Site icon Thumbsup

คุณมั่นใจนโยบายคุ้มครองผู้บริโภคของอีคอมเมิร์ซไทยแค่ไหน?

คำออกตัว: ผู้เขียนทำงานประจำให้กับ true corporation การระบุถึง WeLoveShopping.com ซึ่งเป็นกิจการภายใน เป็นเพียงการกล่าวถึง มิได้เจตนานำมาโฆษณาแต่อย่างใด

หนึ่งในปัญหาของการซื้อสินค้าออนไลน์ก็คือ “โอนเงินไปแล้ว กลัวไม่ได้ของ” เรียกได้ว่าเป็นปัญหาระดับคลาสสิกของวงการอีคอมเมิร์ซไทย วันนี้เราเลยพาคุณมาอัพเดตรูปแบบการคุ้มครองผู้บริโภคที่เว็บไซต์อีคอมเมิร์ซรายใหญ่ในเมืองไทยแต่ละเจ้าทำกัน เพื่อนำเสนอให้คุณเห็นว่า อีคอมเมิร์ซไทยนั้นแท้จริงแล้วพัฒนาและใส่ใจเรื่องนี้อยู่ตลอดเวลา เราอยากให้ thumbsuper ช่วยๆ กันบอกต่อว่าเดี๋ยวนี้อีคอมเมิร์ซไทยที่มีรูปแบบธุรกิจแบบรับเปิดหน้าร้านออนไลน์ให้ SME อย่าง WeLoveShoppong และ TARAD เขาพัฒนาไปไกลแล้ว ก็น่าจะมั่นใจได้ว่าซื้อไปได้ของชัวร์!

เริ่มจาก WeLoveShopping กันก่อน เจ้านี้มาพร้อมกับระบบปกป้องผู้บริโภคที่ชื่อว่า “WeTrust”

WeTrust เป็นระบบของการรับประกันและให้ความมั่นใจในการจัดส่งสินค้าให้ถึงมือผู้ ซื้อสินค้า เมื่อชำระเงินแล้ว ก็การันตีว่าผู้บริโภคจะได้รับสินค้าแน่นอน หรือมิฉะนั้นจะได้รับเงินคืน โดยจะมีบริการคืนเงิน หากไม่ได้รับสินค้า สำหรับรายการสั่งซื้อที่แจ้งร้องเรียนภายใน 7 วัน นับจากวันที่ชำระค่าสินค้า

นอกจากนี้ทาง WeLoveShopping ก็ยังมีระบบรับชำระเงินผ่านช่องทางการชำระเงินที่หลากหลาย ทั้งช่องทางออนไลน์ตามมาตรฐานความปลอดภัยระดับมาตรฐาน ได้แก่ Verified by Visa (VBV), Master Card SecureCode, Versign และช่องทางอื่นๆ ได้แก่ ระบบชำระเงินผ่าน ATM, Bill payment ผ่านเคาน์เตอร์ธนาคาร. บริการทรูมันนี่เซอร์วิส, จุดชำระเงินทรูมันนี่เอ็กซ์เพรส และ Internet Banking และตรวจสอบสถานะการสั่งซื้อได้ตลอดเวลาด้วย รวมๆ แล้ว ทางบริษัทระบุว่าจะคืนเงินให้กับผู้ซื้อในกรณีที่ผู้ซื้อไม่ได้รับสินค้าจากผู้ขาย โดยผู้ซื้อแจ้งให้ WeLoveShopping? ทราบภายใน 7 วันนับจากวันที่ชำระเงิน

มาทางด้าน TARAD.com กันบ้าง? ทางนี้เขามีนโยบายปกป้องผู้บริโภคที่เรียกว่า TARAD Buyer Protection หรือ “มั่นใจได้ของชัวร์”


ทาง TARAD มีสถานะแบบเดียวกับ WeLoveShopping นั่นก็คือเป็นหน้าร้านออนไลน์ที่เปิดให้ร้านค้าต่างๆ มาเปิดร้านออนไลน์ใน “พรีเมี่ยมมอลล์” ซึ่งเป็นร้านค้าที่ผ่านการคัดเลือกจาก TARAD.com แล้วว่ามีตัวตนแน่นอน โดยทาง TARAD จะจัดเตรียมระบบชำระเงินที่มีความปลอดภัย ไม่ว่าจะเป็นบัตรเครดิต, PayPal, Paysbuy และช่องทางปกติทั่วไป เช่น การโอนเงินผ่านธนาคาร หรือ เคาเตอร์เซอร์วิส ซึ่งทุกช่องทางมีความปลอดภัย ทำให้คุณมั่นใจได้ว่าเมื่อชำระเงินแล้ว เงินจะส่งถึงร้านค้าแน่นอน

เมื่อผู้ซื้อชำระเงินผ่านช่องทางของ TARAD.com ก็จะมีเจ้าหน้าทีดูแลรายการสั่งซื้อของผู้ซื้อทุกๆ รายการ ทำให้ผู้ซื้อไม่ต้องเสี่ยงกับการชำระเงินให้ร้านค้าไปก่อน โดย TARAD.com เป็น “ตัวกลาง” ในการชำระเงิน ทำให้คุณมั่นใจได้ว่าได้ของชัวร์ แต่ถ้าหากว่าสั่งซื้อสินค้าใน พรีเมี่ยมมอลล์แล้วไม่ได้สินค้า TARAD.com ก็ยินดีจ่ายเงินคืนสูงสุด 50,000 บาท ให้ผู้บริโภค ตามเงื่อนไขที่ระบุในนี้

นอกจาก 2 ยักษ์ใหญ่อีคอมเมิร์ซด้านบนนี้ เราก็ลองไปดูที่เว็บไซต์อีคอมเมิร์ซอื่นที่มีรูปแบบธุรกิจแตกต่างกันไป เป็นแบบที่รับของมาขายโดยตรง อย่าง TrendyDay.com กิจการในเครือของ Officemate.com ที่เสนอทางแก้ไขปัญหาให้ลูกค้าในเรื่องการซื้อของแล้วได้ของชัวร์ ด้วยการชำระเงินสดกับพนักงานจัดส่งของ (COD – Cash on Delivery) และชำระด้วยบัตรเครดิตกับพนักงานจัดส่งของ (ระบบ mobile EDC) อนึ่ง Trendyday มีรูปแบบธุรกิจคล้ายๆ แบบ Amazon.com ที่รับซื้อของมาจากแบรนด์ต่างๆ แล้วเอามาขายเอง ดังนั้นก็จะไม่ค่อยมีปัญหาอย่าง TARAD กับ WeLoveShopping แต่เราก็เอามากล่าวถึงไว้ที่นี้เพื่อเป็นข้อมูล

เท่าที่เราดูนโยบายการคุ้มครองผู้บริโภค และให้ความสะดวกกับผู้บริโภคที่สนใจซื้อสินค้าออนไลน์ก็มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้นแล้ว? คุณล่ะมั่นใจนโยบายของผู้ประกอบการไทยหรือยัง? มั่นใจ หรือไม่มั่นใจ บอกเรามาด้านล่างนี้ด้วยการคอมเมนต์นะครับ