะไร หนึ่งในไฮไลท์ที่ Mark Zuckerberg เปิดตัวคือ Bots สำหรับ Messenger โดยเรื่องนี้ Alan Soon วิทยากรของเราก็เพิ่งระบุไปว่าเป็นหนึ่งในเทรนด์สำคัญที่กำลังเข้ามาเปลี่ยนแปลงวงการสื่อในงาน #SparkCon2016 ของ thumbsup ที่จัดขึ้นเมื่อศุกร์ที่ผ่านมาไปอยู่หยกๆ ด้วย

Facebook Messenger ที่มาพร้อม Bots นั้น จะทำให้ผู้ใช้สามารถได้ข้อมูลที่ต้องการตั้งแต่การอัพเดตเรื่องสภาพอากาศ, แจ้งเตือนเรื่องการซื้อสินค้า,รับบัตร Boarding Pass, ทำการจองโต๊ะร้านโปรด, สั่งพิมพ์รูป, จนกระทั่งอัพเดตข่าวตามความสนใจของแต่ละบุคคล โดยมีพันธมิตรที่ร่วมจับมือแล้วอย่าง HP, Shopping App Spring และ CNN

แต่สิ่งที่ Facebook พยายามจะบอกก็คือ การพูดคุยกับ Bots ของบริษัทนั้นเป็นธรรมชาติมากๆ เหมือนเราพูดคุยกันเพื่อนเลย ทำให้การดำเนินชีวิตเราสะดวกสบายมากขึ้น

ยกตัวอย่างให้เห็นภาพง่ายขึ้น

ปิดท้าย Facebook ยังเชิญชวนให้นักพัฒนาในบริษัทต่างๆ ทั้งแบรนด์, สื่อในการเชื่อมต่อกับ Facebook Message Platform กลางนี้ โดยชูประเด็นเรื่องการทำให้ชีวิตผู้ใช้สะดวกสบายและง่ายขึ้น  โดยปัจจุบัน Facebook มีฐานผู้ใช้กว่า 900 ล้านรายต่อเดือนแล้ว

ที่มา: F8CNN

=============================================================

เราเรียนรู้อะไรจากข่าวนี้

เรื่องนี้ไม่ใช่ของใหม่ทั้ง Slack หรือ WeChat ต่างก็มีฟีเจอร์นี้มาก่อน แม้กระทั่งผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ หรือ ธนาคารก็ทำ Chat Bot ขึ้นมากันเองแล้ว เพื่อหวังว่าจะช่วยลดงาน Operation ได้บ้าง ปัจจัยแห่งความสำเร็จคือ ความสามารถของ Bot ที่จะตอบสนองผู้คนได้อย่างมีคุณภาพแค่ไหน มี Pattern ในการเรียนรู้อย่างไร เพื่อตอบกลับได้อย่างถูกต้องมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และเป็นธรรมชาติ ที่กล่าวมานี้เป็นเรื่องของเทคโนโลยีล้วนๆ

แต่สุดท้ายแล้วคนจะใช้ไม่ใช้ยังอยู่ที่ว่า มันสามารถกลมกลืนเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในพฤติกรรมของคนได้ด้วยหรือเปล่า ดังนั้นผู้พัฒนาเองยังต้องคิดถึง Use Case จริงที่น่าจะเกิดขึ้น (บางทีทำอะไรที่ advance ไปก็ใช่ว่าจะมีคนใช้) ควรดูว่าบริการของเรา และ Customer Journey จุดไหนของลูกค้าที่ Bot นี้สามารถเข้ามาช่วยให้ผู้ใช้เราสะดวกสบายขึ้นได้จริงๆ และทำการออกแบบ Flow เพื่อรองรับรูปแบบ input ที่มีความหลากหลายตามพฤติกรรมคนที่เปลี่ยนแปลงไป ไม่ใช่แค่ Text แต่รวมถึงเสียงด้วยนั่นเอง