Site icon Thumbsup

คุณกำลังเป็นลูกน้องที่ไม่น่ารักของเจ้านายอยู่หรือเปล่า

การเข้าไปทำหน้าที่บริหารหรือเป็นหัวหน้าใครไม่ใช่เรื่องง่ายเลยใช่ไหมคะ เพราะเวลาเราเป็นหัวหน้ามือใหม่ก็ต้องเจอปัญหาลูกน้องไม่เชื่อฟังหรือไม่เคารพระบบการทำงานแบบเดียวกับที่หัวหน้าใหม่ตั้งใจ

เช่นเดียวกันในมุมของลูกน้องแล้ว พวกเขาก็อยู่ในมุมว่าคุณเป็นหัวหน้าที่ดีพอหรือไม่ สามารถเข้าใจและช่วยแก้ปัญหาให้ลูกน้องได้ดีจนได้รับการยอมรับของกลุ่มลูกน้องหรือเปล่า

ทั้งสองกรณีนี้เป็นเรื่องที่เหมือนไก่กับไข่เลยนะคะ เจ้านายดีไหม ลูกน้องดีไหม ต่างก็เป็นเรื่องที่แล้วแต่มุมมองแล้วเรากำลังมองในมุมมองของใครอยู่ แต่วันนี้เราจะมาเล่าในแง่ของเจ้านายว่าพวกเขามองปัญหาลูกน้องไม่เชื่อฟังอย่างไรบ้าง เผื่อว่าลูกน้องที่อ่านบทความนี้จะได้รับรู้แง่มุมที่หัวหน้ากำลังมองว่าพฤติกรรมหรือสิ่งที่คุณกำลังเป็นอยู่นั้นคือปัญหาหรือเปล่า

หากคุณเป็นเจ้านายหรือผู้บริหารแล้วลูกน้องของคุณมีพฤติกรรมตามลิสท์นี้

ถ้าให้ลิสท์ปัญหาของการทำงานเป็นทีมบอกได้ว่ามีอีกมากมายล้านแปด เพราะการทำงานเป็นทีมอย่างไรก็คือมีปัญหาหากสมาชิกในทีมไม่ปรับตัวหรือให้ความร่วมมือกับการทำงานร่วมกัน ก็เป็นเรื่องยากที่จะทำงานร่วมกันได้ตลอดรอดฝั่งแม้ว่าจะมีการกำหนดเงื่อนไขในการรับคนไว้ชัดเจนแล้วว่า ต้องทำงานเป็นทีมได้นะ ต้องเป็นคนที่ทำงานต่อแรงกดดันได้ แต่สุดท้ายนั่นก็เป็นเพียงเงื่อนไขลอยๆ ในการรับคนเข้ามาทำงาน เพราะเราไม่สามารถรู้นิสัยใจคอคนจากการสัมภาษณ์งานเพียงครั้งเดียวได้

และเมื่อหัวหน้าเจอลูกน้องไม่เชื่อฟังจะแก้ปัญหาอย่างไรดี

  1. หากคุณให้ความสนิทสนมกับลูกน้องมากเกินไปจนรู้สึกว่าเขาหรือเธอคนนั้นเริ่มลามปามหรือรุกล้ำเรื่องส่วนตัว ก็ให้ถอยห่างและไม่สนิทสนมเหมือนเดิม และพูดคุยเรื่องส่วนตัวน้อยลงหรือบอกกล่าวชัดเจนไปเลยว่าไม่พอใจในการล่วงล้ำความเป็นส่วนตัวนั้น
  2. สื่อสารกับสมาชิกในทีมคนอื่นมากขึ้น เพราะเมื่อเราสนิทกับคนใดคนหนึ่งมากเกินไป มักจะมีปัญหาเรื่องความลำเอียงในการทำงาน ดังนั้น ลองคุยและสื่อสารกับคนอื่นๆ ในทีมให้เท่าเทียมกัน และสอบถามความสนใจของพวกเขาบ้าง การใส่ใจทุกคนในทีมย่อมทำให้ลูกน้องรู้สึกว่าคุณเป็นเจ้านายที่ดูแลทั่วถึง
  3. ลูกน้องที่เชื่อมั่นว่าตัวเองเก่งหรือโดดเด่นกว่าคนอื่น มักจะมีสิ่งที่เรียกว่า “อีโก้” สูงเกินความจำเป็น ดังนั้นคุณในฐานะหัวหน้าต้องลดบทบาทของเขาลงมาให้เท่าเทียมกับคนอื่นๆ และผลักดันคนอื่นๆ บ้าง ไม่มอบหมายแต่งานสำคัญให้คนเพียงคนเดียว แต่ทุกคนควรมีโอกาส “ฉาย” ความสามารถของตัวเองออกมาให้เท่าเทียมกัน
  4. ไม่แทรกแซงหรือติแบบไม่มีเหตุผล แม้คุณจะเป็นเจ้านายและบางครั้งอาจจะรู้สึกอคติกับลูกน้องที่คุณไม่ชอบหน้า คุณต้องพึงระลึกไว้เสมอว่า การเป็นหัวหน้าหรือเจ้านายของใครนั้นจะต้องเปรียบเสมือนตราชั่งที่อยู่ตรงกลาง ไม่เอนเอียง ไม่ถืออคติและเปิดใจรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ไม่เอาตัวเองเป็นไม้บรรทัดไปเทียบคนอื่นๆ รวมทั้งต้องแสดงออกถึงความใส่ใจผ่านสีหน้า การแสดงออก น้ำเสียง และคำพูดด้วย
  5. ยอมรับความผิดบ้าง แม้คุณจะเป็นหัวหน้าแต่บางครั้งเมื่อคุณหรือทีมทำผิดพลาดคนที่ต้องรับผิดชอบก็คือคุณ ดังนั้นการที่คุณโยนความผิดหรือผลักภาระไปให้ลูกน้องนั่นหมายถึงคุณเห็นแก่ตัว การที่คุณยอมรับผิดชอบ (ในกรณีที่เกี่ยวกับงาน) สิ่งที่ผิดพลาดไปอย่างเหมาะสม ก็จะเพิ่มความเชื่อมั่นและเชื่อใจแก่คนในทีมได้

ปัญหาเรื่องของการบริหารทีม การเป็นเจ้านายและลูกน้องต่างก็เปรียบเสมือนเรื่องที่วงในสังคมต้องเจอ เพราะเหมือนเป็นการรวมคนที่มีความแตกต่างกัน ในเรื่องของชีวิต สังคม การศึกษา มารวมกันไว้ในบริษัทเดียวกัน ย่อมเป็นเรื่องปกติที่จะมีความแตกต่างและไม่ลงรอยกัน อยู่ที่ว่าคุณที่เป็นหนึ่งในวงสังคมนี้ จะยอมรับ ปรับตัวและใช้ชีวิตการทำงานอย่างไรในรอดได้ต่างหาก