Site icon Thumbsup

แข่งขันเพื่อสร้างนวัตกรรมกับ 10 เทรนด์ที่ IDC คาดการณ์ในปี 2019

 

มาทุกปีสำหรับผลสำรวจเทรนด์การใช้งานเทคโนโลยีและนวัตกรรมของภาคธุรกิจ ผ่านบริษัทวิจัยชั้นนำระดับโลก สำหรับผลวิจัยของทาง IDC Research ครั้งนี้ จะเป็นการคาดการณ์เทคโนโลยีล่วงหน้าไปอีก 5 ปี นับจากปี 2019-2022 คาดว่าจะช่วยสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นมากกว่า 61% และหลายองค์กรจะปรับตัวเข้าสู่โลกดิจิทัล

ทั้งนี้ ภาคเอกชนจะไม่ใช่แค่การลงทุนเทคโนโลยี แต่จะมองข้ามไปถึงการนำเทคโนโลยีมาเป็นส่วนสำคัญในการเดินหน้าธุรกิจ ทำให้ภาพของการลงทุนจะไม่ได้มองแค่ลงทุนไปแล้วจะได้อะไร แต่จะลงทุนเพื่อให้ธุรกิจเหนือกว่าตลาด และนั่นหมายถึงการเดินหน้าธุรกิจด้วย IOT, Analytics และ AI มาใช้งานอย่างเต็มศักยภาพ

อย่างไรก็ตาม การลงทุนครั้งนี้จะเป็นเฉพาะในกลุ่มการลงทุนของภาคเอกชนที่มีการเดินหน้าธุรกิจด้วยเทคโนโลยีบ้างแล้ว และวิเคราะห์จากแผนงานในอนาคตที่ธุรกิจจะทำต่อเนื่อง

ดิจิทัลจะกลายเป็นแกนหลักของธุรกิจมากกว่าแค่โครงสร้างพื้นฐาน

คาดการณ์ 1 : ในปี 2022 เกินกว่า 61% จะเป็นดิจิทัลหมดแล้ว เศรษฐกิจดิจิทัล มาเป็นตัวขับเคลื่อนภาพรวม องค์กรจะหนุนให้คนใช้ดิจิทัลสูงขึ้นและผลักดันให้ใช้งานในองค์กรและมีการเพิ่มความสามารถด้านไอทีมากขึ้น ฝั่งไอทียังต้องเฟ้นหาความรู้และทำต่อเนื่อง องค์กรที่เป้นผู้นำด้านไอทีจะวาง DX เป็นแกนหลักของธุรกิจ

(#1: Digitalized Economy. By 2022, over 61% of Thailand GDP will be digitalized, with growth in every industry driven by digitally enhanced offerings, operations, and relationships, driving US$ 72 billion in IT-related spending from 2019 through 2022.)

คาดการณ์ 2 : 3rd platform จะเข้ามาเป็นเทคโนโลยีหลักในการทำงาน ส่งผลให้การเติบโตของพับลิคคลาวด์โต 20% จะยิ่งช่วยเร่งให้การลงทุนในเทคโนโลยีเพิ่มขึ้น หรือแม้ฮาร์ดแวร์เก่าจะดึงความสามารถในการทำงานลงก็ตาม

ปัญหาหลักยังเป็นเรื่องของ legacy system ว่าจะเป็นเหตุผลหลักที่คนไม่ลงทุนแต่ก็ต้องลงทุนเทคโนโลยีใหม่ๆ เพราะการแข่งขันดิจิทัลจะสู้ไม่ไหว 

แต่ก็มีหลายองค์กรเอกชนที่พยายามสร้างหน่วยงานพิเศษขึ้นมาเพื่อปั้นคนไอที เช่น scb abacus ที่เป็นทีมแยกออกจากธนาคาร มาปั้นเรื่องเทคโนโลยีและฟินเทคเต็มที่ หรือ tesco lotus ที่พัฒนาตัวรับส่งสัญญาณที่สาขาเพื่อส่งโปรโมชั่นให้ลูกค้าผ่านมือถือ ที่อยู่ในโลเคชั่นที่ใกล้กับสาขา จะช่วยสร้างประสบการณ์ที่ดีของแบรนด์ หรืออย่าง HONDA ที่มีการพัฒนาโมบายแอพที่เชื่อมต่อกับรถยนต์ จัดการซ่อมแซมรถยนต์

(#2: Digital-native IT. By 2022, 60% of Thailand’s IT spending will be on 3rd Platform technologies, as over 30% of all enterprises build "digital-native" IT environments to thrive in the digital economy.)

