Site icon Thumbsup

บริการฟังเพลง Music Streaming ในสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นกว่า 42% แต่ยอดขายเพลงดิจิทัลกลับลดลง 13% ในครึ่งปีแรก 2014

logos2

อุตสาหกรรมเพลงถือว่าเป็นอุตสาหกรรมที่ใหญ่ในระดับโลก ถ้านับตั้งแต่มี แผ่นไวนิล เทป หรือกระทั่งแผ่น CD จนในที่สุดเข้าสู่ดิจิทัล ซึ่งถ้าจะคิดก็คงไม่ผิดว่าการมาของ iPod ของ Apple ทำให้วงการนี้เปลี่ยนไป ทำให้ทุกคนหันมาใช้อุปกรณ์ต่างๆ ในการฟังเพลง จนกระทั่งในตอนนี้เริ่มมีบริการฟังเพลงที่เรียกว่า Music Streaming เข้ามาด้วยการสนับสนุนต่างๆ ไม่ว่าจะอุปกรณ์ หรือเป็นความเร็วอินเทอร์เน็ตที่ทุกวันนี้เร็วพอที่จะสามารถฟังเพลงได้ตามความต้องการแบบสดๆ ไม่ต้องเอาเพลงมาใส่ไว้ในเครื่องเล่น

บริการที่เรียกได้ว่าเป็น Music Streaming ในตอนนี้ก็เช่น Spotify, iTunes Radio, Pandora, Songza (Google เพิ่งจะซื้อมา), Milk (ของ Samsung เขา) เริ่มถูกพูดถึงและมีการใช้งานการอย่างมากในช่วงปีสองปีนี้ ซึ่งไม่รวมว่า Beats ที่เข้าร่วมกับ Apple เมื่อไม่นานมานี้ที่อาจจะมีเขย่าวงการนี้อีกรอบ

จนทำให้ล่าสุดทาง Nielsen SoundScan ได้ทำการออกรายงานเกี่ยวกับเรื่องการใช้งานบริการนี้ พบว่าครึ่งปีแรกของปี 2014 มีอัตราการใช้งานใช้งาน Music Streaming เพิ่มมากขึ้นถึง 42% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2013 ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขที่สูงพอสมควร

ในทางตรงข้ามกัน สำหรับในวงการขายเพลงในรูปแบบดิจิทัล เช่นบน Google Play หรือ iTunes Store กลับไม่เป็นเช่นนั้น โดยในช่วงแรกๆ ที่มีการขายถือว่าทำได้ดี แต่ด้วยข้อมูลล่าสุดนี้กลับพบว่า มียอดขายที่ลดลงจากเดิม 13%

วกกลับมาพูดถึงเรื่องอนาลอคกันนิดนึง เพราะตอนนี้คนฟังเพลงหันมาเล่นแผ่นเสียงไวนิลกันอีกรอบ โดยในอเมริกามียอดขายแผ่นไวนิลมากกว่าเดิมถึง 40% แต่ดูไปแล้วก็คงน่าจะจางหายไปในไม่ช้า…

และถ้าจะให้เทียบกับทั้งโลกแล้ว การขายเพลงในรูปแบบดิจิทัลก็จะยังคงไปได้อยู่อีกหลายปี เพราะการให้บริการ Music Streaming นั้นยังไม่เปิดให้บริการทั่วโลก ตัวเลขที่นำเสนอไปข่าวก็เป็นเฉพาะในสหรัฐฯ เท่านั้น

ด้านการฟังเพลงแบบ Music Stream ในเมืองไทย ตอนนี้ก็มีบริการประเภทนี้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น (True) H Music, Deezer และล่าสุดที่เริ่มโปรโมทกันก็คือ KKBox มาจากเกาหลี โดยทั้งสามบริการนี้ก็มีแบ็คเป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์แต่ละเจ้า (Deezer – dtac, KKBox – AIS) รวมทั้งค่ายเพลงก็แบ่งแยกกันอย่างชัดเจนด้วย แต่ก็ถือว่ายังมีคนใช้บริการที่ไม่เยอะมากเท่าไหร่นัก ซึ่งก็น่าจะความเคยชินในการดึงเพลงเข้าฟังเพลงบวกกันกับความเร็วอินเทอร์เน็ตที่ถึงแม้ว่าจะเป็น 3G 4G แล้วแต่ก็ยังไม่นิ่งอยู่ดี

แอบคิดเล่นๆ ว่าหากว่าบริการจากต่างประเทศนั้นเข้ามาเปิดให้บริการในเมืองไทย ทั้ง 3 บริการในไทยที่มีอยู่จะทำอย่างไร ซึ่งก็คงไม่พ้นการฟาดฟันค่าบริการและคอนเทนต์ที่ให้บริการอีกด้วย (ซึ่งก็ไม่รู้ว่าเขาจะเข้ามาเมื่อไหร่นะครับ)

ที่มา: Techcrunch