Site icon Thumbsup

เปิดรายได้ “โรงเรียนเครือสารสาสน์” กับปัญหาระบบการศึกษาไทย

จากกรณีครูอนุบาลทำร้ายร่างกายเด็กอนุบาลในห้องหลายคน โดยคุณครูคนอื่นที่อยู่ในเหตุการณ์ไม่มีใครห้ามปราม จนเกิดกระแสความไม่พอใจให้กับและขยายประเด็นไปในวงกว้าง

ส่งผลให้สังคมตั้งคำถามถึงระบบการศึกษาไทยในเรื่องต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการบริหารจัดการ การคัดเลือกบุคลากรที่เข้ามาดูแลเด็กโดยไม่มีใบประกอบวิชาชีพ

บทความนี้จะพาไปสำรวจโรงเรียนเครือสารสาสน์ รวมถึงปัญหาของธุรกิจการศึกษาในภาพรวมครับ

โรงเรียนในเครือสารสาสน์ ผู้ก่อตั้งและเจ้าของโรงเรียนสารสาสน์ คือ “พิบูลย์ ยงค์กมล” และ “เพ็ญศรียงค์กมล” โดยปัจจุบันมีโรงเรียนในเครือ 45 แห่ง เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นเตรียมอนุบาลถึงอุดมศึกษา ประกอบไปด้วย หลักสูตรสองภาษา(Bilingual Programme) และหลักสูตรสามัญ (Regular Programme) หลักสูตรนานาชาติ หลักสูตรอาชีวศึกษา และอุดมศึกษา ในปี ..2562 มีนักเรียนในเครือสารสาสน์ทั้งหมด 91,500 คน

ด้วยการเรียนในหลากหลายรูปแบบทำให้ค่าธรรมเนียมของแต่ละโปรแกรมนั้นแตกต่างกันออกไปซึ่งในส่วนของโรงเรียนสารสาสน์วิเทศราชพฤกษ์นั้น ถ้าอิงข้อมูลค่าธรรมเนียมในเครือโรงเรียนสารสาสน์ จะประมาณดังนี้ 

ค่าธรรมเนียมการศึกษาในส่วนของระดับอนุบาล 1 ภาคเรียนแรก 22,500 บาท ภาคเรียนที่สอง 18,500 บาท  สำหรับโปรแกรม IEP ภาคเรียนแรก 61,000 บาท ภาคเรียนที่สอง 53,000 บาท ส่วนชั้นอื่นๆ ค่าเทอมหลักสูตรสามัญโดยเฉลี่ยจะอยู่ราวหมื่นต้น ๆ ค่าเทอมหลักสูตรสองภาษาราง 3 หมื่นบาท และหลักสูตรอินเตอร์จะอยู่ที่ 5-6 หมื่นบาท

สำหรับรายได้ โรงเรียนในเครือสารสาสน์ ทั้งหมด พบว่ามีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี ดังนี้

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมสูงอายุด้วยโครงสร้างประชากรที่มีอายุเฉลี่ยสูงขึ้น บวกกับครอบครัวยุคใหม่นิยมมีลูกน้อยลง หลายคนคงคิดว่าธุรกิจการศึกษาคงจะซบเซาลง แต่ด้วยด้วยปริมาณที่น้อยลงทำให้สามารถเพิ่มคุณภาพได้ พ่อแม่ยุคใหม่ยอมจ่ายเพื่อให้ลูกได้รับการศึกษาที่ดีที่สุด

โรงเรียนเครือสารสาสน์ไม่ได้วางตำแหน่งของโรงเรียนไว้สูงมากแต่เน้นที่จำนวนสาขาและจำนวนหลักสูตรที่หลากหลาย เพื่อให้สามารถเข้าถึงกลุ่มผู้ปกครองชนชั้นกลางไปจนถึงชนชั้นกลางสูง โดยเฉพาะหลักสูตรอินเตอร์เมื่อเทียบกับค่าเทอมโรงเรียนนานาชาติแล้วค่าเทอมของสารสาสน์ตอบโจทย์ได้มากกว่า

ทั้งนี้ การบริหารโรงเรียนคงมองแต่ในมุมของธุรกิจไม่ได้เพราะต้องอาศัยความทุ่มเท ความเอาใจใส่ของบุคลากรอย่างมาก โดยเฉพาะครูที่อยู่กับเด็กอย่างใกล้ชิด ทุกคำพูด การกระทำจะส่งผลต่อพฤติกรรมและทัศนคติของเด็กในอนาคต ซึ่งเป็นสิ่งที่ระบบการศึกษาไทยต้องให้ความสำคัญมากกว่าเดิม

อ้างอิง กรมธุรกิจการค้า, กรุงเทพธุรกิจ, sarasasektra