Site icon Thumbsup

Group M และ mInteraction เผยเทรนด์การตลาดดิจิทัลในงาน FOCAL 2014

เมื่อวันที่ 24 มีนาคม ณ ห้องแกรนด์ ฮอลล์ โรงแรมพลาซ่า แอทธินี รอยัล เมอริเดียน Group M  และเอเยนซีโฆษณาในเครืออย่าง mInteraction ได้ร่วมกันเข้าจัดงานสัมมนา FOCAL 2014 เพื่อชี้แนวทางการทำการตลาดบนสื่อดิจิทัลให้แก่กลุ่มลูกค้า นักกลยุทธ์ และบุคคลอื่นๆ ในวงการดิจิทัล

โดยสิ่งที่ภายในงานพูดถึงเป็นอย่างมากนั้นคือคำว่า “PHYGITAL” และ “Real-Time Marketing” แต่อย่างไรก็ตามเทรนด์ที่นำเสนออันเป็นคีย์หลักที่นักการตลาดควรรู้เพื่อให้ทันเกม และทันผู้บริโภคนั้นมีอยู่ 4 เทรนด์ ได้แก่ Online Video, Mobile, Phygital และ Real-Time Marketing & Optimization

โดยภายในงานคุณศิวัตร เชาวรียวงษ์ CEO แห่ง mInteraction  ได้เปิดเผยตัวเลขการคาดการณฺ์การเติบโตของตลาดออนไลน์ในประเทศไทยว่าในปี 2014 นี้อาจเติบโต จากปี 2013 มากถึง 38.02% และคาดว่าแบรนด์ และนักการตลาดทั่วไปจะจัดสรรงบประมาณเพื่อการทำการตลาดบนสื่อดิจิทัลมากถึง 4.28% ของการโฆษณาทั้งหมด

สำหรับเทรนด์ Video Online คุณศิวัตรเผยว่า วิดีโอออนไลน์กำลังได้รับความนิยมแพร่หลายมากขึ้น อาจเนื่องมาจากความสามารถในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตที่รวดเร็วขึ้นก็เป็นได้ ที่ทำให้ยอดการชมวิดีโอออนไลน์นั้นได้รับความนิยมมากขึ้นทั้งในแง่ของการจำนวนการเข้าชม และระยะเวลาในการเข้าชม อันที่จริงแล้วสื่อวิดีโอออนไลน์นั้นเป็นที่พูดถึงมาตั้งแต่ปี 2011 แล้ว แต่จะเข้ามามีบทบาทสูสีกับสื่อหลักอื่นๆ อย่างชัดเจนในปี 2014 นี้

เทรนด์การเข้าถึงผ่านสมาร์ทโฟนของผู้บริโภคที่มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตนั้นเริ่มเข้ามามีบทบาทในการเข้าถึงสื่อออนไลน์ไมายิ่งหย่อนไปกว่าคอมพิวเตอร์เลยในปัจจุบัน โดยทั้งสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ตนั้นได้พัฒนาจนกลายเป็นช่องทางหลักในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต เป็นศูนย์กลางแทนคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อื่นๆ แล้วในปัจจุบัน ประกอบกับความนิยมในการใช้งานแอปพลิเคชันต่างๆ ที่เพิ่มขึ้น อย่างเช่น LINE ที่ปัจจุบันมีผู้ใช้งานในประเทศไทยมากถึง 23 ล้านคน และแบรนด์ต่างๆ หันมานิยม

เทรนด์ Phygital หนึ่งในสิ่งที่พูดถึง และเน้นย้ำเป็นอย่างมากภายในงาน คือการผสมผสานระหว่างโลกความเป็นจริง สิ่งที่สัมผัสได้ กับการใช้สื่อดิจิทัล เพราะจากเดิมนั้นแคมเปญส่วนมากมักใช้การทำแอปพลิเคชันบน Facebook หรือการร่วมกิจกรรมผ่านหน้าจอ แต่ในตอนนี้ดูเหมือนการตลาดแบบดังกล่าวจะไม่ได้รับผลการตอบรับที่ดีจากกลุ่มผู้บริโภคอีกต่อไปแล้ว  กรณตัวอย่างเช่น แคมเปญ “Share A Coke” ซึ่งเล่นกับความนิยมการถ่ายภาพและแชร์ต่อบนโลกโซเชียลของคนในปัจจุบัน ทำใหแคมเปญดังกล่าวได้รับการตอบรับและการพูดถึงค่อนข้างมาก

