Site icon Thumbsup

ภาพรวมการค้นหาบน Google ตลอดปี 2021

การค้นหาข้อมูลตลอดปี 2021 ถือว่าเป็นอีกปีหนึ่งที่คนไทยและทั่วโลกใชัดิจิทัลกันมากขึ้น สะท้อนให้เห็นว่าพฤติกรรมของผู้บริโภคได้เปลี่ยนไปอย่างถาวร Google ได้จัดทำรายงาน Year in Search ของประเทศไทย ประจำปี 2021 เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลการค้นหาตลอดทั้งปีที่ผ่านมา เผยให้เห็นข้อมูลเชิงลึกที่สำคัญ 5 ประการเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้บริโภคในประเทศไทยได้อย่างน่าสนใจ

5 เทรนด์หลักของผู้บริโภคไทย

ปี 2021 กลายมาเป็นปีที่คนทุกช่วงวัยได้รับรู้แล้วว่า โลกออนไลน์นั้นจะอยู่กับเราอย่างถาวร ดังนั้น ผู้บริโภคในประเทศไทยจึงหันมาปรับตัวสู่ไลฟ์สไตล์ที่เน้นดิจิทัลเป็นหลัก และคาดหวังให้แบรนด์นำเสนอสินค้าและบริการต่างๆ บนโลกออนไลน์กันมากขึ้น

ธุรกิจรูปแบบใหม่และผู้ใช้รายใหม่บนโลกออนไลน์:

ช็อปปิ้งออนไลน์เป็นแพลตฟอร์มหลัก:

ดิจิทัลกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน:

นอกจากการช็อปปิ้งออนไลน์แล้ว คนไทยยังคุ้นเคยกับการใช้ชีวิตผ่านหน้าจอมากขึ้นด้วย โดยการค้นหาแสดงให้เห็นถึงความเต็มใจที่จะลองซื้อสินค้าหรือบริการต่างๆ ที่พวกเขาเคยซื้อผ่านช่องทางออฟไลน์บนโลกออนไลน์ และการค้นหาคำว่า “หาหมอออนไลน์” เพิ่มขึ้น 122%

คำแนะนำ:

ณ ขณะนี้ตลาดออนไลน์มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ธุรกิจจึงจำเป็นต้องมีรูปแบบการดำเนินการที่คล่องตัวมากขึ้นเพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับสิ่งต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ไม่ใช่แค่เพื่อรับมือกับโรคโควิด-19 เพียงอย่างเดียว

ปี 2021 เป็นปีที่ผู้คนเริ่มตระหนักได้ว่าการเปลี่ยนแปลงบางอย่างไม่ได้เกิดขึ้นเพียงชั่วคราว ส่งผลให้พวกเขาหันมาทบทวนวิถีชีวิตและคุณค่าของตัวเองกันใหม่ พฤติกรรมของผู้คนเลิกตกแต่งสถานที่ทำงาน แต่หันมาเลือกเปลี่ยนสถานที่ทำงานแทน การค้นหา “work from hotel” (การทำงานจากโรงแรม) จึงเพิ่มขึ้นถึง 1600%

การเงินส่วนบุคคลยังคงเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคไทยคำนึงถึงเป็นอันดับแรก พวกเขาแสวงหาความรู้ด้านการเงินด้วยตัวเอง และสนใจการลงทุนรูปแบบใหม่ๆ ทำให้การค้นหา “Cryptocurrency” เพิ่มขึ้น 263%

แนวทางการดูแลตัวเองของผู้บริโภคได้เปลี่ยนจากการหาวิธีแก้ไขชั่วคราวมาเป็นการดูแลสุขภาพในระยะยาวด้วยการดูแลตัวเองจากภายใน การค้นหา “Vitamin D” เพิ่มขึ้น 87%

คำแนะนำ:

เมื่อผู้บริโภคเริ่มทบทวนทางเลือกต่างๆ กันใหม่ ธุรกิจก็ควรปรับเปลี่ยนวิธีสื่อสารคุณค่าที่ตนนำเสนอ ให้แก่ทั้งผู้บริโภคและพนักงานของตนเอง

