Site icon Thumbsup

กรุ๊ปเอ็มเผยกลยุทธ์สื่อดิจิตอลที่น่าจับตามองในงานสัมมนา FOCAL 2013

FOCAL2013

กรุ๊ปเอ็ม บริษัทด้านการบริหารจัดการสื่อโฆษณาชั้นนาของประเทศไทย และเอ็มอินเตอร์แอ็คชั่น บริษัทในเครือซึ่งเป็นเอเยนซี่ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดดิจิตัล เผย 4 ทิศทางใหม่ที่น่าจับตามองในปัจจุบัน ณ งานสัมมนา FOCAL 2013 สาหรับปีนี้กรุ๊ปเอ็มนาเสนอการวางแผนการตลาดผ่านสื่อดิจิตอลแบบองค์รวม ผ่านการเลือกซื้อสื่อโฆษณาประเภท Paid Media การผสมผสานสื่อโฆษณาตลอดเส้นทางการตัดสินใจซื้อของลูกค้า การใช้สื่อวิดีโอ และการสร้าง engagement กับลูกค้าผ่านสื่อประเภท owned และ earned media

เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2556 มีการจัดงานสัมมนา FOCAL 2013 โดยจัดขึ้นเพื่อเปิดโอกาสให้แบรนด์สินค้ารวมถึงเอเยนซี่ต่างๆ ในประเทศไทยได้มีโอกาสพูดคุยแลกเปลี่ยนแนวโน้มทิศทางของการตลาดดิจิตอลในอนาคต โดยผสานความรู้ความเชี่ยวชาญของมืออาชีพด้านสื่อออนไลน์เข้ากับความต้องการของผู้บริโภคในยุคใหม่ และนาเสนอสื่อรูปแบบใหม่เพื่อเชื่อมโยงการตลาดในแบบดั้งเดิมและวิวัฒนาการล่าสุดเข้าด้วยกัน ซึ่งเครื่องมือสาคัญทั้ง 4 ที่กรุ๊ปเอ็มนาเสนอในงานสัมมนาครั้งนี้ ถือเป็นคู่มือสื่อดิจิตอลที่จะช่วยให้นักโฆษณาสามารถสร้างมูลค่าให้แบรนด์สินค้าได้อย่างสูงสุด และสามารถใช้กลยุทธ์ด้านสื่อออนไลน์อย่างทรงประสิทธิภาพมากที่สุดอีกด้วย

ศิวัตร เชาวรียวงษ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัทเอ็มอินเตอร์แอ็คชั่น นำเสนอข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับการเติบโตของสื่อโฆษณาดิจิตอลในประเทศไทย ซึ่งจากปี 2554 จนถึง 2555 มีการขยายตัวถึง 48.03% โดยถือเป็น 4% ของสื่อโฆษณาทั้งหมด และมีเม็ดเงินรวมถึง 4.5 พันล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 3 พันล้านบาทในปี 2554 ศิวัตรได้แนะนำนักการตลาดดิจิตอลว่าควรให้ความสาคัญกับ 4 ทิศทางใหม่ในปี 2556 ได้แก่ การเลือกซื้อสื่อโฆษณาประเภท Paid Media การผสมผสานสื่อโฆษณาตลอดเส้นทางการตัดสินใจซื้อของลูกค้า การใช้สื่อวิดีโอ และการสร้าง engagement กับลูกค้าผ่านสื่อประเภท owned และ earned media

นิคลาส สตอลเบิร์ก ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท เอ็ม อินเตอร์แอคชั่น สนับสนุนให้นักการตลาดเปลี่ยนแนวคิดจากการซื้อสื่อจากตำแหน่งมาเป็นซื้อจากพฤติกรรมของผู้บริโภค ผ่านการใช้เทคโนโลยีใหม่อย่าง Demand Side Platforms (DSPs) ซึ่งเพิ่งเปิดตัวในประเทศไทยเมื่อไม่นานมานี้ เทคโนโลยีนี้เปิดโอกาสให้มีการเลือกลงสื่อโดยวิเคราะห์จากพฤติกรรมผู้บริโภคที่เหมาะกับเนื้อหาสื่อมากที่สุด โดยใช้ระบบการ bidding และสามารถเลือกการจ่ายตามจำนวนครั้งการมองเห็นหรือรูปแบบอื่นๆ ที่เหมาะสมกับแคมเปญ ซึ่งเทคโนโลยีนี้จะช่วยลดค่าใช้จ่ายได้สูงสุดถึง 30%