คาดการณ์ 3 : ข้อดีของคลาวด์ทำให้องค์กรปรับมาใช้งานกันมากขึ้น เพราะยืดหยุ่นกว่า ในขณะที่หลายหน่วยงานมองเรื่อง EDGE computing มากขึ้น เพราะมีความรวดเร็วในการทำงานได้ดีกว่า Latency ก็ต่ำ

นอกจากนี้ 5g ในไทยก็เป็นปัจจัยที่จะเร่งให้ EDGE computing มีการเติบโตที่ดีขึ้น เพราะหลายธุรกิจต้องการจะเชื่อมต่อผ่านความเร็วสูงมากขึ้นและใช้งาน volume data ที่มาก ดังนั้นการรับส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูง และ latency ต่ำลง จำเป็นสำหรับสายธุรกิจที่เดินหน้าด้วยเทคโนโลยีมาโดยตลอดและการทำงานของระบบต่างๆ ควรทำงานได้แบบเรียลไทม์มากขึ้น

(#3: Expand to the Edge. By 2022, over 20% of Thailand’s organizations' cloud deployments will include edge computing, and 25% of endpoint devices and systems will execute AI algorithms.)

คาดการณ์ 4 : 70% ของแอพพลิเคชั่นใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นในไทย จะมีองค์ประกอบหลากหลายมากขึ้น

สมัยก่อน Dev จะพัฒนาทีละขั้นตอน ใช้เวลาการทำงานยาวนานเฉลี่ยอย่างน้อย 1-2 ปี แต่การมีบริการไมโครเซอร์วิสจะทำให้การพัฒนาแต่ละแอพพลิเคชั่นจะแยกส่วนกันได้ ทำให้ time to market ของแอพเดินหน้าเร็วขึ้น

กลุ่มธุรกิจ FMCG และแพลตฟอร์ม จะมีดีมานด์ของลูกค้าในการใช้งานผ่านแอพมากขึ้น ทำให้ต้องพัฒนาแอพใหม่ๆ ให้ใช้งานได้เร็วขึ้น ซึ่งบริการใดที่เกี่ยวข้องกับคนจำนวนมาก จำเป็นต้องมีเครื่องมือในการช่วยพัฒนาแอพจำนวนมากๆ ให้ได้ประสิทธิภาพที่เร็วขึ้น หรือบางองค์กรอาจะต้องทำ Hyperagile เพื่อเป็นตัวช่วยในการรวมแอพหลายๆ อันและสื่อสารกับระบบให้เร็วขึ้น ลดเวลาการโหลดข้อมูลของระบบ ช่วยให้แอพที่ทำออกมาใช้งานมีประสิทธิภาพขึ้น

(#4: AppDev Revolution. By 2022, 70% of Thailand’s new apps will feature microservices architectures that improve the ability to design, debug, update and leverage third-party code; 25% of all production apps will be cloud-native.)

คาดการณ์ 5 : DEV ต้องมีความสามารถมากขึ้นกว่าเดิม ไม่ใช่เขียนตาม Coding แบบเดิม และตำแหน่งงานอื่นๆ ก็ต้องการคนที่มีความสามารถมากขึ้น ไม่ได้มีหน้าที่เดียวอีกต่อไป เช่น Dev นอกจากเรียนระบบต้องเขียนคอนเทนต์ได้ ต้องสื่อสารกับลูกค้าได้ หรือคอนเทนต์ต้องทำมาร์เก็ตติ้งได้ ขายของแฝงกับบริการได้

นอกจากนี้ การพัฒนาระบบใดๆ จะต้องมองเรื่องเทคโนโลยีเข้ามาตอบโจทย์ด้านใด รูปแบบการใช้งานจะต้องง่ายและสะดวกขึ้น ทำให้เกิดโปรแกรมส่วนกลางสนับสนุนนักพัฒนาหน้าใหม่มากขึ้น และจะช่วยให้อุปกรณ์ทั้ง IOT/AR/VR ใช้งานง่ายขึ้น มีบุคลากรที่มีความสามารถในองค์กรมากขึ้น โดยไม่ต้องเป็นนักพัฒนาระบบโดยตรงก็สามารถออกแบบเครื่องมือดิจิทัลได้ดีขึ้น ความตั้งใจในการพัฒนา access องค์กรจะมีมากขึ้น

(#5: New Developer Class. By 2024, a new class of professional developers producing code without custom scripting, will expand the developer population by 20% in Thailand- accelerating digital transformation.)