ผู้บริโภคเริ่มหาวิธีในการแสดงออกถึงตัวตนและพัฒนาความสัมพันธ์ระยะยาวที่ลึกซึ้งขึ้นกว่าเดิม มากกว่าแค่การใช้เวลาร่วมกันในระยะเวลาสั้นๆ ไม่ว่าจะทางออนไลน์หรือออฟไลน์

อย่างไรก็ตาม ระยะทางไม่สามารถทำให้ผู้คนหยุดแสดงความรักที่มีต่อกันได้ เราเห็นคนไทยหันมาใช้เทคโนโลยีเพื่อติดต่อสื่อสารกับคนที่รัก

เมื่อเทคโนโลยีทำให้ผู้คนเชื่อมต่อถึงกันในวิธีใหม่ นอกจากนี้ผู้คนยังได้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีในการทดแทนประสบการณ์ออฟไลน์ผ่านโลกออนไลน์อีกด้วย

คำแนะนำ:

แบรนด์ที่ไม่ได้ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลให้เป็นประโยชน์จะพลาดโอกาสสร้างและพัฒนาความสัมพันธ์อันลึกซึ้งกับลูกค้า ที่ทั้งแบรนด์และลูกค้าจะได้รับประโยชน์และเติบโตไปพร้อมกันผ่านความสัมพันธ์นี้

นอกจากเพิ่มความระมัดระวังและรอบคอบในการตัดสินใจมากขึ้น ผู้บริโภคยังมุ่งเน้นการเสาะหาแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้มากขึ้นด้วย โดยผู้บริโภคเลือกใช้ Search เป็นตัวช่วยในการตรวจสอบข้อเท็จจริง พิจารณาค่านิยมของแบรนด์ และยืนยันความน่าเชื่อถือของแบรนด์ที่เลือกใช้

ผู้บริโภคในประเทศไทยหันมาใส่ใจกับการค้นหาความจริงจนกลายเป็นนิสัย และ Search สะท้อนให้เห็นถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป

ผู้บริโภคทุกวันนี้คาดหวังที่จะได้รับความมั่นใจตลอดเส้นทางการซื้อ ความแท้ของสินค้าและความน่าเชื่อถือคือหนึ่งในเรื่องที่ผู้บริโภคไทยให้ความสำคัญ การค้นหาคำว่า “เชื่อถือได้ไหม” เพิ่มขึ้น 72%

คำแนะนำ:

ความเชื่อใจเป็นคุณสมบัติสำคัญที่สุดของแบรนด์ ลูกค้าคาดหวังว่าอย่างน้อยที่สุดแบรนด์ควรดำเนินกิจการอย่างโปร่งใสและจริงใจ

ผู้คนมองหาความช่วยเหลือจากโลกอินเทอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็น ผู้ที่ใช้อินเทอร์เน็ตอยู่แล้วหรือผู้ใช้รายใหม่ที่มีความต้องการพื้นฐานมากขึ้น ผู้บริโภคต่างก็กำลังค้นหาวิธีเอาชนะอุปสรรคที่เผชิญอยู่

เนื่องจากปัจจุบันเราพึ่งพาโลกออนไลน์ในการเติมเต็มความต้องการมากขึ้น ผู้ด้อยโอกาสในสังคมจึงต้องการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตที่ราคาเป็นมิตร ในขณะที่ผู้ที่เข้าถึงโอกาสได้มากกว่าจะสนใจในเทคโนโลยีใหม่ๆ

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้ผู้คนจำนวนมากต้องกลายเป็นคนว่างงาน และหันมาใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อหาเงินมาใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน

คำแนะนำ:

การสร้างความเปลี่ยนแปลงที่แท้จริงไม่ใช่แค่การส่งเสริมความหลากหลายและการไม่แบ่งแยกเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการสร้างความเสมอภาคด้วย หากแบรนด์ต้องการเข้าถึงลูกค้า แบรนด์จำเป็นต้องทำมากกว่าแค่การสะท้อนสังคม โดยจะต้องลงมือทำอะไรบางอย่างเพื่อเปลี่ยนแปลงสังคมด้วย

รายงานนี้ยังได้เจาะลึกถึงเทรนด์และโอกาสต่างๆ ใน 5 อุตสาหกรรมหลัก ซึ่งได้แก่ ยานยนต์ สินค้าอุปโภคบริโภค การเงิน สื่อและโทรคมนาคม และการช็อปปิ้ง อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม