Site icon Thumbsup

ความเหมือนที่แตกต่างของผู้บริโภคกลุ่ม Millennial

Millennials กลุ่มเป้าหมายที่หลายธุรกิจจับตามอง จริงๆ แล้วเหมือนหรือต่างจากกลุ่มเป้าหมายอื่นๆ กันแน่ ข้อมูลใหม่ล่าสุดจาก YouGov ตอบคำถามเหล่านี้ได้

เครื่องมือจาก YouGov ทำให้เห็นข้อมูลของกลุ่มคนในปัจจุบันที่มีอายุไม่เกิน 35 ปี จำนวน 250,000 คน พร้อมทั้งตัวแปรต่างๆ ราว 120,000 อย่าง ไม่ว่าจะเป็นนิสัย ความเชื่อ ควาดคิด เพื่อให้นักการตลาดเรียนรู้และสามารถสร้างแคมเปญที่ตอบโจทย์กับกลุ่มเป้าหมาย

จากข้อมูลของ YouGov ถ้าให้พูดในภาพกว้างๆ สามารถสรุปคนในยุค Millennials ได้ 3 ประเด็น คือ คนกลุ่มนี้มีเอกลักษณ์บางอย่าง แต่ก็มีสิ่งที่ไม่ได้เหนือไปจากความคาดหมาย และพวกเขาไม่ได้เหมือนกันหมดทุกคน

อะไรคือสิ่งที่ทำให้ Millennial แตกต่าง?

เรารู้กันดีอยู่แล้วว่ากลุ่มคนที่อายุต่ำกว่า 35 ปีรักเทคโนโลยี เพราะพวกเขาเป็นคนกลุ่มแรกที่เติบโตมาพร้อมกับโลกออนไลน์ และไม่น่าแปลกใจถ้าข้อมูลจะพบว่า เกือบทุกคนใช้อินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือหลักในการค้นหาข้อมูล และเป็นกลุ่มที่ใช้โซเชียลมีเดียมากกว่ากลุ่มอื่นๆ (คิดเป็น 72% จากจำนวน Millennial ทั้งหมด)

ข้อมูลยังพบว่าคนกลุ่มนี้กลัวว่าตัวเองจะพลาดการรับข่าวสารสูงกว่าคนกลุ่มอื่น

นอกจากนี้พฤติกรรมบางอย่างของคนรุ่นลูกก็แตกต่างกับรุ่นพ่อแม่อย่างสิ้นเชิง ยกตัวอย่างสินค้ากาแฟ คนกลุ่ม Millennials จะหลีกเลี่ยงแบรนด์อย่าง Nescafe และเลือกเข้าร้านกาแฟแทน

อะไรที่ไม่ได้เหนือความคาดหมาย

จากการศึกษามากกว่า 2,000 ทัศนคติ พบว่า “ปัญหาการลุกจากที่นอน” ติด 1 ใน 10 ของสิ่งที่เกี่ยวข้องกับคนกลุ่มนี้ นอกจากนี้ยังเป็นเรื่องวิดีโอเกม เรื่องเพศและความสัมพันธ์ พฤติกรรมการเลือกซื้อของจากร้านที่ไม่มีประวัติด่างพร้อย ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้ไม่ได้แตกต่างจากคนรุ่นก่อนมากนัก

การใช้ชีวิตก็เช่นกัน กลุ่ม Millennial ให้ความสำคัญกับความก้าวหน้าของอาชีพมากกว่าเงิน และพร้อมจะทำสิ่งที่จำเป็นโดยไม่จำกัดหนทาง เช่นยอมเสียสละเวลาส่วนตัว เพื่อความสำเร็จในชีวิต

เมื่อมาดูพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ข้อมูลแสดงผลชัดเจนว่าคนกลุ่มนี้จะทานอะไรที่ง่ายและสะดวก เช่น อาหารจากร้าน Dominos หรือ McDonalds ไม่ค่อยเข้าร้านใหญ่ และในขณะเดียวกันก็เดินซูเปอร์มาเก็ตน้อยลง

ความแตกต่างของคนจากยุค Millennail

คนกลุ่มนี้ไม่สามารถมองเป็นกลุ่มเดียวที่มีพฤติกรรมหรือความคิดเหมือนๆ กันทั้งหมด จากข้อมูลแสดงให้เห็นว่าความคิดของกลุ่มคนอายุ 18-24 และ 25-34 มองสิ่งที่ล้าสมัยแตกต่างกัน

โดยกลุ่มที่อายุต่ำกว่า 25 ปีมองว่า เรื่องของพรมแดนระหว่างประเทศเป็นเรื่องที่ล้าสมัย ซึ่งสวนทางกับกลุ่มที่อายุ 25-34 ปี สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นจากการโหวตออกจาก EU เมื่อช่วงกลางปีที่ผ่านมา

นอกจากนี้ ถ้าเปรียบเทียบความคิดเห็นของคนในยุค Millennial ระหว่างคนที่ออกจากโรงเรียนก่อนอายุ 18 กับคนที่ได้รับการศึกษามากกว่าก็มีความแตกต่างกันอยู่เล็กน้อย  (ตามภาพด้านล่าง)

ข้อมูลทั้งหมดแสดงให้เห็นว่า กลุ่ม Millennial ไม่ได้ Mass อย่างที่คิด และการเลือกกลุ่มเป้าหมายจากช่วงอายุโดยไม่สนใจความคิด ความชอบของคนเหล่านั้น ลูกค้าที่ได้อาจจะไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายที่แท้จริง

ที่มา : Campaignlive