?อีกหนึ่งเครื่องมือที่สาคัญคือการใช้ search marketing แบบตลอดต่อเนื่อง (always-on) ซึ่งการตลาดผ่าน search engine นั้นจะทรงประสิทธิภาพเมื่อวางแผนการใช้คำค้นหาให้สอดคล้องกับการตลาดฝั่ง above the line ดังนั้นการสร้างศัพท์ใหม่ๆ จากสื่อหลักก่อนกระจายเข้าสู่ social media และ search engine จึงสามารถยกระดับแคมเปญให้ประสบผลสาเร็จได้ดียิ่งขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ?เป็ดพ่นไฟ? ซึ่งเป็นศัพท์ใหม่และไม่มีความหมายชี้เฉพาะมาก่อน ได้มีการนำเสนอผ่านสื่อหลักและได้รับความสนใจในโลกออนไลน์อย่างรวดเร็วจนกลายเป็นกระแสดิจิตอล ซึ่งนำไปสู่การทาการตลาดผ่าน search engine และ social media ได้อย่างเห็นผล? ศิวัตรกล่าว

เครื่องมือต่อมาคือการตลาดผ่านวิดีโอออนไลน์ซึ่งได้รับความนิยมอย่างสูงในปัจจุบัน ซึ่งปัจจัยสาคัญที่ผลักดันให้เกิดการใช้การตลาดผ่านวิดีโอออนไลน์ได้แก่ การขยายตัวของอินเตอร์เน็ตบรอดแบรนด์และ 3G การแสวงหาช่องทางเพื่อออกอากาศสื่อที่สร้างสรรค์ขึ้นให้มากที่สุด รวมถึงความนิยมในการสร้างสื่อวิดีโอในปัจจุบันของสื่อและผู้บริโภคเองด้วย การทำการตลาดในรูปแบบวิดีโอผ่านช่องทางออนไลน์นั้นมีหลากหลายรูปแบบ เช่น โฆษณาที่เล่นก่อน กลาง และหลังคลิปวิดีโอที่ผู้ชมเลือกรับชม ( pre-roll mid-roll และ post-roll) รวมถึงการที่ผู้ชมเปลี่ยนช่องการการรับชมจากโทรทัศน์เป็นวิดีโอออนไลน์ โดยไม่จากัดเพียงวิดีโอสั้นๆ แต่ให้ความสนใจกับวิดีโอที่มีความยาว จึงเกิดทางเลือกอีกหนึ่งรูปแบบคือซีรีย์ส webisode (วิดีโอที่แบ่งฉายเป็นตอนๆ ทางเว็บไซต์) หรือ mobisode (วิดีโอที่แบ่งฉายเป็นตอนๆ ทางโทรศัพท์มือถือ) ปัจจุบันนี้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยกว่า 82% รับชมวิดีโอออนไลน์หรือดาวโหลดวิดีโอออนไลน์ และ VRZO รายการออนไลน์ชื่อดังมียอดการรับชมสูงถึง 160 ล้านครั้ง ส่วนเว็บไซต์ที่รวบรวมวิดีโอรายใหญ่ที่สุดรายหนึ่งของประเทศอย่าง Mthai ก็เปิดเผยว่ามียอดการรับชมรวมถึง 1.2 พันล้านครั้ง ส่วนในด้านการตลาดออนไลน์ผ่านคลิปวิดีโอ ลูกค้ากว่า 22% ของกรุ๊ปเอ็มเลือกใช้โฆษณาแบบ pre-roll เพื่อขยายการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้สอดคล้องกับกลยุทธ์การตลาดแบบ multi-screen

เครื่องมือการตลาดออนไลน์ที่ขาดไม่ได้ในปี 2013 คือ social media ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ทรงประสิทธิภาพและคุ้มค่าต่อการลงทุน?การใช้ social media แตกต่างจากการซื้อสื่อแบบดั้งเดิมคือสามารถขยายขอบเขตการสื่อสารได้แบบไม่จากัด ทั้งยังเหมาะกับการสร้าง engagement กับผู้ชมที่มองเห็นสื่อหลากหลายรูปแบบเป็นจำนวนมากจนยากแก่การจดจำ ?เราไม่ควรมองข้ามการตลาดผ่านการสร้างสรรค์เนื้อหาเรื่องราวต่างๆ แต่ก็ไม่ควรจำกัดผลงานอยู่เพียงแค่ภาพถ่าย วิดีโอ หรือเพลง แต่ควรจะผสมผสานการใช้ดารานักแสดงหรือผู้ที่มีชื่อเสียงในด้านต่างๆ กับการตลาดผ่านสื่อ social network ด้วย? ศิวัตรกล่าวทิ้งท้าย