Site icon Thumbsup

ปรากฎการณ์ Micro-Moments ที่มีผลกระทบกับการตลาดในแถบเอเชียรวมทั้งไทย

mm-hero-bg

เมื่อ 2 ปีก่อน Google เองเคยบัญญัติคำนิยามลักษณะของพฤติกรรมของการซื้อสินค้าและบริการของคน โดยใช้ชื่อว่า ZMOT (Zero Moment of Truth) อ่านบทความได้ที่นี่ ZMOT คืออะไร? คำนิยามด้านการตลาดใหม่โดย Google ปีนี้ และไม่นานมานี้ Google เพิ่งจะบัญญัติ Moment หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจากพฤติกรรมของคนบนโลกออนไลน์ในยุคนี้ออกมาล่าสุด โดยเรียกว่า Micro-Moments ซึ่งสิ่งนี้มีผลกระทบกับคนบนโลกออนไลน์โดยตรงในยุคนี้

Micro-Moments ถ้าให้่อธิบายเร็วๆ ก็คือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วต้องการการกระทำต่อสิ่งที่เกิดนั้นทันที เช่น อยากรู้ก็หาเลย อยากซื้อก็เข้าไปซื้อ (Want-to-know moments. Want-to-go moments. Want-to-do moments. Want-to-buy moments) ซึ่งการกระทำนั้นจะเกิดบนอุปกรณ์โมบายล์ เพราะมันตอบสนองกับความต้องการได้อย่างรวดเร็วที่สุด (จริงๆ แล้ว Micro-Moments มันเกิดขึ้นมานานแล้วหล่ะแต่เราเพิ่งมานิยามมัน)

เมื่อเข้าใจแล้ว คราวนี้มาดูข้อมูลที่ทาง Google นำเสนอครับ ทาง Google เขาได้ทำการทำวิจัยโดยใช้เครื่องมือที่ชื่อ Consumer Barometer ซึ่งก็พบว่าตอนนี้ในแถบเอเชียมีการใช้โมบายล์เป็นอันดับหนึ่งเมื่อเทียบกับทวีปอื่นแล้ว (ในบทความบอกว่า เอเชียไม่ได้จะ Go Online แต่ Live Online แล้วเรียบร้อย คืออยู่กับออนไลน์ไปหล่ะ) จากรูปที่บอกถึงอัตราการใช้งานสมาร์ทโฟน (Smartphone Penetration) จะเห็นว่าตลาด 10 ประเทศที่มี % มากที่สุด เป็นประเทศจากเอเชียถึง 5 ประเทศ อเมริกาและสหราชอาณาจักรยังแพ้

นอกจากนั้นแล้ว 11 ใน 21 ประเทศจากเอเชียมีการเข้าถึงสมาร์ทโฟนมากกว่า PC ไปแล้ว ซึ่งก็มีประเทศไทยรวมอยู่ในนั้นด้วย และ ที่ญี่ปุ่น มีการใช้โมบายล์ในการค้นหาและใช้ Google เป็นหลัก

นอกจากนั้นยังมีสิ่งที่น่าสนใจที่สรุปได้ดังนี้

จะเห็นว่าทุกเรื่องสูงกว่าอเมริกาและสหราชอาณาจักร

ก็ชี้ให้เห็นว่าจากทั้ง 3 กิจกรรมทั้ง ค้นหา, ซื้อสินค้า, ใช้แผนที่ ล้วนแล้วเป็น Micro-Moments ทั้งสิ้น ความคาดหวัง, การทำให้แบรนด์น่าสนใจคือสิ่งที่ต้องทำเพื่อเอามารองรับกับ moment เหล่านี้ นั่นก็หมายความว่าเราต้องเตรียมทุกอย่างให้พร้อมกับความต้องการที่จะเกิดขึ้น ทุก I-Want-To เพราะเขาต้องการสิ่งที่เขาอยากได้ มากกว่าความจงรักภักดีต่อแบรนด์ ดังนั้นแบรนด์ก็ต้องทำสิ่งที่เขาต้องการให้ได้มากที่สุดเพื่อตอบสนองเขา

ภายในบทความต้นฉบับมีการแยกอย่างชัดเจนถึงประเภทของ Moments ที่เกิดขึ้น สำหรับไทยเองมีข้อมูลอยู่ใน I-want-to-buy moments ครับ โดย 69% ของคนใช้สมาร์ทโฟนในประเทศไทย ใช้สมาร์ทโฟนในการค้นหาข้อมูลสินค้าผลิตภัณฑ์ออนไลน์แล้วจึงไปซื้อสินค้าออนไลน์ ตัวเลขนี้แสดงให้เห็นว่าข้อมูลบนออนไลน์มีผลให้เขาไปซื้อหรือทดลองสินค้า (แม้ว่าตัวเลขของการซื้อออนไลน์จะยังมีแค่เกือบๆ 1 ใน 3 ก็ตาม)

Google เองแนะนำวิธีรับมือกับสิ่งที่จะเกิดขึ้น สรุปได้ดังนี้

สามารถอ่านเนื้อหาทั้งหมดได้ที่นี่ครับ Think with Google