Site icon Thumbsup

ใช้ PR และ Influencer Marketing ในการทำงานร่วมกันในภาวะวิกฤตของแบรนด์

การตลาดด้วยอินฟลูเอนเซอร์เติบโตขึ้นจากเดิมที่มีมูลค่า 1.7 พันล้านดอลลาร์ในปี 2559 เป็น 16.4 พันล้านดอลลาร์ในปี 2565 จึงไม่เป็นที่น่าแปลกใจเลยที่การตลาดด้วยอินฟลูเอนเซอร์ได้กลายเป็นส่วนสำคัญของแนวทางการบริหารการประชาสัมพันธ์ของแบรนด์และการจัดการวิกฤตสำหรับแบรนด์ส่วนใหญ่

นักการตลาดไม่ควรลังเลที่จะมองออกไปนอกองค์กรเพื่อบรรเทาวิกฤติ หากใช้อย่างถูกวิธี อินฟลูเอนเซอร์สามารถโน้มน้าวความคิดเห็นของสาธารณชนต่อพวกเขาได้ ไม่ว่าวิกฤตจะเลวร้ายเพียงใด

ข้อมูลจาก IZEA แสดงให้เห็นว่า 62% ของผู้บริโภคไว้วางใจอินฟลูเอนเซอร์ ดังนั้น นอกเหนือจากการเป็นเครื่องมือในการสร้างแบรนด์ของคุณแล้ว อินฟลูเอนเซอร์ยังสามารถช่วยในการสร้างแบรนด์ใหม่ได้ด้วยการคืนความไว้วางใจบางส่วนที่อาจสูญเสียไปหลังจากการประชาสัมพันธ์ที่ผิดพลาด

การรับรู้ถึงแบรนด์เป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับธุรกิจขนาดเล็กและแบรนด์ใหม่ๆ นอกเหนือจากนี้ การรับรู้ถึงแบรนด์ก็มีความสำคัญในการจัดการวิกฤตเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นผลิตภัณฑ์ของบริษัทเองที่ทำลายชื่อเสียงของแบรนด์ และการใช้กระแสของอินฟลูเอนเซอร์จะช่วยทปรับปรุงผลการค้นหาเชิงลบเกี่ยวกับแบรนด์ได้

และส่วนสำคัญของการจัดการวิกฤตประชาสัมพันธ์คือความสามารถในการวัดการรับรู้ของผู้คนต่อแบรนด์แบบเรียลไทม์ ซึ่งการตลาดแบบอินฟลูเอนเซอร์จะช่วยให้แบรนด์ได้รู้ผลลัพธ์อย่างมีประสิทธิภาพ แบรนด์จึงสามารถควบคุมสถานการณ์วิกฤตได้ก่อนที่สถานการณ์จะลุกลาม และแบรนด์จะสามารถหาวิธีเปลี่ยนการเล่าเรื่องตามที่ต้องการได้

ด้วยผู้ติดตามจำนวนมาก พวกเขาสามารถช่วยให้แบรนด์ของคุณฝ่าฟันปัญหาได้ด้วยการปรับปรุงความไว้วางใจและความตระหนักรู้เกี่ยวกับแบรนด์ของคุณ สร้างการมีส่วนร่วมของผู้ชม และเพิ่มปริมาณการค้นหาในเชิงบวก สิ่งที่แบรนด์ต้องทำคือใช้เวลาในการค้นคว้าหาอินฟลูเอนเซอร์ที่เหมาะสมกับแบรนด์ เมื่อผสมผสานการประชาสัมพันธ์และการตลาดด้วยอินฟลูเอนเซอร์แล้วนั้น แบรนด์จะมีเครื่องมืออันทรงพลังที่จะช่วยในการผ่านพ้นอุปสรรคไปได้ด้วยดี

ที่มา : prezly.com