Site icon Thumbsup

เปิดข้อมูล E-Commerce คาดปี 2025 มูลค่าตลาดไทยใหญ่เป็นอันดับสองใน SEA

บริษัท iPrice บริษัทด้าน E-Commerce ใน 7 ประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เผยผลการศึกษาที่น่าสนใจเกี่ยวกับการตลาด E-Commerce ในประเทศไทย, เวียดนาม และมาเลเซีย โดยสามารถสรุปประเด็นการศึกษาได้ดังต่อไปนี้

ปี 2015 ตลาด E-Commerce ในประเทศไทยถือเป็นตลาดที่เล็กที่สุดเมื่อเทียบกับมาเลเซียและเวียดนาม แต่จากการคาดการณ์ในอีก 8 ปีนับจากนี้ (ปี 2025) ตลาด E-Commerce ในประเทศไทยจะโตขึ้นอย่างรวดเร็วด้วยอัตราเติบโต 29% ต่อปี จนมีขนาดใหญ่กว่าตลาด E-Commerce ของประเทศมาเลเซียและเวียดนาม โดยจะขึ้นเป็นที่สองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รองจากประเทศอินโดนีเซียอีกด้วย ซึ่งประเทศไทยจะมีขนาดอยู่ที่ 11.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ มาเลเซีย 8.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และเวียดนาม 7.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

จากการศึกษาข้างต้นนี้ได้เผยประเด็นการศึกษาที่น่าสนใจเกี่ยวกับ E-Commerce ในสามประเทศ โดยประเด็นที่นักการตลาดต้องจับตามองเกี่ยวกับเทรนด์ที่จะเกิดขึ้นในปี 2018 นี้ก็คือ จะมีการเข้ามาแข่งขันของบริษัทยักษ์ใหญ่อีกมากมายนี้จะช่วยให้ผู้บริโภคมีตัวเลือกที่มากขึ้น อีกทั้งยังได้รับสินค้าและบริการที่ดีขึ้นด้วย

ทั้งนี้ ร้านดังอย่าง Lazada จะยังคงครองตำแหน่งผู้นำตลาดในด้านของจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ ซึ่งรองทั้ง 4 อันดับในประเทศไทยได้แก่ 11Street, Shopee, Chilindo และ NotebookSpec จากการศึกษาพบว่า Lazada ยังขึ้นครองเป็นเจ้าตลาดทั้งในมาเลเซียและเวียดนามอีกด้วย

อย่างไรก็ตามเป็นที่น่าสนใจที่จำนวนผู้เข้าชม Lazada ในไทยมีมากกว่า 50% ของร้านค้าอื่นๆ กล่าวคือ Lazada ขึ้นครองใจคนไทยตลอดระยะเวลา 4-5 ปีในการทำตลาดที่ผ่านมา ในทางตรงกันข้ามกับประเทศเวียดนามที่ Lazada มียอดผู้เข้าชมเพียง 19% หมายความว่าคนเวียดนามนั้นยังมีร้านค้าดังอีกมายมายที่เป็นสัญชาติเวียดนามเอง เช่น Thế giới di động, Sendo เป็นต้น

คนไทยซื้อสินค้าจบในร้านเดียว เนื่องจากว่าร้านค้า E-Commerce ที่ให้บริการในประเทศไทยนั้น 45% เป็นร้านค้าที่ขายสินค้าแบบทั่วไป กล่าวคือเป็นร้านขายสินค้าหลากหลายประเภทไว้ในเว็บเดียว ซึ่งต่างจากมาเลเซีย ซึ่งเน้นไปทางแฟชั่น กว่า 60% ของเว็บ E-Commerce ในประเทศมาเลเซียเป็นร้านขายสินค้าแฟชั่น เนื่องจากว่าคนดังหรือเซเลบดาราในประเทศมาเลเซียนั้นหันมาปั้นแบรนด์แฟชั่นของตัวเองจนประสบความสำเร็จ โดยเน้นไปทางเสื้อผ้าแฟชั่นแบบมุสลิมเป็นหลัก

คนไทย engage กับแฟนเพจ Fanbook มากที่สุด

จากการศึกษาร่วมกับบริษัท Socialbakers ซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำด้าน Social Media นั้นพบว่าคนไทยมี engagement กับ Facebook Page สูงกว่าคนในประเทศมาเลเซียและเวียดนาม กล่าวคือคนไทยผูกพันกับแฟนเพจร้านขายสินค้าออนไลน์สูงกว่าเพื่อนบ้าน คนไทยนิยมกดไลค์ กดแชร์ และคอมเมนต์โพสต์ที่ทางเว็บเพจได้นำเสนอ 

โดย Interaction per 1000 fans ที่ใช้เป็นเครื่องมือวัดผล engagement นี้ ประเทศไทยมีค่าเฉลี่ยตั้งแต่ไตรมาส 3 ปี พ.ศ. 2016 – ไตรมาส 2 ปี พ.ศ. 2017 อยู่ที่ 237.6, มาเลเซีย 109 และเวียดนาม 208.9