Site icon Thumbsup

ช่วงสงกรานต์นี้ แม่ค้าออนไลน์จะสร้างยอดขายผ่าน Facebook และ Instagram อย่างไรดี ลองฟังเคล็ดลับจากทีม Facebook กัน

เทศกาลสงกรานต์เป็นช่วงเวลาที่ผู้คนใช้จ่ายและท่องเที่ยวมากที่สุดในรอบปี โดยมีข้อมูลระบุว่าคนไทยได้เดินทางท่องเที่ยวเป็นจำนวนทั้งหมด 3.1 ล้านครั้งในช่วงเวลาดังกล่าว และมียอดใช้จ่ายมูลค่า 1.4 หมื่นล้านบาท (ซึ่งสูงขึ้นถึงร้อยละ 20.5 เมื่อเทียบแบบปีต่อปีจากปี 2560) 

ทั้งนี้ ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในการใช้จ่ายภายในประเทศมีอัตราเพิ่มสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ซึ่งข้อมูลจากดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค (Consumer Confidence Index) ระบุว่าความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 81 จากช่วงเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมา ส่วนใหญ่เป็นผลจากการใช้จ่ายของกลุ่มผู้บริโภคที่เป็นชนชั้นกลางและกลุ่มผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อสูง

Facebook IQ เปิดเผยผลการศึกษาล่าสุดที่มีชื่อว่า Mobile Insights in Today’s Connected Songkran” ซึ่งนำเสนอข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้งานโทรศัพท์มือถือช่วงเทศกาลสงกรานต์ยุคปัจจุบันที่ผู้บริโภคสามารถเชื่อมต่อกันได้อย่างสะดวก

คุณชวดี วงศ์พยัต หัวหน้าฝ่ายธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม Facebook ประเทศไทย ได้เปิดเผยว่ากลุ่มผู้หญิงที่มีอายุระหว่าง 25-34 ปี คือกลุ่มผู้ใช้งานหลักที่กล่าวถึงหัวข้อยอดนิยมบน Facebook และ Instagram ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ซึ่งมีจำนวนสูงกว่ากลุ่มผู้ใช้งานผู้ชายในช่วงอายุเดียวกัน

โดยโทรศัพท์มือถือเป็นสิ่งที่ขับเคลื่อนผู้คน (Mobile Moves People)ในประเทศไทย โดยเฉพาะสำหรับกลุ่มแอพพลิเคชั่น ของ Facebook ซึ่งรวมถึง Facebook และ Instagram

ในทุกๆ เดือน คนไทยจำนวน 52 ล้านคนใช้งาน Facebook ผ่านโทรศัพท์มือถือ และร้อยละ 60 ของนักช้อปที่ใช้โทรศัพท์มือถือเป็นหลักเป็นกลุ่มมิลเลนเนียลที่มีอายุระหว่าง 18-34 ปี

ขณะเดียวกัน Instagram มีจำนวนผู้ใช้งานกว่า 1 พันล้านคนต่อเดือนทั่วโลก (โดยร้อยละ 80 ของผู้ใช้ อยู่นอกประเทศสหรัฐฯ) และมีอัตราผู้ใช้งานที่เติบโตขึ้นอย่างมั่นคงในประเทศไทย ด้วยความสนใจที่ค่อนข้างสูงต่อเนื้อหาประเภทความงามและแฟชั่นที่แข็งแกร่ง

เชื่อมต่อกับผู้บริโภคบน Facebook และ Instagram

โอกาสสำหรับธุรกิจและแบรนด์ในการมีส่วนร่วมกับผู้บริโภคของแอพที่อยู่ในเครือของ Facebook ในช่วงตลอดเทศกาลสงกรานต์นั้นมีอยู่มากมาย ไม่ว่าพวกเขาจะอยู่ในขั้นตอนใดของการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าก็ตาม

