Site icon Thumbsup

เปิด 5 เทรนด์ “ความเป็นส่วนตัว” ที่ทุกองค์กรควรปรับใช้ภายในปี 2567

ในปัจจุบันความเป็นส่วนตัวถือเป็นสิ่งที่องค์กรชั้นนำให้ความสำคัญเป็นลำดับต้นๆ ซึ่งเป็นความท้าทายของแต่ละองค์กรในการปฏิบัติตามข้อกฎหมายด้านการคุ้มครองข้อมูลและความเป็นส่วนตัว ซึ่งส่วนใหญ่ไม่มีแนวทางปฎิบัติที่เฉพาะเจาะจงในด้านความเป็นส่วนตัว ดังนั้นความรับผิดชอบจึงกระทบต่อไปถึงเทคโนโลยีภายใต้ความรับผิดชอบของผู้บริหารองค์กร

การ์ทเนอร์ บริษัทวิจัยและให้คำปรึกษาชั้นนำ เปิด 5 แนวโน้มด้านความเป็นส่วนตัว ที่สนับสนุนหลักปฏิบัติด้านความเป็นส่วนตัวและยังส่งเสริมให้ผู้นำองค์กรเลือกใช้งานได้สะดวก และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ดังนี้

1.ปรับข้อมูลให้เหมาะกับท้องถิ่น (Data Localization)

ในสังคมดิจิทัลที่ไร้พรมแดน การควบคุมข้อมูลดูเหมือนจะขัดกับความรู้สึก อย่างไรก็ตามการควบคุมข้อมูลเป็นข้อกำหนดทั้งโดยตรงและทางอ้อมจากกฎหมายความเป็นส่วนตัวที่เกิดขึ้นมากมายทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน 

ในหลายประเทศมีแนวทางออกแบบและจัดหาระบบบริการคลาวด์ทุกรูปแบบบริการ เนื่องจากต้องจัดการความเสี่ยงของกฎระเบียบที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดที่แตกต่างกัน การวางแผน Data localization จะช่วยให้องค์กรเลือกบริการคลาวด์ได้อย่างเหมาะสม

2.เทคนิคการประมวลผลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพความเป็นส่วนตัว(Privacy-Enhancing Computation Techniques)

การประมวลผลข้อมูลภายในองค์กร เช่น ระบบคลาวด์สาธารณะ และการแชร์ข้อมูลกับหลายๆ ฝ่าย เป็นพื้นฐานสู่ความสำเร็จขององค์กร การประมวลผลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพความเป็นส่วนตัว (หรือ PEC) กล่าวคือสามารถปกป้องข้อมูลในขณะที่ใช้งานอยู่ได้ ส่งผลให้องค์กรสามารถใช้รูปแบบการประมวลผลข้อมูลและวิเคราะห์ได้มากยิ่งกว่าเดิม ไม่ติดปัญหาความเป็นส่วนตัวที่ความคุมความปลอดภัยในขณะที่ไม่ได้ใช้งานข้อมูล

การ์ทเนอร์คาดการณ์ว่าภายในปี พ.ศ. 2568 องค์กรขนาดใหญ่ 60% จะใช้เทคนิคของ Privacy-Enhancing Computation อย่างน้อยหนึ่งเทคนิคเพื่อการวิเคราะห์ หรือใช้ในธุรกิจอัจฉริยะ หรือเพื่อการประมวลผลบนคลาวด์ 

3.การกำกับดูแลด้วยเทคโนโลยี AI (AI Governance)

จากผลสำรวจของการ์ทเนอร์ พบว่า 40% ขององค์กรมีการละเมิดความเป็นส่วนตัวจาก AI ไม่ว่าองค์กรจะประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลผ่านโมดูลที่ใช้ AI ของผู้จัดจำหน่าย หรือจากแพลตฟอร์มแยกที่จัดการโดยทีมวิทยาศาสตร์ข้อมูลภายในองค์กร ความเสี่ยงต่อความเป็นส่วนตัวและการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลในทางที่ผิดนั้นยังคงมีอยู่

ดังนั้น โปรแกรมการกำกับดูแล AI ที่มีความ “อัจฉริยะ” สามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา นอกจากนี้ ข้อมูลที่ป้อนลงในโมเดลการเรียนรู้เหล่านี้ ในปัจจุบันจะมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในอนาคต  กรณีที่ไม่มีโปรแกรมการกำกับดูแล AI ซึ่งจะต้องรื้อปรับระบบทั้งหมด โดยเสียค่าใช้จ่ายขององค์กรมหาศาล

4.ประสบการณ์ความเป็นส่วนตัวแบบรวมศูนย์ UX (Centralized Privacy UX)

ความต้องการของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น รวมถึงสิทธิในเรื่องต่างๆ ความคาดหวังถึงความโปร่งใสที่จะช่วยเพิ่มประสบการณ์ UX ของผู้ใช้งานก็มากขึ้นตาม องค์กรทที่มองการณ์ไกลและเข้าใจถึงข้อดีของการนำ UX และความเป็นส่วนตัวมารวมกัน ไม่ว่าจะเป็นรุปแบบการแจ้งเตือนคุ้กกี้ การจัดการความยินยอม กและจัดการคำขอใช้สิทธิของเจ้าของข้อมูล (SRR)

แนวทางนี้ให้อำนวยความสะดวกแก่ ลูกค้าและพนักงาน ช่วยประหยัดเวลา รวมถึงค่าใช้จ่ายได้อย่างมาก ภายในปี พ.ศ.2566 การ์ทเนอร์คาดว่า 30% ขององค์กรที่ให้บริการโดยตรงกับผู้บริโภคจะเสนอพอร์ทัลความโปร่งใสแบบบริการตนเองเพื่อจัดเตรียมการตั้งค่าและการจัดการความยินยอม

5.จากรีโมทกลายเป็น “ทุกอย่างต้องไฮบริด” (Remote Becomes “Hybrid Everything”)

ด้วยรูปแบบการทำงานที่เน้นการมีส่วนร่วมและการใช้ชีวิตไฮบริด ซึ่งทั้งสองสิ่งนี้เป็นทั้งโอกาสและความต้องการติดตาม ตรวจสอบ และเข้าใจถึงกิจกรรมการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลอื่น ๆ ที่เพิ่มขึ้น โดยความเสี่ยงด้านความเป็นส่วนตัวได้กลายเป็นเรื่องสำคัญ

ความเป็นส่วนตัวเกี่ยวข้องกับการมีปฏิสัมพันธ์แบบไฮบริดทั้งหมด ทั้งประสิทธิผลการทำงานและความพอใจกับสมดุลการใช้ชีวิตแบบ Work-Life Balance เพิ่มขึ้นทั่วทั้งอุตสาหกรรม รวมถึงกฎระเบียบหลากหลาย องค์กรควรใช้แนวทางความเป็นส่วนตัวที่เน้นมนุษย์เป็นศูนย์กลาง และควรใช้ข้อมูลเพื่อนำมาตรวจสอบให้น้อยที่สุดโดยต้องมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน เช่น ใช้ปรับปรุงประสบการณ์ของพนักงาน ลดความเสี่ยงจากภาวะหมดไฟทำงานด้วยการกำหนดความเสี่ยงด้านความเป็นอยู่ที่ดี