Site icon Thumbsup

5 แนวทางสร้างกำไรจากธุรกิจ E-commerce

เป็นที่แน่นอนว่ากำไรเป็นตัวตัดสินชะตาธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาดที่มีการแข่งขันสูงมากในทุกวันนี้ อย่าง ecommerce นั่นจึงเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการจะทำอย่างไรในการสร้างกำไรให้กับบริษัทของตน ปัจจุบันมีปัญหาและอุปสรรคมากมายที่ร้านค้าออนไลน์ต้องเผชิญและเป็นสิ่งที่ยากในการรับมือกับปัญหาเหล่านั้นให้ได้เหมาะสมกับทุกด้าน

จากภาพด้านล่างคือ 5 กลยุทธ์ยอดฮิตที่เกี่ยวกับราคา ไม่ว่าจะเป็น การแข่งขันทางด้านราคา การดึงดูดกลุ่มลูกค้าที่ราคามีอิทธิพลสูง การตั้งราคากับภาพพจน์ของแบรนด์ การเพิ่มราคาอย่างโปร่งใส และการเพิ่มผลตอบแทนจากสินค้าคงคลัง ดูเหมือนว่าหัวข้อเหล่านี้จะเป็นงานที่รับมือลำบากทั้งสิ้น หากไม่มีการวางแผนดีๆ

มาตรฐานของกำไรในแต่ละร้านนั้นไม่เท่ากัน โดยส่วนใหญ่จะอยู่ระหว่าง 20 – 50% มีเพียง 27% ของร้านค้าที่ระบุว่ากลยุทธ์ทางด้านราคานั้นมีประสิทธิภาพ ส่วน 62% กล่าวว่าพวกเขามีบางอย่างที่มีประสิทธิภาพมากกว่าเพียงแค่ด้านราคา และอีก 11% นั้น ไม่มีอะไรที่ใช้ได้ผลเลย ดังนั้นจะทำอย่างไรดีในการสร้างกำไรให้กับบริษัท

5 ทริคต่อไปนี้จะช่วยให้มันเกิดขึ้นได้

1. ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

การตั้งราคาใหม่อาจจะต้องใช้งบประมาณและเวลาเป็นจำนวนมาก ดังนั้น การใช้ทรัพยากรออนไลน์จึงเป็นเรื่องที่พึงกระทำ เพราะนอกจากจะช่วยเพิ่มผลิตผลแล้ว ยังช่วยลดค่าบริหารจัดการอีกด้วย

2. เพิ่มจำนวนการสั่งซื้อด้วยการลดราคา

กุญแจสำคัญของการลดราคาคือการทำให้ลูกค้ารู้สึกถึงความคุ้มค่า ดังนั้นราคาที่ตั้งจึงมีความสำคัญมากกว่าราคาปกติของตัวสินค้า ผู้ประกอบการควรใช้หลักจิตวิทยาในการตั้งราคาเพื่อสร้างกำไร ในเบื้องต้นอาจจะดูขัดกับหลักการสร้างกำไรของธุรกิจ แต่การลดราคาสามารถเพิ่มกำไรได้หากทำให้การสั่งซื้อขั้นต่ำนั้น มีสูงกว่ายอดขายเฉลี่ย โดย 73% ของผู้ซื้อได้รับอิทธิพลจากการลดราคา การส่งสินค้าฟรีก็เป็นอีกกลยุทธ์หนึ่งที่ใช้ได้ผลเพราะลูกค้าไม่ต้องการจ่ายเพิ่ม หรือแม้กระทั่งซื้อชิ้นอีกเพิ่มเติมอีกเล็กน้อยเพื่อให้ได้ส่งฟรี

3. จัดการสินค้าในคลัง

เพื่อที่จะคงยอดขายไว้ ผู้ประกอบการควรจัดการสินค้าในคลังให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะหากสินค้าขาดสต็อก มีความเป็นไปได้สูงถึง 77% ของลูกค้าที่จะเปลี่ยนไปซื้อกับคู่แข่งแทน ดังนั้นเราจำเป็นต้องรักษา 77% นี้ให้อยู่กับเรา

4. การบริการลูกค้า

การบริการลูกค้าที่ดีมีความสำคัญต่อความน่าเชื่อถือของร้านค้า หลายๆ บริษัทมักลืมให้ความสำคัญกับส่วนนี้ในกรณีที่ลูกค้าเกิดความไม่พอใจขึ้นมา พวกเขาต้องการความรับผิดชอบจากทางร้านอย่างทันที
Call Centers และ Email Support เป็นแนวทางในการรับมือที่ดี และมีแนวโน้มว่าทำให้ลูกค้ากลับมาซื้ออีกครั้งกับร้านเดิม บริษัทอย่าง Zappos เสนอการบริการลูกค้าที่ดีและมีประสิทธิภาพ แม้ว่าจะตั้งราคาสูงกว่าร้านอื่น 66% ของผู้ซื้อ ต้องการซื้อเพิ่้มอีกหากได้รับการบริการที่ดีจากทางร้าน เนื่องจากพวกเขารู้ดีว่าไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น ทางร้านก็จะรับผิดชอบได้

5. การตั้งราคาแบบ Dynamic

คือการตั้งราคาตามกลุ่มลูกค้า กลยุทธ์นี้จะทำให้องค์กรสามารถกำหนดราคาสินค้าตามความต้องการของกลุ่มลูกค้าได้อย่างถูกต้อง และปรับตัวได้ดีกว่าในสถานการณ์การตลาดที่มีความไม่แน่นอน 40% ของผู้ประกอบการมีการแพลนว่าจะใช้ Cloud หรือ SaaS ในการช่วยตั้งราคาแบบ Dynamic นี้ เพราะจะช่วยให้ผู้ประกอบการปฏิบัติต่อลูกค้าได้อย่างทันที ว่าสิ่งไหนเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องเปลี่ยนแปลงราคา ทั้งยักษ์ใหญ่ในวงการอย่าง Amazon และ Wal-Mart ทำการตั้งราคาสินค้าใหม่ทุกๆ 10 นาที จนถึง 50,000 ครั้งต่อเดือน ส่วน 36% แพลนว่าจะใช้ software มาเป็นตัวช่วยกำหนดราคาสินค้า ภายในปีหน้า ซึ่งวิธีเหล่านี้จะช่วยให้บริษัทมีรายรับเพิ่มขึ้น 8% และกำไร 25% เพราะการเพิ่มราคาในขณะที่มีความต้องการของลูกค้าสูง หรือขณะที่สินค้าในสต็อกของคู่แข่งหมด จะสามารถสร้างกำไรกับเราได้

ที่มา : Econsultancy