Site icon Thumbsup

คำแนะนำในการจับผิดการเขียนรีวิวสินค้าและผลิตภัณฑ์ปลอม

ปัจจุบันการช้อปปิ้งออนไลน์มีการแข่งขันค่อนข้างสูง ทำให้นักการตลาดรวมถึงเจ้าของกิจการหัวใสพยายามคิดวิธีมากมายในการดึงลูกค้าให้มาซื้อกับร้านตนเองให้มากที่สุด  รวมไปถึงการสร้างลูกเล่นหลอกๆ โดยเฉพาะเขียนรีวิวปลอม อ้างถึงสรรพคุณสินค้าหรือไม่ก็การบริการที่เป็นเสิศจากทางร้าน เพื่อให้ผู้อ่านรีวิวเห็นถึงคุณภาพของสินค้าว่าดีจริง นำไปสู่การซื้อมาใช้ในที่สุด ไม่เพียงแค่ธุรกิจสินค้าเครื่องมือเครื่องใช้เท่านั้น รวมถึงธุรกิจอย่างร้านอาหาร หรือโรงแรมก็เช่นเดียวกัน หรือการเขียนรีวิวที่มีเนื้อหาจู่โจมแบรนด์โดยตรง ก็อาจเกิดขึ้นได้ในโลกที่มีการแข่งขันทางด้านธุรกิจสูงอย่างในทุกวันนี้

ในปี 2012 มีลูกค้าร้านอาหารจำนวนถึง 57% กล่าวว่า การอ่านรีวิวจากทางออนไลน์มีผลในการเลือกเข้ามาชิมอาหารจากร้านนั้นๆ แถมอีก 90% ของผู้ใช้ Yelp กล่าวว่า รีวิวที่ให้ความเห็นในทิศทางที่ดีมีผลต่อการเลือกซื้อสินค้าของพวกเขา แต่ข่าวร้ายสำหรับผู้บริโภคคือ รีวิวเหล่านั้นอาจไม่มีอยู่จริง หรือไม่เป็นความจริงนั่นเอง บริษัทรับวางแผนการท่องเที่ยวอย่าง TripAdvisor ได้ถูกกล่าวหาว่าไม่มีการป้องกันที่ดีในเรื่องรีวิวจากโรงแรม เพราะพบว่ามีบางโรงแรมส่งรีวิวปลอมขึ้นมาบนเว็บไซต์ของ TripAdvisor เพื่อหวังผลทางธุรกิจ หรือไม่ก็มีการจ่ายเงินให้กับบริษัทเพื่อให้นักท่องเที่ยวเข้ามาอ่านรีวิว ส่งผลให้นักท่องเที่ยวรู้สึกโกรธจากการหลอกลวงทางอินเทอร์เน็ต

ดังนั้น นี่เป็นคำแนะนำในการตรวจสอบอย่างคร่าวๆ ว่ารีวิวที่อ่านนั้นเป็นความจริงหรือไม่ เพื่อผลประโยชน์ของตัวผู้บริโภคเอง

1. ผู้รีวิวไม่เคยลงรีวิวอย่างอื่นเลย

ลูกค้าบางคนอาจจะชอบหรือเกลียดสินค้าและบริการจากแบรนด์หนึ่งจนรู้สึกอยากเข้ามารีวิวทางออนไลน์ให้ผู้บริโภคคนอื่นรับทราบ แต่การรีวิวที่ใส่ความรู้สึกทางด้านบวกหรือลบอย่างมากต่อแบรนด์นั้นๆ โดยที่ผู้รีวิวไม่เคยรีวิวแบรนด์อื่นๆ เลย เป็นสิ่งที่น่าสงสัย ดังนั้นการตรวจสอบประวัติการโพสต์รีวิวของ user นั้นก็เป็นทางเลือกที่ดี

2. ผู้รีวิวโพสต์ความคิดเห็นในภาษาหรือลักษณะคำพูดที่ซ้ำๆ กัน

โดยปกติแล้ว ผู้อ่านรีวิวสามารถรู้สึกได้จาก sense ตัวเองว่ารีวิวนั้นจริงหรือไม่ โดยเฉพาะประเภทที่มีการรีวิวซ้ำๆ ในหลายๆ ครั้ง เพราะผู้รับจ้างรีวิวนี้อาจได้รับการจ่ายเงินเป็นจำนวนครั้งที่รีวิว แต่ขาดความน่าเชื่อถือไปหน่อยเพราะขี้เกียจแก้ภาษาหรือคำพูดในการรีวิวแต่ละครั้ง

3. ผู้รีวิวใช้ภาษาจำเพาะที่ดูแปลก

โดยปกติแล้ว ผู้รีวิวมักจะไม่พิมพ์ชื่อสินค้าหรือบริการจากแบรนด์ใดแบรนด์หนึ่งที่มีชื่อยาวๆ ซ้ำๆ กันหลายครั้ง อย่างเช่น “DEFG HydraHelix Smartwatch 2000x Chrome” แต่จะใช้คำย่อเป็น “HydraHelix” แทนในการกล่าวเป็นครั้งที่สอง  รีวิวที่มีการใส่ชื่อสินค้าและบริการที่มีชื่อยาวๆ เหล่านี้ อาจทำขึ้นเพื่อให้ SEO สามารถนำทางมายังสินค้าและบริการของตนได้ดียิ่งขึ้น เห็นได้จากรูปด้านล่างนี้

4. กระตือรืนร้นเกินไปในการรีวิว!

หากพบว่ามีการใช้ภาษาที่ดูกระตือรือร้นหรือแนะนำสินค้าด้วยความพึงพอใจที่มากเกินไป นั่นเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคต้องระวัง

5. เนื้อหารีวิวที่จัดทำขึ้นโดยโรงแรม มักจะเน้นในกิจกรรมที่โรงแรมจัดหาให้

จากการศึกษาในปี 2013 โดย Cornell University พบว่าการจัดทำรีวิวปลอมของโรงแรมขึ้นมานั้น มักจะเน้นย้ำและให้ความสำคัญกับกิจกรรมครอบครัวที่โรงแรมจัดหาให้เป็นอย่างมาก ในขณะที่การรีวิวจริงๆ โดยนักท่องเที่ยวที่มาเข้าพักจริงนั้น มักจะให้ความสำคัญกับเรื่องตัวโรงแรมเสียมากกว่า

6. ตัวกรองเบื้องต้น

ที่มา : Mashable