 

เดินหน้าธุรกิจด้วยเทคโนโลยีไม่ใช่แค่คำพูด

คาดการณ์ 6 : Digital Innovation Explosion พาร์ทเนอร์จะร่วมมือกับส่วนต่างๆในการพัฒนาอินโนเวชั่นมากขึ้น ผ่านการนำเสนอเครื่องมือหรือแพลตฟอร์มใหม่ๆ ที่เป็นตัวกลางช่วยในการพัฒนาและสร้างสรรค์แกนเครื่องมือใหม่ ให้ใช้งานได้สะดวกขึ้น

(#6: Digital Innovation Explosion. From 2018 to 2023 – with new tools/platforms, more developers, agile methods and lots of code reuse – 4.0 million new logical apps will be created in Thailand)

 

คาดการณ์ 7 : ความเชี่ยวชาญเรื่องเทคโนโลยีจะเกิดขึ้นในปี 2565 นั่นคือความเร็วในการใช้งานพับลิคคลาวด์ จะต้องใช้ระบบประมวลผลสูงมาก และแน่นอนว่าธุรกิจจะลงทุนเรื่องนี้กันจริงจังมากขึ้น ร่วมทั้งมีการพัฒนาเครื่องมือเพื่ออำนวยความสะดวกบุคลากรในองค์กรมากขึ้น#7: Growth Through Specialization. By 2022, 15% of public cloud computing will be based on non-x86 processors (including quantum) in Thailand; by 2022, organizations will spend more on vertical SaaS apps than horizontal apps.

 

คาดการณ์ 8 : AI จะไม่ใช่แค่หุ่นยนต์ที่ทำงานซ้ำๆ แต่จะเป็นหนึ่งใน ส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ที่มีไว้ในการกระทำกับระบบและถูกตั้งค่าเป็นกระบวนการอัตโนมัติ ที่ธุรกิจจะนำมาใช้พัฒนาเป็นเครื่องมือสื่อสารกับลูกค้าอย่างจริงจัง

#8: AI is the New UI. By 2024, AI-enabled user interfaces and process automation will replace one-third of today's screen-based apps in Thailand. By 2022, 20% of enterprises will use conversational speech tech for customer engagement.

 

คาดการณ์ 9 : ขอบเขตการขยายความเร็วของเซิร์ฟเวอร์จะเป็นที่ต้องการมากขึ้น โดย Expanding/scaling Trust ของธุรกิจจะเข้าถึงข้อมูลของลูกค้าสะดวกขึ้น และควบคุมข้อมูลไอทีง่ายขึ้นมีการป้องกันมากขึ้น ร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ และร่วมมือกับ CISCO ในการควบคุมข้อมูลเยอะขึ้น รวมทั้งมีตัวกลางในการยืนยัน Blockchain มากขึ้น
#9: Expanding/Scaling Trust. By 2023, 25% of servers will encrypt data at rest and in motion in Thailand; over 20% of security alerts will be handled by AI-powered automation; and 3.5 million people will have blockchain-based digital identities.

 

คาดการณ์ 10 :  Consolidation vs Multicloud ใช้กลยุทธ์มัลติคลาวด์มากขึ้น 54% ขององค์กรไทยใช้ไฮบริดคลาวด์มากขึ้น เมื่อเทียบกับปี 2014 ผู้ให้บริการคลาวด์ไม่ว่าจะเป็นแพลตฟอร์มแบบใดจะเปลี่ยนไปเป็นไฮบริดและมัลติคลาวด์มากขึ้นช่วยให้ออกแบบแอพได้ดีข้ึนและนักออกแบบไปทำงานร่วมกับหน่วยงานอื่นๆมากขึ้น

#10: Consolidation vs Multicloud. By 2022, the top four cloud "mega platforms" will host 80% of IaaS/PaaS deployments in Thailand, but by 2023 70% of Thailand 100 (T100) organizations will mitigate lock-in through multicloud/hybrid technologies and tools.

