Site icon Thumbsup

ปัญหาช่องว่างระหว่างเจเนอเรชั่น แบรนด์ต้องเตรียมพร้อมสำหรับลูกค้ายุคใหม่

ปัญหาช่องว่างระหว่างเจเนอเรชั่นที่กำลังเพิ่มขึ้น ท่ามกลางโซเชียลมีเดียที่ขยายตัวจนเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวัน Gen X เสพติดเฟซบุ๊กมากกว่า Gen Z และชาว Millenial กลายเป็นดาวเด่นในโซเชียลอย่าง TikTok

Baby Boomer ที่ไม่อยากถูกมองว่าล้าหลัง ส่วนชาว Millenial ที่ยกตนว่าทันโลกและบุกเบิกเทคโนโลยี เห็นได้ชัดว่าการช่องว่างเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคมกำลังถูกเร่งด้วยวิกฤตโควิด-19 และต้องการให้มีสิ่งมาเติมเต็ม แล้วจะทำอย่างไรให้คนทั้งสองเจนเข้าใจกันมากขึ้น

เทรนด์การอยู่ร่วมกันของคนหลายเจเนอเรชั่น

ปัญหาดังกล่าวจึงเป็นที่มาของเทรนด์ Intergeneration หรือการอยู่ร่วมกันของคนหลายเจเนอเรชั่น สิ่งร่วมกันที่เห็นได้ชัดคือคนทุกช่วงทุกวัยเข้าถึงระบบดิจิทัลได้พร้อมกัน ผู้สูงอายุยินดีที่จะก้าวให้ทันเทคโนโลยีและสื่อออนไลน์เช่นเดียวกันกับวัยรุ่นที่ผูกติดชีวิตกับสมาร์ทโฟนตลอดเวลา

ฉะนั้นคำว่า “คนรุ่นใหม่” อาจะไม่ใช่คำนิยามสำหรัยเด็กวัยรุ่นเท่านั้น แต่หมายถึงคนที่พร้อมจะเรียนรู้และปรับตัวกับโลกยุคใหม่ ปรับตัวในสังคมที่มีความหลากหลายทั้งในแง่ของชาติพันธุ์ เพศ และอายุ ซึ่งส่งผลให้มีพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่แตกต่างกัน

เพราะในแต่ละเจเนอเรชั่นล้วนมีความหลากหลายจนกลายเป็น MicroGeneration การถูกตีตราว่าเป็นเจเนอเรชั่นไหนอาจไม่สำคัญอีกต่อไป ตนตัวใหม่ๆ ของผู้บริโภคกลายเป็นความท้าทายของแบรนด์และธุรกิจที่ต้องปรับตัวกับทัศนคติการเลือกซื้อสินค้าและการแสดงออกที่เปลี่ยนไป

การยึดหลัก One-size-fits-all หรือในแง่ของธุรกิจคือการตลาดแบบกลุ่มเป้าหมายคือคนทุกกลุ่มไม่สามารถใช้ได้อีกต่อไป แต่ต้องเรียนรู้ที่จะตอบสนองความต้องการของกลุ่มคนที่แตกต่างและมองหาจุดร่วมที่สามารถเชื่อมโยงระหว่างเจเนอเรชั่นให้เข้าถึงกันได้ จึงจะสามารถตอบโจทย์ความคนใจของลูกค้าได้อย่างตรงจุด

เตรียมพร้อมเข้าไปนั่งอยู่ในใจผู้บริโภคยุคใหม่

ท่ามกลางยุคที่ทุกสิ่งเชื่อมโยงเข้ากับดิจิทัล แบรนด์และธุรกิจที่จะเข้าไปนั่งอยู่ในใจผู้บริโภคยุคใหม่ต้องให้ความสำคัญกับจริยธรรมด้านข้อมูล การเข้าถึงข้อมูลที่โปร่งใส และทุกเรื่องต้องสามารถอธิบายได้อย่างเป็นเหตุเป็นผล

ลูกค้ายอมมอบข้อมูลส่วนตัวให้กับแบรนด์ สิ่งที่แบรนด์ต้องแลกเปลี่ยนคือการนำข้อมูลมาพัฒนาและปรับปรุงสินค้าและบริการให้ตอบโจทย์ความต้องการได้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นบริการ ความสะดวกสบาย หรือสิทธิประโยชน์พิเศษต่างๆ

นอกจากนี้สิ่งที่กลุ่มผู้บริโภคส่วนต้องเผชิญคือชีวิตที่เต็มไปด้วยความกดดันและรีบเร่ง ไม่ว่าจะเป็นหน้าที่การงาน ชีวิตส่วนตัว และสภาพสังคม จนเป็นสาเหตุของภาวะหมดไฟ (Burnout) ภายใต้ความรู้สึกที่ตัวเองไม่ดีพอและล้มเหลวอยู่บ่อยๆ

การมีตัวเลือกมหาศาลในชีวิตประจำวันทำให้ผู้บริโภคเหนื่อหน่ายต่อการตัดสินใจ จนเกิดแนวคิด “อะไรก็ได้ ขอให้ง่ายเข้าไว้” อาทิ สินค้าและบริการแนะนำที่ช่วยให้ผู้บริโภคตัดสินใจได้ง่ายขึ้น เทคโนโลยีที่ช่วยคาดการณ์พฤติกรรมและการตัดสินใจที่ตรงจุด

ราคาอาจไม่ได้เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดอีกต่อไป แต่ประสบการณ์การซื้อผลิตภัณฑ์ที่ไร้รอยต่อทางการตัดสินใจจะช่วยตอบโจทย์ความต้องการได้มากกว่า

อ้างอิง รายงาน Future Consumer 2021 จาก WGSN.com, TCDC