Site icon Thumbsup

ส่องสถานการณ์ E-Commerce ช่วงครึ่งปีหลัง

ต้องยอมรับว่าตลาดอีคอมเมิร์ซนั้น เจอผลกระทบจากผู้ให้บริการต่างชาติค่อนข้างมาก และยิ่ง 2 รายใหญ่อย่าง LAZADA และ Shoppee จัดกระหน่ำทุกโปรโมชั่นเพื่อดึงลูกค้ามาใช้งานออนไลน์มากขึ้น ยิ่งทำให้คนที่อยู่ในวงการนี้อยู่ยากและต้องมองหาโอกาสใหม่ๆ มากขึ้น และนี่คือสถานการณ์ครึ่งปีหลังที่ Priceza ประเมินมาให้อ่านกันค่ะ

นายธนาวัฒน์ มาลาบุปผา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท ไพรซ์ซ่า จำกัด ผู้ให้บริการเว็บไซต์และแอปพลิเคชัน “Priceza” เครื่องมือค้นหาสินค้าและเปรียบเทียบราคา (Shopping Search Engine) เปิดเผยข้อมูลสถิติเชิงลึกของไพรซ์ซ่าในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2561 พบว่า มีผู้เข้าเยี่ยมชมผ่านทั้งเว็บไซต์และแอปกว่า 70 ล้านครั้ง ขณะนี้จำนวนสินค้าบนแพลตฟอร์มเติบโตขึ้น 28% จากจำนวน 28 ล้านชิ้น ในช่วงปี 2560 เป็นจำนวน 36 ล้านชิ้นในปัจจุบัน

ต่างชาติเข้ามามาก

ถือเป็นการเติบโตอย่างมีนัยยะสำคัญ สาเหตุหลักที่ทำให้จำนวนสินค้าเหล่านี้เติบโตขึ้น มาจากกลุ่มอีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดน หรือ Cross border ทำให้การสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศทำได้ง่ายขึ้น ปัจจุบันมีฐานข้อมูลสินค้าประเภทนี้บนแพลทฟอร์มไพรซ์ซ่า 17 ล้านชิ้น หรือคิดเป็น 47% ของจำนวนสินค้าทั้งหมด

ครึ่งปีหลัง Marketplace จะยิ่งมีแนวโน้มแข่งขันกันดุเดือดขึ้น เพราะมีรายใหญ่จากต่างชาติ เริ่มบุกตลาดหนักขึ้น ขณะเดียวกัน รายที่เคยพักการทำตลาดในไทยก็หวนคืนสู่ตลาดประเทศไทยอีกครั้ง ยังไม่แน่ว่าอาจมีการทำ Cross border เกิดขึ้นเพิ่มเติมหรือไม่

ดังนั้น ผู้ประกอบการในธุรกิจอีคอมเมิร์ซจึงจำเป็นต้องปรับตัว เพิ่มกลยุทธ์และจุดขาย เพื่อรองรับการแข่งขันในช่วงครึ่งปีหลังนี้ รวมถึงการแข่งขันกับสินค้าข้ามพรมแดนจากต่างชาติ

สถิติต่างๆ

จากข้อมูลเชิงลึกของไพรซ์ซ่าครึ่งปีแรกยังพบอีกว่า ยอดสั่งซื้อสินค้าออนไลน์เฉลี่ยอยู่ที่ 1,702 บาท/ออเดอร์ ผ่านช่องทางเดสก์ท็อป Mobile Web และแอปพลิเคชัน ซึ่งการจ่ายผ่านเดสก์ท็อปยังคงมีตัวเลขที่มากกว่าช่องทางอื่นๆ อาจเพราะความสะดวกในการใช้จ่ายผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์หรือโน้ตบุค

