Site icon Thumbsup

K PLUS ใหม่ ที่เปลี่ยนเพื่อเป็นมากกว่าแอปธนาคาร

ปัจจุบัน แอปธนาคารมีความสามารถที่ไปไกลกว่าที่หลายคนเคยคิดไว้ จากแต่ก่อนที่ทำได้แค่โอนเงิน เติมเงิน จ่ายบิล แต่ตอนนี้โมบาย แบงกิ้งเป็นแอปที่สนุกกว่านั้น และมีความเป็นไลฟ์สไตล์มากขึ้น และนี่เป็นเป้าหมายของธนาคารกสิกรไทยที่จะทำให้ K PLUS เป็นมากกว่าแค่แอปธนาคาร แต่เป็นแอปที่จะอยู่ในชีวิตของลูกค้า และทำทุกอย่างได้จบในแอปเดียว

นายพัชร สมะลาภา กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า แพลทฟอร์มของ K PLUS ใช้งานมาแล้วกว่า 5 ปี ปัจจุบันมีลูกค้าใช้งาน K PLUS มากกว่า 61% ของลูกค้าธนาคารทั้งหมด 15 ล้านราย ในด้านปริมาณการใช้งาน แค่ภายในเดือนกันยายน 2561 มีจำนวนธุรกรรมผ่าน K PLUS สูงถึง 3,6345 ล้านรายการ ซึ่งมากกว่าปี 2560 ทั้งปี นับได้ว่ามีอัตราการเติบโตอย่างรวดเร็วทั้งจำนวนลูกค้าและปริมาณธุรกรรม

ธนาคารจึงพัฒนาศักยภาพของ K PLUS ใหม่ พร้อมกับนำเสนอฟังก์ชันด้านไลฟ์สไตล์ที่เข้ากับความต้องการของผู้ใช้งานเป็นรายบุคคล (Personalization) ด้วยนวัตกรรม KADE ซึ่งเป็น AI ที่ใช้ใน K PLUS ทางด้านของคอนเซปต์ของการเปลี่ยนในครั้งนี้ คือ เปลี่ยนเพื่อรู้ใจขึ้น 

 

เปลี่ยนให้รู้ใจ

การเปลี่ยนใหม่แบบยกแผงของ K PLUS นั้น สามารถสรุปได้เป็น 3 เรื่องหลักๆ คือ

นอกจากนี้ ธนาคารยังมีการวางเป้าหมายและกลยุทธ์ของ K PLUS อีก 3 ด้าน ได้แก่

ปัจจุบันฟังก์ชันที่ลูกค้านิยมใช้มากที่สุดคือ รายการโอน-เติม-จ่าย คิดเป็น 125 ล้านรายการต่อเดือน ในขณะที่ฟังก์ชันไลฟ์สไตล์ที่มีอยู่ใน K PLUS แล้ว ยังมีปริมาณการทำธุรกรรมที่น้อยกว่าที่คาดหมาย ซึ่งมีจำนวนธุรกรรมรวม 500,000 รายการต่อเดือน หรือน้อยกว่า 1% ของรายการโอนเติมจ่าย โดยธนาคารวางแผนพัฒนาฟังก์ชันใหม่ที่ให้ลูกค้าสามารถใช้บริการได้มากกว่าการโอนเติมจ่าย และเข้ากับไลฟ์สไตล์ของลูกค้ามากยิ่งขึ้น ซึ่งจะกระตุ้นให้เกิดการใช้งานมากขึ้น และเพิ่มขึ้นจาก 1% เป็น 5-10% ภายใน 1 ปี

โดยเฉพาะบริการสินเชื่อส่วนบุคคลที่เปิดให้บริการมา 8 เดือน ช่วยเพิ่มโอกาสเข้าถึงแหล่งทุนขนาดเล็ก (Micro Finance) ให้กับลูกค้าทั่วไปและผู้ประกอบการรายย่อย มีส่วนผลักดันให้ภาพรวมยอดสินเชื่อคงค้างสินเชื่อส่วนบุคคลสะสมเติบโตกว่า 4% มียอดสินเชื่อใหม่จนถึงเดือนสิงหาคมประมาณ 16,300 ล้านบาท เทียบกับปลายปีก่อนที่มีมูลค่าสินเชื่อส่วนบุคคลคงค้างที่ 15,700 ล้านบาท  ทั้งนี้ ตั้งเป้าภายในปีนี้ปล่อยสินเชื่อคงค้างสินเชื่อส่วนบุคคลเพิ่มอีก 7,000 ล้านบาท หรือคิดรวมเป็น 22,700 ล้านบาท

KADE มาแล้ว

สิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างหน่ึงคงหนีไม่พ้นเรื่องของ KADE หรือ K PLUS AI-Driven Experience ที่เรียกว่าเป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาศักยภาพของ K PLUS

นายสมคิด จิรานันตรัตน์ ประธาน กสิกร บิซิเนสเทคโนโลยี กรุ๊ป (KBTG) เล่าว่า แนวคิดการพัฒนา K PLUS ขยายจากการเป็นเพียงแอพพลิเคชั่นด้านการเงิน มาสู่ “K PLUS Intelligence Platform” ที่นำเสนอประสบการณ์ที่ตรงใจกับลูกค้าเป็นรายบุคคล พร้อมทั้งรองรับการเติบโตในอนาคต ทั้งความเสถียร ความปลอดภัย และความง่ายในประสบการณ์การใช้งานของลูกค้า ทั้งยังมองไปถึงการขยายเครือข่ายพันธมิตรธุรกิจต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตด้วย

ทั้งนี้  “เกด” (KADE: K PLUS AI-Driven Experience) ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญในพัฒนา K PLUS โดยมีเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI (Artificial Intelligence) เป็นระบบหลังบ้าน  ด้วยการเรียนรู้พฤติกรรมของลูกค้าแต่ละคน รู้จัก รู้ใจคนใช้งานมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้นำเสนอประสบการณ์ที่ตรงใจกับลูกค้าเป็นรายคนได้

ยกตัวอย่าง สิ่งที่ KADE ทำได้

นอกจากนี้ K PLUS ยังมีโครงสร้างเทคโนโลยีโอเพ่น แพลทฟอร์ม” (Open Platform)  พร้อมรองรับการเชื่อมต่อกับช่องทางบริการและพันธมิตรในธุรกิจต่างๆ สร้างประสบการณ์การใช้งานที่ต่อเนื่องและต่อยอดไปจนถึงการนำเสนอบริการใหม่ๆ เพื่อให้ทุกคนเข้าถึงได้รู้จักจนรู้ใจตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าทุกคนมากที่สุด

ทางด้านของทีมพัฒนา KADE ที่เพิ่งเริ่มต้นในวันนี้มีประมาณ 60 คน และตั้งเป้าจะเพิ่มทีมให้ถึง 200 คน เพื่อเพิ่มความสามารถในการพัฒนา AI ของธนาคารให้ดียิ่งขึ้น รองรับลูกค้าใช้งานที่ตั้งเป้าไว้ 100 ล้านคนทั่วโลก ดูคู่มือการเข้าใช้งานเพิ่มเติมได้ ที่นี่

รับชมโฆษณาของ K PLUS เวอร์ชั่นใหม่กันค่ะ

บทความนี้เป็น Advertorial