ผลสรุปจากทั้ง 10 เทรนด์

นอกจากนี้ การเติบโตของสมาร์ทโฟนแบรนด์จีนมีทิศทางที่ดีขึ้น ยิ่งการลงทุนด้านนวัตกรรมและร่วมมือกับธุรกิจใหม่ๆ ทำให้ผู้บริโภคไม่ยึดติดว่าสมาร์ทโฟนจะมีสัญชาติจากที่ใด เห็นได้จาก ช่วงไตรมาส 4 ปี 2018 ที่ผ่านมา แย่งส่วนแบ่งการตลาดจากเจ้าใหญ่ขึ้นมาเป็นอันดับที่ 1 ได้นั้น เพราะลูกค้าที่ต้องการเครื่องคุณภาพดี ราคาไม่สูงเริ่มมีมากขึ้น และฟีเจอร์ต่างๆ ในเครื่องก็ดีไม่แพ้แบรนด์ดัง

แต่ภาพรวมทั้งปี ซัมซุงและหัวเว่ย ยังมีส่วนแบ่งที่ดีกว่าเพราะมีสินค้าในทุกระดับราคา ซึ่งการที่ทุกแบรนด์จับตลาดพรีเมียมกันมากขึ้นอาจจะเป็นช่วงเวลาหนึ่ง หากกำลังซื้อของลูกค้าไปไม่ถึงอาจมีการปรับลด เพราะแต่ละค่ายก็ยังไม่ได้มีเทคโนโลยีที่ว้าวเหมาะแก่การลงทุน

เรื่องของ 5G เอง ในภาคเอกชนมีความพร้อมมาก ปัญหาคือหน่วยงานที่กำกับดูแลไม่ได้มีความเข้าใจทันต่อสถานการณ์ ดังนั้น ถามว่าเร่งประมูลตอนนี้ดีหรือไม่ ส่วนตัวนักวิจัยของ IDC มองว่าก็ยังไม่เร่งด่วนขนาดนั้น เพราะเทคโนโลยีก็ยังไม่พร้อมและยังไม่รู้ว่าควรใช้งานบนคลื่นความถี่ใดถึงจะเหมาะสมกับอุปกรณ์ต่างๆ

สิ่งที่หน่วยงานภาครัฐควรทำคือร่วมกันศึกษาตลาดและเปิดคลื่นให้แต่ละอุตสาหกรรม อาจจะเป็น Pilot Project ร่วมกันและนำไปปรับใช้กับธุรกิจก่อน เพื่อให้ทราบข้อดีข้อเสีย ธุรกิจเองจะได้ทราบว่าสิ่งไหนควรเดินหน้าลงทุนต่อหรือควรหยุด ส่วนรัฐก็จะได้ทราบว่าสิ่งไหนควรสนับสนุนหรือป้องกันล่วงหน้า มากกว่าคิดแค่เรื่องเงินลงประมูลเท่าไหร่ถึงจะเรียกว่าคุ้มค่ากับคลื่นที่จัดสรร

ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีแต่ละองค์กรเองต่างก็ต้องดูความพร้อมของตนเองก่อน ทีมบริหารก็ควรที่จะประเมิณความสามารถในการลงทุนก่อนว่าคุ้มค่าหรือไม่ จะมองเรื่องเม็ดเงินมากเกินไปไม่ได้ แต่ต้องดูว่าลงทุนแล้วสร้างศักยภาพหรือโอกาสในวงกว้างอย่างไร

ตัวแปรที่สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลของภาพรวมประเทศ ไม่ใช่แค่โครงสร้างพื้นฐานหรือความเร็ว เพราะสิ่งเหล่านี้เอกชนเดินหน้าไปไกลมากแล้ว แต่สิ่งที่ควรทำเข้าไปรับรู้และออกกฏหมายหรือเงื่อนไขที่รัดกุมป้องกันการผูกขาดมากกว่า

เช่น การเปิดให้อาลีบาบาเข้ามาลงทุนโดยช่วยลดภาษีนั้น จะการเป็นโอกาสผูกขาดตลาดอีคอมเมิร์ซจากจีนหรือไม่ แล้วทำไม Google หรือ Facebook ไม่เข้ามาตั้งดาต้าเซ็นเตอร์ในไทย แต่ไปอยู่สิงคโปร์หรือมาเลเซียดีกว่า สิ่งเหล่านี้ควรมองให้รอบด้านและเอาข้อกฏหมายเขามาศึกษาและปรับให้เหมาะสมกับภาพรวมของประเทศ