Site icon Thumbsup

จะใช้ Google, Facebook, LINE ทำ E-commerce ได้อย่างไรบ้าง? [ตอนที่ 1]

editorial note: บทความนี้คือบทความพิเศษ (ที่เราเรียกว่า Guest Post) จาก Pakorn Leesakul (AJ) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และผู้ก่อตั้งบริษัท Finema ซึ่งมีประสบการณ์ด้าน Enterprise Solution กว่า 10 ปี รวมถึงการผ่านงานด้าน Business Development ที่บริษัท Paysbuy และ Omise บทความนี้เขาส่งมาให้ กองบรรณาธิการ thumbsup อัพโหลดขึ้นให้ชาว thumbsup โดยเฉพาะ ทว่าสิ่งที่เขาขียน ไม่สะท้อนแนวคิดของกองบรรณาธิการ thumbsup เป็นเพียงมุมมองส่วนตัวของเขา ว่าแล้วก็อ่านกันได้โดยพลัน

เมื่อพูดถึงดิจิทัลแพลตฟอร์มที่มีอยู่ก็ต้องถือว่า Google, Facebook และ LINE เป็นสิ่งที่คนไทยใช้เยอะที่สุดในปัจจุบัน เอาแบบง่ายๆ ดูตัวเลขกันก่อน

ผมจึงอยากจะเปรียบเทียบฟอร์มกันแบบจะจะ สำหรับใครที่ต้องการใช้มันกับ E-Commerce ขอเชิญไล่เรียงสายตากันได้เลย

การใช้งาน Digital Media เพื่อโฆษณา

SEO – Search Engine Optimizer

Search Engine ของ Google ทำงานโดยการส่ง bot เข้ามาเก็บข้อมูลเว็บไซต์ของเรา และทำการนำไปประมวลผลข้อมูลบนเว็บไซต์ เพื่อจัดอันดับเว็บไซต์ของเรา ตาม keyword ที่มีคนมาค้นหา เราเรียกว่า SEO Ranking (Algorithm ปรับเปลี่ยนอยู่เสมอ) ปัจจุบันสามารถเรียก bot เข้ามาเก็บข้อมูลได้เองไม่ต้องรอ schedule update ได้ผ่าน url นี้ https://www.google.com/webmasters/tools/submit-url?pli=1

Google AdWords

นอกจาก SEO ที่เป็น Organic แล้ว Google ยังมีบริการ Paid media – สำหรับ Search Engine เราเรียกว่า “Google AdWords”
Google AdWords คือการวางแผนซื้อโฆษณาจากคำค้นหา (keywords) ต่างๆ เมื่อเวลามีคนเข้ามาค้นหา

และยังมี Paid Media สำหรับ Display Network (เว็บไซต์ทั่วไปที่ติด พื้นที่โฆษณาของ Google เราเรียกว่า “Google Adsense”
(เว็บไซต์ทั่วไปที่มี traffic เยอะๆ ก็สามารถหารายได้จาก adsense ได้เช่นกัน) เหมาะสำหรับการใช้ทำ Remarketing (โฆษณาตามหลอกหลอน)

โดยการทำ remarking บน Google นั้นเราจะต้องใช้เครื่องมือวัด traffic บนเว็บไซต์ของ Google ที่ชื่อว่า “Google Analytics” ใช้งานร่วมกันกับ Google Adwords

Kaidee เป็นหนึ่งในเว็บไซต์ที่ทำรายได้จาก Google Adsense ได้สูงมากๆ

Google ยังมีเครื่องมืออีกมากมายที่อาจจะใช้ช่วยเราทำโฆษณาหรือวัดผลอื่น เช่นๆ
https://trends.google.co.th/trends/ < เครื่องมือสำหรับจับเทรนด์เพื่อทำ realtime content หรือ เกาะกระแส
https://www.google.com/alerts < เครื่องมือสำหรับ monitor content ใหม่ๆ หรือ monitor คู่แข่ง (google จะจับจาก content ที่ bot อ่านได้)

มาต่อกันด้วย Facebook Advertising

Facebook เป็น Social media ที่มีจำนวนผู้ใช้งานสูงที่สุดในประเทศไทย คนไทยที่เล่นอินเทอร์เน็ตร้อยละ 90 ใช้ Facebook
ดังนั้นการใช้งาน Facebook เป็น Media หลักในการทำโฆษณานั้นหมายถึง การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายขนาดใหญ่

การทำโฆษณาบน Facebook ก็สามารถทำได้ทั้งแบบ Organic และ Paid Media เช่นกัน

 

การทำโฆษณาบน Facebook ก็สามารถทำ remarketing ได้เช่นกัน ตามบทความนี้ http://thumbsup.in.th/2014/06/remarketing-facebook-custom-audience/ โดยเครื่องมือของ Facebook ที่ใช้ในการทำ Ads Optimization ก็คือ “Facebook Pixel” สามารถดูข้อมูลได้จาก https://www.facebook.com/business/a/facebook-pixel

วิธีการเลือกใช้เครื่องมือแต่ละชนิด และวิธีการวัดผล

เทคนิคและวิธีการทำโฆษณาแต่ละชนิดและแต่ละแบบนั้นเป็นเทคนิคและทักษะส่วนบุคคล ไม่มีวิธีใดถูกที่สุด หรือ ผิดที่สุด บางคนอาจทำโฆษณาบน Facebook อย่างเดียวก็เพียงพอแล้ว บางคนบอกต้องใช้ทั้งสองอย่าง บางคนบอก Google อย่างเดียวก็เพียงพอ