จากตัวเลขดังกล่าวจะเห็นว่าค่าเฉลี่ยการใช้จ่ายผ่านช่องทางออนไลน์ของคนในยุคนี้ ไม่ได้เลือกที่ราคาสินค้าถูกหรือไม่ แต่ดูที่ความคุ้มค่าของสินค้ามากกว่า ว่าราคาสมเหตุสมผลกับราคาสินค้าหรือไม่ และพฤติกรรมของผู้ใช้งานนอกจากอ่านรีวิวและก็คือการเปรียบเทียบราคาก่อนซื้อทำให้ Priceza เติบโตอย่างรวดเร็ว

จากตารางด้านบนคือการเปรียบเทียบการค้นหาในสินค้าทุกประเภทระหว่างปี 2017 เทียบกับปี 2018 พบความเปลี่ยนแปลงคือ กลุ่มสินค้าประเภทของสะสมในปีที่แล้ว มีความนิยมสูงมาก มีการค้นหาเป็นอันดับ 1 ถึง 24% พอมาปีนี้กลับลดลงมาเหลือเพียง 7% เท่าน้ัน ในขณะที่กลุ่มสินค้าประเภทเสื้อผ้าแฟชั่น ซึ่งปีที่แล้วเป็นอันดับ 2 ของอันดับการค้นหา แต่ปีนี้กลับขึ้นมาเป็นอันดับที่ 1 โดยมีตัวเลขที่ 15% เท่าเดิม

แต่มีสินค้ากลุ่มยานยนต์ขึ้นมาเป็นอันดับ 2 แทน โดยมีส่วนแบ่งที่ 14% เพิ่มขึ้นมาจากปีที่แล้วถึง 5% มีเพียงกลุ่มโทรศัพท์เท่านั้น ที่ยังมีการค้นหาเป็นตัวเลขเท่าเดิมคือ 12% ส่วนคีย์เวิร์ดที่คนค้นหามากที่สุด ได้แก่

 เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ทั้งมาร์เก็ตเพลส ร้านค้า และผู้บริโภคในยุคที่การแข่งขันสูงขึ้น ไพรซ์ซ่า จึงได้จับมือพันธมิตรธนาคารชั้นนำ นอกจากไพรซ์ซ่าจะช่วยในเรื่องการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าให้ได้ราคาดีที่สุดแล้ว ไพรซ์ซ่ายังช่วยเรื่องการให้ข้อมูลการชำระเงินผ่านการช้อปปิ้งออนไลน์ที่หลากหลาย เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเลือกช่องทางการชำระเงินที่คุ้มค่าและได้สิทธิพิเศษสูงสุดด้วย

ทางด้านของ Priceza เอง ในปีนี้ก็ได้เพิ่มบริการ Priceza Money  (https://money.priceza.com) ซึ่งเป็นบริการเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ด้านการเงินและประกันภัย ด้าน ประกอบด้วย 

“เรามองเห็น Pain Point ของผู้คนหลายเรื่อง เช่น การทำประกันภัยรถยนต์ดั้งเดิมใช้เวลานาน และ 90% ของคนขับรถจะรู้สึกไม่สบายใจในการขับเมื่อประกันรถยนต์ขาด เราจึงมองหาแนวทางการพัฒนาแพลทฟอร์มของเราให้เชื่อมโยงกับโลกฟินเทค เพื่อแก้ไข Pain Point ของผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง”

ทางด้านเป้าหมายของ Priceza นั้น นอกจากประเทศไทยแล้ว เป้าหมายหลักประเทศต่อไป ที่จะให้ความสำคัญมากยิ่งขึ้นตั้งแต่ช่วงครึ่งปีหลังของปีนี้ คือประเทศอินโดนีเซีย เนื่องจากมีการคาดการณ์ว่า ในปี 2568 มูลค่าตลาดอีคอมเมิร์ซของประเทศอินโดนีเซียจะสูงถึง 44,000ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 1.45 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 50% ของมูลค่าตลาดอีคอมเมิร์ซในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นสัดส่วนที่สูงที่สุดในภูมิภาค