Site icon Thumbsup

กรณีศึกษาสำหรับแบรนด์: แนวทางสร้างประโยชน์จาก User-Generated Content

content-is-the-key

คงไม่ต้องบอกกันแล้วล่ะครับว่า Content ที่น่าสนใจ รูปภาพสวยๆ ที่ดูเตะตานั้นสำคัญกับการทำการตลาดดิจิทัลมากแค่ไหน ทั้งหมดเริ่มต้นขึ้นมาจากผู้บริโภคสมัยนี้เริ่มคุ้นเคยกับโฆษณาแบบเดิมๆ ประมาณว่ามองปราดเดียวก็รู้เลยว่านี่มันโฆษณาชัดๆ แล้วก็สร้างขึ้นมาเพื่อทำการตลาด และกลายเป็นว่าโฆษณานั้นใช้ไม่ค่อยได้ผล นักการตลาดสมัยนี้จึงจำเป็นที่จะต้องหาวิธีสานสัมพันธ์และโต้ตอบกับผู้บริโภคในแบบตัวต่อตัวมากขึ้น และหนึ่งในวิธีนั้นก็คือการทำ user-generated content

และวันนี้เราจะนำกรณีศึกษาของ 5 แบรนด์ที่น่าสนใจมาให้คุณได้อ่านและศึกษาแนวทางกันครับ

ปล.เราเคยเขียนถึงความสำคัญของมันมาแล้วในบทความนี้ User-Generated Content คืออะไร? ทำไมถึงต้องให้ความสำคัญ

Starbucks

อ่านบล็อกการตลาดที่ไหนก็จะมีตัวอย่าง Starbucks แต่เราก็จำต้องยอมรับว่า Starbucks มีแคมเปญที่ประสบความสำเร็จมากมาย เพราะ Starbucks ไม่เพียงแต่สานสัมพันธ์กับแฟนๆ ได้เป็นอย่างดี แต่ยังสามารถสร้าง user-generated content ขึ้นมาได้ดีด้วย อย่างครั้งเมื่อ Starbucks ทำกิจกรรมชื่อ White Cup Contest ซึ่งเป็นแคมเปญที่ขอให้แฟนๆ Starbucks ทุกคนระบายสีแก้วสีขาวของ Starbucks จากนั้นก็ถ่ายรูปโชว์ลายสีและ artwork ของตัวเองบน social media ผ่านทาง hashtag #WhiteCupContest ผลลัพธ์ออกมาน่าสนใจมาก เพราะมันทำให้แฟนๆ สร้างภาพสวยๆ ของ Starbucks ออกมาล้นทะลัก Facebook และ Pinterest เลยทีเดียว แถมทางแบรนด์ก็ยังได้ Reach เพิ่มโดยไม่ต้องซื้อด้วยนะ ง่ายๆ แต่เวิร์คสุดๆ

Belkin

ในปี 2013 แบรนด์เคสมือถือ Belkin ได้ทำเคสของ iPhone โดยทางบริษัทได้ร่วมมือกับ Lego โดยออกแบบเคสด้วยการใช้ Lego blocks Belkin เริ่มต้นด้วยการถามลูกค้าของตัวเองบน Instagram ว่าใครอยากจะโชว์ความสามารถในการสร้างสรรค์ออกแบบ Lego structures บนเคส iPhone บ้าง ว่าแล้วก็ใส่ tag #LEGOxBelkin ในมุมมองการตลาดแล้ว แคมเปญนี้เป็นการกระตุ้นให้ลูกค้าช่วย Belkin ขายของด้วยการแสดงให้เห็นว่าเคส Belkin จะเจ๋งจะ cool ได้มากแค่ไหน แถมยังออกมาแบบเนียนสุดๆ ไม่ดูยัดเยียดอีกด้วย

Momondo

เมืองไทยอาจไม่ค่อยรู้จัก Momondo กันเท่าไหร่ Momondo คือบริษัท travel metasearch engine จากกรุงโคเปนเฮเกนที่เปิดให้ผู้ใช้ค้นหาและเปรียบเทียบราคาตั๋วเครื่องบิน โรงแรม รถยนต์ ทางบริษัทได้จัดประกวดภาพถ่ายขึ้นมาโดยให้คนส่งภาพที่แสดงถึงชีวิตคนเมืองด้วยสีที่สดใสแล้วชิงรางวัล ฟังดูง่ายๆ แต่ท้ายที่สุดบริษัทก็สร้างกระแสบนโลกออนไลน์ได้ด้วยการดึงคนนับพันนับหมื่นมาร่วมสร้างภาพสวยๆ บน Instagram ของตัวเอง ในแง่การตลาด Momondo กำลังสร้างความน่าติดตามให้กับแบรนด์ตัวเองมากกว่าขายของอย่างเดียว ซึ่งนี่ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่เราควรทำในยุคที่การตลาดไม่ควรแต่จะยัดเยียดขายของมิใช่หรือ?

Estee Lauder

ในปี 2013 Estee Lauder เปิดตัวแคมเปญสร้างการตระหนักรู้ของโรคมะเร็งเต้านมที่หลายๆ คนควรจะใส่ใจ เพราะมันเป็นโรคยอดฮิตของคนทั่วโลก โดยทาง Estee Lauder ได้จัดทำแคมเปญภายใต้ธีม Stronger Together ที่เปิดให้ผู้หญิงทุกคนเข้ามาสร้าง ‘Circle of Strength’ กับเพื่อนๆ ของตัวเอง โดยสาวๆ ผู้ร่วมแคมเปญจะได้รับการร้องขอให้สัญญาว่าตัวเองจะไปทำ mammograms หรือตรวจมะเร็งเต้านมด้วยเครื่องเอ็กซ์เรย์ เดินออกกำลังกายบ่อยๆ ทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ และสนับสนุนกันและกัน โดยเจ้า Circle of Strength จะถูกแสดงผ่านทางรูปบน Instagram และ Twitter งานนี้ Estee Lauder ได้อะไรในเชิงการตลาด? มันเป็นการ connect กับผู้บริโภคในระดับสูง ที่ไม่ใช่แค่การเล่น การประกวดอะไร แต่มันเป็นการประสานใจของผู้หญิงทั่วโลกที่จะมาร่วมกันให้กำลังใจกันและกันในแคมเปญนี้

Air New Zealand

ในปี 2014 สายการบิน Air New Zealand ได้เปิดตัวแคมเปญสร้างแรงบันดาลใจที่เป็นแนว user-generated โดยจัดประกวดภาพถ่ายบน hashtag #AirNZPacked โดยมีคอนเซ็ปต์ว่า จะต้องจับภาพที่เป็นอารมณ์ความตื่นเต้นและกระแสก่อนที่ตัวเองจะได้เริ่มต้นเดินทางท่องเที่ยวทริปในฝัน ผู้ร่วมแคมเปญจะถูกร้องขอให้ถ่ายรูปของกระเป๋าของตัวเองที่แสดงให้เห็นว่าพวกเขากำลังจะเดินทางไปไหน และอัปโหลดภาพเหล่านี้ขึ้นมาบน Pinterest และ Twitter ใครที่ชนะก็จะได้รับบัตรสมนาคุณของ Air New Zealand มูลค่า 1,000 เหรียญนิวซีแลนด์

ที่มา: Syndacast.com

และสำหรับนักการตลาด หรือใครที่สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่ info@syndacast.com หรือเว็บไซต์ Syndacast.com

บทความนี้เป็น advertorial