วิธีหนึ่งอาจใช้ได้มีประสิทธิภาพกับสินค้าประเภทหนึ่ง กับกลุ่มลูกค้า ณ ช่วงเวลาหนึ่ง บน Media อย่างนึง แต่บางครั้งแค่เปลี่ยนตัวแปรเดียว
เป็นช่วงเวลาการโฆษณาที่ต่างกัน อาจทำให้ผลลัพธ์เปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือ

แต่หลักการสำคัญที่ผมใช้การทำโฆษณาหรือการเลือกใช้เครื่องมือนั้นมีอยู่ 5 ข้อด้วยกันครับ

– สินค้าและบริการเราเป็นอะไร? และควรจะ Present สินค้าอย่างไร?
– ลูกค้าเราคือใครและอยู่ที่ไหน?
– Message ที่จะส่งถึงลูกค้าเหล่านั้นคืออะไร? ช่วงเวลาไหน? ความถี่เท่าไหร่?
– Acquisition Cost สำหรับลูกค้า 1 รายคือเท่าไร? การวัดผลควรทำอย่างเป็นขั้นตอนและละเอียดถี่ถ้วน
– ทำโฆษณาให้มากพอที่จะคำนวณ Acquisition Cost ที่เหมาะที่สุดได้สำหรับธุรกิจแต่ละประเภทและการโฆษณาแต่ละช่องทาง

ตัวอย่างการวัดผลการทำ Facebook Advertising ในแบบของผม ใช้วิธีการวัด Cost per Follow ใน Line@ (จะพูดถึง Line@ ในหัวข้อถัดไป)

การใช้งาน Digital Media เพื่อการติดต่อสื่อสารกับลูกค้า

LINE Official Account and Line@

LINE Official Account เป็นช่องทางที่แบรนด์ใช้ติดต่อสารกลับกลุ่มเป้าหมาย Official Account ถือเป็น Premium Package และราคาสูงมาก
โดยไม่จำกัด Followers

ส่วน LINE@ จัดเป็นช่องทางดูแลลูกค้าที่ได้รับความนิยมสูงสุดในปัจจุบัน เพราะว่าLINE@ มีคุณสมบัติเหมือน Official Account แต่ราคาเข้าถึงได้เหมาะสำหรับธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง แต่จะถูกจำกัดด้วยจำนวน Followers ได้ไม่เกิน 300,000 คน

และมีแพคเกจการส่งข้อความแบบ Broadcast ไปยังลูกค้าทั้งหมดสูงสุดเป็นแบบ Unlimit ในแพคเกจ PRO+ ตามรูป (ซึ่ง Facebook Messenger ยังไม่มีคุณสมบัตินี้)

แต่ความต่างที่ชัดเจนของ LINE Official Account และ LINE@ ในปัจจุบันคือ Chatbot API ซึ่ง LINE เรียกบริการนี้ Business Connect
ซึ่งเปิดให้ใช้งานได้เฉพาะ Official Account เท่านั้น สำหรับ LINE@ ยังไม่มีกำหนด อ่าน Feature เพิ่มเติมได้ที่ลิงก์นี้นะครับ

Facebook Messenger Platform 2.0

ภายใน Facebook Developer Conference หรือ F8 2017 Facebook ได้เปิดตัว Messenger Platform 2.0 และ ซึ่งประกอบไปด้วย Feature ที่สนับสนุน chatbot อยู่มากมายไม่ว่าจะเป็น Smart Reply และ M Suggestion เป็นสัญญาณว่า Chatbots กำลังจะฉลาดขึ้นและฉลาดขึ้นอีก จนสามารถทำหน้าที่แทนคนได้ ตั้งแต่แนะนำสินค้า, ตอบข้อสงสัย (Q&A) ไปจนถึงปิดการขาย

ซึ่งจัดว่าเป็นเครื่องมือที่น่าสนใจว่าสำหรับคนทำ E-commerce เนื่องจากนับเป็นก้าวสำคัญสู่การก้าวเป็น Social Commerce (non-UI E-commerce) อย่างเต็มตัว

ตัวอย่าง Chatbot ของคนไทยที่ทำขึ้นโดยใช้ engine เป็น http://chatfuel.com/

ปัจจุบัน Facebook Advertising เองก็สามารถยิงโฆษณาเข้าไปใน inbox ของคนที่เคย Engage กับเราได้แล้วเช่นกัน แต่วัตถุประสงค์ของน่าจะตรงกับการทำ Remaketing มากกว่า (ไม่เหมือนกับการ Broadcast ของ LINE)

ดังนั้นการพิจารณาทำ Chat bot มาใช้งานบน Facebook Messenger และใช้ช่องทางนี้เป็นช่องทางหลักในการติดต่อสื่อสารกับลูกค้าก็นับเป็นวิธีที่น่าสนใจไม่น้อย เช่นกัน

ขอจบตอนที่ 1 ไว้ตรงนี้ก่อนนะครับ เดี๋ยวกลับมาว่ากันใหม่สัปดาห์หน้า