Site icon Thumbsup

สร้าง Evergreen Content อย่างไรให้คนอ่านอยากกลับเข้ามาดูซ้ำ

การสร้างเนื้อหาแบบ Everygreen Content หรือ Vanilla Content ต่างก็เป็นในรูปและวัตถุประสงค์ที่คล้ายกันคือ นำเสนอได้ยาวนาน ไม่ว่าเมื่อไหร่ก็สามารถดึงกลับมาแชร์ซ้ำได้เสมอ เพราะเนื้อหามีประโยชน์ในการนำไปใช้งาน เกี่ยวข้องหรือมีประโยชน์กับรูปแบบของคนทำงานในสังคมเดียวกัน

มีหลายบทความจากหลายแหล่งที่พยายามให้นักการตลาด แบรนด์หรือคนทำคอนเทนต์ก็ตาม เลือกทำคอนเทนต์แบบเกาะกระแส หรือกำลังเป็นที่พูดถึงอย่างมากในโลกออนไลน์ เช่น #SAVE…… #review #ของมันต้องมี #รีวิว #ลองยัง เป็นต้น ซึ่งในฐานะนักเขียนทุกคนย่อมรู้ดีอยู่แล้วว่าการทำเอเวอร์กรีนคอนเทนต์ ช่วยสร้างข้อดีให้แก่นักเขียนอย่างมาก เสมือนผลงานชิ้นโบว์แดงที่กล่าวอ้างได้ตลอดเวลา

และด้วยความดีนี้ นักเขียนที่เลือกจะเขียนบทความประเภทเอเวอร์กรีนคอนเทนต์จะต้องเสียเวลาไปอย่างมาก ทั้งการหาข้อมูล การเรียบเรียงที่เหมาะสม รวมถึงการเลือกลำดับเรื่องราวให้เหมาะสมกับผู้อ่านที่หลากหลายและไม่ว่าจะถูกกล่าวถึงครั้งใดก็เป็นที่ประทับใจทุกครั้งและ Google ก็ช่วยให้เนื้อหาของเราเจออย่างสม่ำเสมอ

นอกจากนี้ เรายังวัด KPI ของบทความได้ด้วยการดูจากการกดแชร์ คลิกลิงก์ การติดอันดับในแรงก์กิ้ง หากบทความไหนที่ได้รับการยอมรับทั้งสามด้านนี้ ถือว่าเป็นบทความที่เรียกว่า ‘สุดยอดมาก’ (Zenith Content)

การที่คนเขียนบทความอยากได้รับการกล่าวถึงหรือเป็นที่จดจำในฐานะนักเขียนจากบทความใดบทความหนึ่ง แล้วข้อดีนี้เหมาะกับแบรนด์ในการทำเอเวอร์กรีนคอนเทนต์อย่างไร ที่เรานำมาเขียนนั้น ก็เพราะอยากจะบอกว่า หากคุณอยากเป็นแบรนด์ที่ได้รับการจดจำ คุณก็จำเป็นต้องมีบทความที่ดีสักชิ้น ไม่ใช่แค่บทความทางการตลาด บทความเพื่อกิจกรรมทางสังคม หรือบทความเพื่อสนับสนุนใครสักคน แต่การมีบทความที่ดีนั้น เพื่อให้แบรนด์ของคุณเป็นที่จดจำไปตลอด และเมื่ออยากจะนึกชื่อแบรนด์ที่ดีสักแบรนด์ พวกเขาก็จะเลือกนึกถึงคุณก่อนนั่นเอง

เริ่มต้นอะไรก่อนกับการเป็นเนื้อหาที่สุดยอด

การวัดผลนอกจากที่กล่าวไปข้างต้นคือ การกดแชร์ คลิกลิงก์ การติดอันดับในแรงก์กิ้ง ยังมีการจัดอันดับ KPI ที่น่าสนใจสำหรับเอเวอร์กรีนคอนเทนต์อีกนะคะ ไม่ว่าจะเป็น การอยู่ในเว็บของเรานานแค่ไหน (Dwell time) การกลับมาใช้งานซ้ำ (Bounce rate) อัตราการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่วางไว้ (Goal conversions) เป็นต้น

นอกจาก เอเวอร์กรีนคอนเทนต์แล้ว ยังมีชื่อเรียกอีกมาก และเราก็น่าจะทำความรู้จักไว้บ้าง เผื่อว่านำไปปรับใช้กับบทความที่จะเขียนในอนาคต

  1. Evergreen : คือประเภทของบทความที่คุณจะสามารถนำมาใช้งานได้ตลอดทั้งปี และเอากลับมาใช้งานซ้ำได้ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานแค่ไหนก็ตาม
  2. Nevergreen : เป็นบทความประเภท reactive content หรือบทความที่จะกระตุ้นให้เกิดแรงกระเพื่อมบางอย่าง แต่ก็มีโอกาสที่จะไม่ได้รับความสนใจในระยะยาวเช่นกัน
  3. Severgreen : เป็นหนึ่งในประเภทคอนเทนต์ที่เคยดีมากบนเฟซบุค แต่จะใช้งานเพียงปีละครั้งเท่านั้น
  4. Fairweathergreen : อีกหนึ่งประเภทคอนเทนต์ที่ทำให้คนอยากเข้ามาอ่านซ้ำๆ แต่ไม่ต่อเนื่อง เช่น คอนเทนต์ประเภท แนะนำแห่งปี แนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในปีนั้นๆ

รูปแบบของการทำคอนเทนต์นั้น มีหลากหลาย บางครั้งในฐานะคนทำคอนเทนต์ก็มีภาวะตัน หรือคิดไม่ออก ว่าวันนี้จะเขียนงานอะไรดีบ้าง การที่เราทำความรู้จักประเภทของคอนเทนต์ที่แตกต่างกัน ก็จะทำให้สร้างสรรค์งานที่ดีๆ ออกมาได้

 

 

ที่มา : Buzzsumo