ในประเทศไทย โทรศัพท์มือถือมีบทบาทที่สำคัญในการค้นหาแบรนด์ของผู้บริโภค โดยร้อยละ 61 ของชาวไทยที่ใช้โทรศัพท์มือถือในการหาข้อมูลกล่าวว่าวิธีดังกล่าวเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการค้นหาร้านค้าในบริเวณใกล้เคียงที่นำเสนอสินค้าและดีลที่ดีที่สุด

ร้อยละ 54 กล่าวว่ามันช่วยให้พวกเขาสามารถตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าได้ดียิ่งขึ้นเมื่ออยู่หน้าร้าน ยิ่งไปกว่านั้น ผลการศึกษาของเรายังระบุว่าร้อย ละ 39 ของผู้บริโภค ค้นพบแบรนด์และผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ จากการรับชมวิดีโอบนโทรศัพท์มือถือ

โดยข้อมูลดังกล่าวได้ถูกอ้างอิงมาจากผลการศึกษาของนีลเส็นในหัวข้อว่า “คุณค่าของวิดีโอ” ที่จัดทำขึ้นในปี พ.ศ. 2560 โดยได้รับการสนับสนุนจาก Facebook ซึ่งได้ทำการสำรวจผู้บริโภคที่มีอายุระหว่าง 18-24 ปี จำนวน 22,000 คนใน 10 ประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย

คนนิยมติดตามแบรนด์มากขึ้น

ร้อยละ 80 ของผู้ใช้ Instagram ได้ติดตามบัญชีผู้ใช้ที่เป็นธุรกิจหรือแบรนด์ ซึ่งแบรนด์สามารถเข้ามามีส่วนร่วมได้ตั้งแต่ช่วงที่คนไทยเริ่มโพสต์เกี่ยวกับเทศกาลสงกรานต์ก่อนที่เทศกาลจะมาถึง

โดยร้อยละ 55 ของการซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์จะเกิดขึ้นในสัปดาห์ก่อนสงกรานต์ (เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเทศกาลทั้งหมด) ในหัวข้อเกี่ยวกับแฟชั่น ความงาม และเครื่องสำอาง เป็นบทสนทนาที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูงในช่วงก่อนเทศกาล เนื่องจากผู้คนกำลังเตรียมตัวซื้อของเพื่อเปลี่ยนแปลงตัวเองให้ดูดีและรู้สึกดีในช่วงการฉลองเทศกาลนั่นเอง

ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์บางประเภทมียอดขายเพิ่มขึ้นทั้งในช่วงก่อนและหลังเทศกาลสงกรานต์ โดยเฉพาะในช่วงหลังเทศกาล “แม้ว่าเทศกาลจะได้จบลงไปแล้ว แบรนด์ยังคงสามารถสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้บริโภคได้อย่างต่อเนื่อง”

ซึ่งปริมาณการซื้อสินค้าในบางประเภทจะเติบโตสูงขึ้นในช่วงหลังเทศกาล เช่น ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ แฟชั่น และสินค้าเกี่ยวกับการท่องเที่ยว ซี่งร้อยละ 39 ของการซื้อสินค้าในช่วงเทศกาลสงกรานต์ทั้งหมดจะเกิดขึ้นในสัปดาห์หลังเทศกาลปีใหม่ไทย

เมื่อผู้คนเดินทางกลับมาถึงบ้าน และหันมาสนใจกับการซื้อของขวัญและสินค้าลดราคาแทน บน Instagram การใช้จ่ายของผู้บริโภคจะกลับมาอีกครั้งหลังจากเทศกาลจบลงทันที ซึ่งเป็นอีกช่วงเวลาที่ดีสำหรับแบรนด์ในการสื่อสารโปรโมชั่นหรืออีเวนต์ที่กำลังจะเกิดขึ้นหลังเทศกาล

ช่วงเวลาที่สำคัญของเทศกาลสงกรานต์ เพื่อการสร้างการเชื่อมต่อและกระตุ้นยอดขาย