Site icon Thumbsup

ส่องธุรกิจ LINE ในไทย พร้อมกลยุทธ์สร้างการเติบโต

LINE ได้เข้ามาอยู่ในทุกส่วนในชีวิตประจำของเรา ไม่ว่าจะหันไปทางไหนก็มักพบบริการจาก LINE เสมอ ไม่ว่าจะเป็นการพูดคุยก็มี LINE รองรับ, ขายสินค้าก็เป็น LINE@, สั่งอาหารก็เป็น LINE MAN

เห็นมั้ยคะว่าทุกการเคลื่อนไหวของเรามี LINE อยู่ทุกที่จริงๆ เหมือนที่ คุณบี๋-อริยะ พนมยงค์ กรรมการผู้จัดการ LINE Thailand บอกไว้ว่า “ใครรู้จักคนไทยดีกว่าคนนั้นชนะ”

เราจึงได้รวบรวมธุรกิจของ LINE ทั้งหมดที่มีในไทย พร้อมกลยุทธ์ที่ทำให้ LINE เติบโตเพื่อนำมาปรับกับธุรกิจตนเองกันค่ะ โดยเเบ่งเป็น 5 ประเภท

1. ธุรกิจคอนเทนต์ (LINE TV, LINE MUSIC)

ประเภทเเรกหลายคนคงคุ้นตากันดีกับ LINE TV เเพลตฟอร์มดูละคร ซีรีย์ย้อนหลัง ที่เข้ามารองรับพฤติกรรมการดูคอนเทนต์วิดิโอออนไลน์ของคนไทย

นอกจากนี้ยังผลิตซีรีย์เป็นของตัวเองที่ได้กระเเสไปอย่างถล่มทลาย เเละยังจับมือกับบริษัททีวียักษ์ใหญ่อย่าง บริษัท ทีวี ธันเดอร์ จำกัด (มหาชน), บริษัท เจเอสแอล โกลบอล มีเดีย จำกัด, Bear Cave บริษัท โนแมดิค โปรดักชั่น จำกัด, บริษัท จีเอ็มเอ็ม ทีวี จำกัด และ บริษัท กันตนา กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เป็นต้น

เรียกว่าเสริมทัพเพื่อครองส่วนเเบ่งคอนเทนต์วิดิโอบนโลกออนไลน์จริงๆ ซึ่งกลยุทธ์ที่เราสามารถนำปรับกับธุรกิจตนเองคือการหา Partner ที่ดีเพื่อต่อยอดธุรกิจให้เติบโต

ถึงจะมีหลายเเบรนด์เลือกที่จะพยายามอยู่เเบรนด์เดียวเพราะกลัวความเสี่ยง เเต่เมื่อคิดจะเติบโตก็ต้องเอาชนะความกลัวด้วยการหา Partner ที่เข้ามาเสริมทัพความเเข็งเเรงให้กับธุรกิจ

2. ธุรกิจองค์กร (LINE Official Account, LINE@)

เครื่องมือเเชทสื่อสารหลักในปัจจุบันต้องยกให้ LINE ถึงเเม้ Facebook จะมี Messenger เเต่ด้วยฟีเจอร์ของ LINE ที่มีลูกเล่นมากมายจึงข้ามาตอบโจทย์คนไทยได้มากกว่า

สิ่งที่น่าสนใจคือ LINE@ คือการเข้ามาเป็นเครื่องมือออนไลน์หลัก สำหรับธุรกิจที่ต้องการสื่อสารกับลูกค้าอย่างใกล้ชิด สังเกตว่าเเทบทุกเเบรนด์เลือก LINE@ เป็นเครื่องมือติดต่อสื่อสารกับลูกค้า เพราะต้นทุนไม่เเพงเเละยังสามารถติดต่อกับลูกค้าได้ตลอดเวลา

สังเกตว่า LINE องค์กร มีเป้าหมายคือการเข้าใกล้ชิดลูกค้าให้มากที่สุดเเละเป็นกันเอง กลยุทธ์ที่ควรนำมาปรับใช้คือการให้บริการอย่างเป็นมิตร เพราะการที่เเบรนด์เป็นกันเองกับลูกค้า จะทำให้ลูกค้าซื้อสินค้าเราได้ง่ายขึ้น

3. ธุรกิจเกม (LINE GAME)

