Site icon Thumbsup

การสำรวจยืนยัน บริษัทควรมอง ?ภาพลักษณ์ด้านบวก? เป็นภารกิจอันดับ 1

reputation2

ในการทำธุรกิจทุกประเภท ความน่าเชื่อถือ รวมไปถึงภาพลักษณ์และชื่อเสียงที่ดีนั้นเป็นสิ่งสำคัญที่ทุกแบรนด์ควรมี ซึ่งชื่อเสียงที่ว่านี้ไม่ได้หมายถึงชื่อเสียงของแบรนด์เพียงเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงชื่อเสียงของเจ้าของแบรนด์ด้วย โดยเว็บไซต์ Digitalfireflymarketing.com ในสหรัฐฯได้สำรวจความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อภาพลักษณ์และชื่อเสียงของแบรนด์ในการซื้อสินค้าออกเป็น Infographic ให้ได้ติดตามกัน

ผลการสำรวจพบว่าก่อนซื้อสินค้าผู้บริโภคส่วนใหญ่จะเสิร์ชหาข้อมูลเพื่อดูความน่าเชื่อถือของแบรนด์ โดยดูจากชื่อเสียงและความนิยม (Rating) ที่มาจากการรีวิวก่อนมากถึง 70% และยิ่งแบรนด์มีชื่อเสียงในด้านดีมากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งส่งผลต่อการตัดสินใจในการซื้อสินค้ามีง่ายมากขึ้นตามไปเท่านั้น ซึ่งผู้บริโภคกว่า 97% ที่เคยตัดสินใจซื้อสินค้าหลังจากการอ่านรีวิวก็ให้ความเห็นว่าเนื้อหาที่เคยอ่านในรีวิวค่อนข้างมีความถูกต้องและความแม่นยำ

และนอกจากความน่าเชื่อของแบรนด์ที่เกิดจากการรีวิวแล้ว ยังเกิดขึ้นจากการแนะนำของคนรู้จักใกล้ตัว รวมไปถึงบุคคลทั่วไปด้วยเช่นกัน ซึ่งหลักจากสอบถามจากผู้บริโภคส่วนใหญ่พบว่าการแนะนำจากคนรู้จักหรือคนใกล้ชิดจะดูมีน้ำหนักและดูน่าเชื่อถือมากที่สุดเป็นอันดับที่ 1 (90%) รองลงมาเป็นคำแนะนำจากบุคคลทั่วไป (70%) จากผู้เชี่ยวชาญ (27%) จากการโฆษณา (14%) และจากบุคคลที่มีชื่อเสียง (8%)

ดังนั้น แต่ละแบรนด์จึงควรให้ความสำคัญกับการดูแลภาพลักษณ์และชื่อเสียงให้ดีอยู่เสมอ การที่บางแบรนด์ไม่มีการจัดการที่ภาพลักษณ์ที่ดีนั้น เมื่อมีชื่อเสียงในด้านลบของแบรนด์เกิดขึ้น อาจส่งผลทำให้แบรนด์ตกอยู่ในภาวะวิกฤติได้เช่นกัน และยิ่งในยุคดิจิตอลที่อินเทอร์เน็ตมีการออนไลน์ 24 ชั่วโมงก็ยิ่งส่งผลทำให้ชื่อเสียงในด้านลบยิ่งกระจายไปในวงกว้างและยาวนานมากขึ้นตามไปด้วย

ดังนั้นสิ่งสำคัญที่ควรทำเพื่อเป็นการรักษาภาพลักษณ์และชื่อเสียงที่ดีของแบรนด์ให้ดีอยู่เสมอ คือการหมั่นเสิร์ชข้อมูลเกี่ยวกับแบรนด์ผ่าน Search Engine หรือยิ่งสะดวกไปกว่านั้นก็คือ การเปิดใช้บริการอย่าง Google Alerts ที่จะคอยแจ้งเตือนเมื่อมีการแสดงความคิดเห็นที่เกี่ยวกับแบรนด์ ซึ่งจะช่วยให้รู้ถึงความคิดเห็นของลูกค้าและยังช่วยให้สามารถจัดการกับการแสดงความคิดเห็นในด้านลบหรือส่งผลต่อภาพลักษณ์ของแบรนด์ได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย

และเมื่อมีข้อมูลด้านลบเกิดขึ้นมาแล้ว สิ่งสำคัญที่แบรนด์ควรทำก็คือ ขยันสร้างเนื้อหาด้านบวกขึ้นมาแทนที่ให้ได้เร็วที่สุด

ที่มา: Visual.ly