Site icon Thumbsup

มือใหม่หัดยื่นภาษี เตรียมเอกสารให้ดีช่วยลดหย่อนได้

กลายเป็นธรรมเนียมทุกปีสำหรับการยื่นภาษีที่ไม่ว่าจะทำงานมานานแค่ไหนก็ต้องยื่นให้ถูกต้อง เพราะนอกจากจะช่วยให้เรายื่นภาษีตามกฏหมายแล้ว ยังช่วยในการนำเงินไปพัฒนาประเทศด้วย ตามปกติจะต้องยื่นภาษีก่อนสิ้นเดือนมีนาคมของทุกปี สำหรับในปีนี้ด้วยวิกฤตโควิด-19 ทางกรมสรรพากรยืดระยะเวลาให้ถึง 30 มิถุนายน 2564 เพื่อให้เราได้เตรียมเอกสารกันได้ครบก่อนยื่นให้เสร็จเรียบร้อย

สำหรับวิธีการยื่นภาษีที่สะดวกที่สุด คงหนีไม่พ้นการยื่นผ่านเว็บไซต์ กรมสรรพากร ซึ่งสามารถยื่นภาษีได้ทุกรูปแบบ เพียงแค่มีเอกสารให้พร้อมก็สามารถยื่นเอกสารได้เลย

ทั้งนี้ เอกสารหลักๆ ที่ต้องใช้ในการยื่นภาษีของพนักงานบริษัทก็คือใบทวิ 50 ที่สามารถแจ้งขอได้กับทางฝ่ายเอชอาร์หรือบัญชีของแต่ละบริษัท ซึ่งแล้วแต่ว่าฝ่ายไหนเป็นคนดำเนินการ (บางบริษัทอาจอำนวยความสะดวกด้วยการยื่นภาษีให้ด้วยซ้ำ) แต่สำหรับคนที่มีช่องทางรายได้หลากหลายหรือเป็นฟรีแลนซ์ก็จำเป็นต้องเตรียมเอกสารภาษีหรือใบหักภาษี ณ ที่จ่ายให้ครบทุกงานที่เราต้องยื่นแจ้งให้เรียบร้อย

รายได้เท่าไหร่ต้องยื่นภาษี

ตามปกติแล้ว คนไทยทุกคนที่มีเงินได้เกิน 120,000 บาทต่อปี (เฉลี่ยเดือนละ 10,000 บาท/เดือน) มีหน้าที่ต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่จะต้องจ่ายเงินเพิ่มหรือไม่ ขึ้นอยู่กับเงินได้สุทธิของแต่ละคน ซึ่งเงินรายได้นั้นจะคิดจากการนำเงินได้ทั้งปี หักค่าใช้จ่าย และหักลดหย่อนภาษีที่มีทั้งหมด สำหรับเงินได้ทั่วไป (เงินเดือน โบนัส หรือค่าจ้าง) สามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 50% แต่ไม่เกิน 100,000 บาท

หากรายได้สุทธิไม่เกิน 150,000 บาท ก็จะได้รับการยกเว้นภาษี แต่ถ้าเกินกว่านั้นก็จะเสียภาษีในอัตราเริ่มต้น 5% และจะสูงขึ้นตามอัตราภาษีแบบขั้นบันได แต่รายการลดหย่อนภาษีจะช่วยทำให้รายได้สุทธิให้ลดลง จึงเสียภาษีน้อยกว่าคนที่ไม่มีรายการลดหย่อนภาษีเลย

ลดหย่อนภาษีอะไรได้บ้าง

สำหรับรายการลดหย่อนภาษีที่จะช่วยหักลดสิ่งที่ต้องจ่ายบ้าง ประกอบด้วย

  1. ผู้มีเงินได้ จะได้ลดหย่อน ค่าใช้จ่ายส่วนตัว 60,000 บาท หรือ 120,000 บาท แล้วแต่กรณี
  2. คู่สมรส กรณีสามีหรือภรรยาไม่มีเงินได้ สามารถคิดลดหย่อนภาษีได้ 60,000 บาท (เช่น ภริยาหักลดหย่อนฐานะผู้มีเงินได้ 30,000 บาทและหักลดหย่อนสามีได้อีก 30,000 บาทรวมเป็น 60,000 บาทและในการยื่นแบบให้แจ้งสถานะคู่สมรสไม่มีเงินได้)
  3. บุตร คนละ 30,000 บาท บุตรที่เกิดหลังปี พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ลดหย่อนได้คนละ 60,000 บาท
  4. ค่าอุปการะบิดาหรือมารดาของตนเองหรือคู่สมรส มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ลดหย่อนภาษีได้ คนละ 30,000 บาท
  5. ค่าอุปการะเลี้ยงดูผู้พิการหรือทุพพลภาพ ลดหย่อนภาษีได้ 60,000 บาทต่อคน ยกมาจากแบบ ล.ย.04
  6. เบี้ยประกันสุขภาพของบิดามารดาหรือคู่สมรส ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 15,000 บาท
  7. เบี้ยประกันชีวิต, เบี้ยประกันสุขภาพ, เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ ของตนเอง รวมกันไม่เกิน 100,000 บาท
  8. เงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ส่วนที่ไม่เกิน 10,000 บาท
  9. เงินสะสมกองทุนการออมแห่งชาติ ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 500,000 บาท
  10. ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ
  11. ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการออม SSF
  12. ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการออม SSF (พิเศษ)
  13. ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารอยู่อาศัย ลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน ไม่เกิน 100,000 บาท
  14. เงินได้เพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์ ( ลดหย่อนตามมาตรการภาษีกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ)
  15. เงินสมทบกองทุนประกันสังคม

ส่วนการเริ่มต้นในการลงทะเบียนนั้นสามารถทำตามขั้นตอนได้เลยง่ายๆ

ขั้นตอนที่ 1 เลือกได้ตามกรอบสีแดงทั้งสองจุด

มือใหม่ที่ยังไม่เคยมีประวัติเลือกสมัครสมาชิก

 

เลือกประเภทของสัญชาติ
กรอกข้อมูลไปตามขั้นตอนจนจบก็จะได้รหัสสำหรับเข้าใช้งาน