นอกจากนี้คุณศิวัตรยังได้เผยอีกว่า สำหรับการทำงานของดิจิทัล เอเยนซีในปัจจุบันนั้นเริ่มมีการประสานงานระหว่างสื่ออื่นๆ อย่างเช่น ผู้จัดเวนท์ หรือ ครีเอทีฟ เอเยนซีมากขึ้น และการผสานสื่อดิจิทัลกับโกลแห่งความจริงสามารถพึ่งพาเทคโนโลยีได้หลากหลาย อย่างเช่น Face Detection หรือ QR Code

อีกเทรนด์ที่ไม่พูดถึงไม่ได้คือ Real-Time Marketing ที่คุณ Niklas Stalberg ได้พูดถึงการตลาดลักษณะดังกล่าวว่า เป็นการเข้าถึงผู้บรอโภคด้วยข้อความที่ถูกต้อง เวลาที่ถูกต้อง และถูกคน สิ่งที่นักการตลาดเริ่มหันมานิยมทำกันเป็นอย่างมากคือ การทำ Re-Marketing

Re-Marketing คือการส่งโฆษณาไปยังแพลตฟอร์มต่างๆ อย่างเช่น Facebook Ads เพื่อทำให้ผู้บริโภคคนนั้นๆ กลับไปยังเว็บไซต์ของนักการตลาดคนนั้นๆ อีกครั้ง กรณีดังกล่าวจะใช้ได้กับผู้ที่มีความรู้จักแบรนด์และเว็บไซต์ของนักการตลาดคนนั้นระดับหนึ่งเท่านั้น นอกจากผู้ประกอบการธุรกิจ E-Commerce แล้ว ธุรกิจอื่นๆ ก็สามารถใช้งานข้อมูลดังกล่าวเพื่อแสดงผลโฆษณาที่สามารถเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคได้อย่างถูกที่ ถูกเวลา และตรงความสนใจของพวกเขาได้อีกด้วย อย่างเช่น แบรนด์พิซซ่า สามารถเลือกแสดงผลโฆษณาด้วยภาพพิซซ่าหน้าที่ผู้บริโภคนนั้นนิยมสั่ง ซึ่งนักการตลาดจะได้ข้อมูลดังกล่าวมาจากการเก้บข้อมูการสั่งซื้อพิซซ่าออนไลน์นั่นเอง

นอกจากนี้อีกหนึ่งช่องทางที่ทำให้นักการตลาดนิยมใช้เพื่อส่งข้อความต่างๆ ถึงผู้บริโภคในปัจจุบันนั้นคือการเปิด LINE Official Accounts โดยแลกกับการดาวน์โหลดสิต๊กเกอร์ของแบรนด์ไปใช้งานได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ผุ้บริโภคจำเป็นต้องเพิ่มแบรนด์นั้นๆ เป็นเพื่อน ทั้งนี้แบรนด์ต่างๆ จะได้รับโอกาสในการสื่อสารกับผู้บริโภคได้รวกเร็ว และมีความแม่นยำมากขึ้น

นอกจากนี้ภายในงานผู้ร่วมงานยังจะได้ความรู้ในการร่วมงานกับบล็อกเกอร์และการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นเมื่อมีคนมาร้องเรียน หรือวิพากษ์วิจารณ์แบรนด์ จากคุณอภิศิลป์ ตรุงกานนท์, Product Development Manager แห่ง Pantip และ”นังนู๋วา” บล็อกเกอร์แนวไลฟ์สไตล์ และความงาม

โดย คุณอภิศิลป์ ตรุงกานนท์ ได้กล่าวถึงขั้นตอนการแก้ปัญหาง่ายๆ เมื่อมีคนกล่าวถึงแบรนด์ของเราในเชิงลบทั้งผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์ก หรือ เว็บบอร์ดเบื้องต้นว่า สิ่งที่ควรทำเป็นอย่างแรกคือแบรนด์ต้องรีบรับเรื่อง แสดงให้ผู้ร้องเรียนรับรู้ว่าทางแบรนด์รับรู้ข้อความต่างๆ ของพวกเขา จากนั้นเป้นหน้าที่ของนักการตลาดและการภายในที่ต้องสืบหาต้นตอของปัญหา แต่แม้ว่าทางแบรนด์จะไม่ใช่ผู้ผิด ทางแบรนด์จำเป็นต้องขอโทษ แต่ขอโทษไม่ใช่ในลักษณะของการยอมรับข้อหา แต่เป็นการขอโทษที่ทำให้เกิดกรณีการเข้าใจผิดอย่างที่ผ่านมา หลักจานี้หากประเด้นดังกล่าวต้องอาศัยบทบัญญัติทางกฏหมายใดๆ นักการตลาดไม่จำเป็นต้องเผยข้อกฏหมายและการดำเนินการเหล่านั้นผ่านโซเชียลมีเดียเนื่องจากข้อความลักษณะดังกล่าวทำให้ผู้อ่านเกิดความรู้สึกกับแบรนด์ในแง่ลบ

นอกจากนี้ “นังนู๋วา” ยังได้กล่าวถึงการที่แบรนด์ต่างๆ จะร่วมงานกับบล็อกเกอร์ว่า “บล็อกเกอร์ไม่ใช่นักข่าว”  บล็อกเกอร์จะเขียนอะไรต้องอาศัยประสบการณจริง พวกเขาไม่สามารถเขียนจากบทความ หรือข่าวแจกมนงานเพียงอย่างเดียวเหมือนที่นักข่าวทำได้ บล็อกเกอร์ต้องการเวลากับผลิตภัณฑ์หรือบริการมากกว่านักข่าว ในการเชิญบล็อกเกอร์มางานนั้นไม่ควรเป็นงานเดียวกันกับงานแถลงข่าว เนื่องจากพวกเขาต้องการการใช้เวลากับผลิตภัณฑ์มากกว่ากลุ่มนักข่าวเป็นอย่างมาก

ในการสร้างแคมเปญเป็นหน้าที่ของนักการตลาดที่จะเลือกติดต่อกับบล็อกเกอร์ หรือ influencer คนไหน ทั้งนี้เป้นหน้าที่ของนักการตลาดที่จะติดตามบล็อกเกอร์เหล่านั้นเพื่อศึกษาแนวการเขียน ไปจนถึงกลุ่มบุคคลที่ติดตาม แต่หากนักการตลาดไม่สามารหาข้อมูลเหล่านั้นได้ พวกเขาสามารถใช้บริการจากเอเยนซีโฆษณาต่างๆ ได้เช่นกัน

สำหรับหลายๆ แบรนด์ที่ยังมองข้ามการทำการตลาดกับบล็อกเกอร์ ที่จริงแล้วบล็อกเกอร์นั้นเป็นส่วนที่สามารถสร้าง Digital Asset ให้แก่แบรนด์ได้เป็นอย่างมาก และจะส่งผลถึงภาพลักษณ์ของแบรนด์โดยตรง เมื่อกลุ่มผู้บริโภคค้นหาชื่อแบรนด์ หรือสินค้านั้นๆ แล้วเจอชื่อแบรนด์ปรากฏอยู่บนเว็บไซต์ที่หลากหลาย แต่อย่างไรก็ตามการร่วมงานกับบล็อกเกอร์นั้นนักการตลาดจำเป็นต้องให้อิสระกับพวกเขาในการเขียน จะบังคับให้พวกเขาเขียนถึงแต่ข้อดี ไม่มีข้อเสียเลยนั้นเป็นไปไม่ได้