สาวก Gamer ก็ยังหนีไม่พ้นเพราะ Line ได้สร้างเกมเพื่อมาตอบโจทย์ทั้งตัว Gamer เองเเละไม่ใช่ Gamer ซึ่งความสำเร็จที่เป็นใบเบิกทางของ LINE Game ก็คือเกม Cookie Run ที่เป็นกระเเสฮิตอยู่ช่วงใหญ่

ส่งผลให้เกมอื่นๆ ที่ตามมาได้รับกระเเสดีไปด้วยถึงเเม้ปัจจุบัน Cookie Run จะปิดตัวลงเเต่ก็ได้เบิกทางไว้อย่างสวยงาม ซึ่งกลยุทธ์ที่เราปรับมาใช้ได้คือเรื่องความเล่นง่ายเล่นเพลิน เหมือนเเบรนด์เป็นเพื่อนกับเรา จะช่วยให้เราสื่อสารกับลูกค้าได้ง่ายขึ้น

เเละการสร้างช่วงเวลาระหว่างสินค้าของเรากับลูกค้าให้มีคุณภาพ เพื่อสร้างความประทับใจให้ลูกค้าเกิดการจดจำ เวลาซื้อสินค้าจะได้นึกถึงสินค้าเราเเรกๆ เป็น Top of Mind

4. ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ (LINE Giftshop)

อีกส่วนที่เข้ามาต่อยอด LINE ให้สนุกมากขึ้นนั่นก็คือ Line Giftshop ที่มีทั้งสติ๊กเกอร์เเบบเคลื่อนไหวหรือออกเสียง เพื่อให้การสื่อสารกับคู่สนทนามีความสนุกเเละสื่อถึงอารมณ์มากขึ้น หรือจะเป็น Theme ที่ทำให้เรามี Line Chat พิเศษเป็นของตัวเอง

เป็นบริการที่ช่วยให้ LINE ประเภทอื่นๆ มีอิมเเพ็คมากขึ้น เช่น เมื่อเราเข้าไปเล่นเกม จะขึ้นเตือนในเเชท Line ทันที เรียกว่าผนึกกำลังเเทบทุกเเพลตฟอร์มกันสุดๆ ซึ่งกลยุทธ์ที่เราสามารถนำมาปรับใช้ได้คือการนำสินค้าที่มีมาผูก Story ร้อยเรียงกันเพราะจะทำให้ลูกค้าจดจำเเบรนด์เราได้ดี

ฉะนั้นจะเห็นว่าเมื่อเเบรนด์ต่างๆ สร้างคาเเรคเตอร์ขึ้นมาจะต้องเล่าก่อนว่าที่มาที่ไปเป็นยังไง ลูกค้าจะได้เข้าใจเเละอินในตัวสินค้าของเรา

5. ธุรกิจเพย์เมนต์ (LINE Pay)

LINE Pay ที่เข้ามาช่วยดึงเงินจากลูกค้าได้ง่ายที่สุดๆ เพราะทุกบริการมีการชำระเงินเพื่อเพิ่มความพรีเมียมไม่ว่าจะเป็น Line@ หรือ Sticker

การบริการเรื่องการจ่ายเงินจึงเหมือนเป็นระบบที่ไฟนอลในการสร้างกิจกรรมโปรโมททั้งหมดมาก่อนหน้านี้ ซึ่งกลยุทธ์ที่เเบรนด์สามารถมาปรับใช้คือเรื่องของการรองรับการจ่ายเงินของลูกค้า เพราะถ้าขั้นตอนการจ่ายยุ่งยากหรือค่าส่งเเพงก็ส่งผลต่อการซื้อของลูกค้าเช่นกัน

สังเกตว่า ทุกเเพลตฟอร์มของ LINE ได้เข้ามาตอบโจทย์พฤติกรรมการใช้เล่นโซเชียลมีเดียของคนไทยจริงๆ ไม่เเปลกใจเลยว่าทำไม LINE ถึงมีอัตราการเติบโตที่สูง

เป็นเเพลตฟอร์มที่ประสบความสำเร็จอย่างมากเพราะการสร้างกลยุทธ์ที่ตอบโจทย์คนไทยจริงๆ เป็นอีกธุรกิจที่เราสามารนำโมเดลมาวิเคราะห์เพื่อเป็นตัวอย่างในการคิดกลยุทธ์ เพื่อให้ธุรกิจของเราเติบโตเเบบที่ LINE เติบโต