Site icon Thumbsup

วิธีสร้างบทความ SEO ให้ติดหน้า1 ของการค้นหา #สำหรับมือใหม่

บทความ SEO เป็นเหมือนบทความรู้ใจที่ช่วยสร้างแรงดึงดูดกับกลุ่มเป้าหมายให้เข้ามาในเว็บไซต์ของเรา เป็นเหตุผลที่หลายคนมักตามหา Content SEO เพราะไม่ใช่แค่เขียนบทความขึ้นมาเฉยๆ แต่ยังมีรายละเอียดตั้งแต่น้อยถึงมากใส่ในบทความ เพื่อให้ติดหน้า 1 ของการค้นหาเรื่องนั้น

วันนี้เราจึงจะมาสรุปวิธีสร้างบทความ SEO ฉบับมือใหม่อ่านง่าย รับรองว่าถ้าทำตาม จะช่วยให้เขียนบทความ SEO ดีขึ้นแน่นอน

เราจะเขียนเรื่องอะไร

ไม่ต้องคิดประเด็นอื่นให้ยุ่งยากเลยนะคะ แค่ประเด็นเราจะเขียนเรื่องอะไรก็มีกระบวนการคิดสนุกๆ แล้ว  อย่างแรกเราต้องวาง Outline ก่อนว่า ไอ้เรื่องที่เขียนมีหัวข้อไหนบ้าง คล้ายๆ กับวางสตอรี่หนังสักเรื่อง จะให้มีจุดเริ่มต้นยังไง มีจุด Climax ตรงไหนบ้างและจบสวยๆ ว่าอะไร

ซึ่งการวาง Outline นี้จะช่วยผูกเรื่องตั้งแต่เริ่มต้นจนจบให้น่าติดตาม ซึ่งถ้าใครอยากฝึกแนะนำอ่านบทความแนวสัมภาษณ์ค่ะ เพราะเป็นบทความที่ต้องทำการบ้านเรื่องวางสตอรี่มากๆ ลองอ่านไปเรื่อยๆ เราจะเริ่มจับ Outline ของคนเขียนได้และนำวิธีมาปรับใช้กับงานของเราค่ะ

หา Keyword ไม่ใช่เรื่องยาก

ส่วนนี้จะแบ่งได้ 2 แบบนะคะ คือเราเขียนบทความเพื่อซัพพอร์ต Keyword หรือเขียนเรื่องนี้แล้วใช้ Keyword มาซัพพอร์ต ทั้งสองแบบนี้จะคล้ายกันต่างกันที่เหตุผลของการสร้างบทความเฉยๆ ค่ะ

Keyword นี้ก็เหมือนแม่เหล็ก ยิ่งเราหย่อนแม่เหล็กลงในบทความเท่าไหร่รวมถึงเเตกประเด็น Keyword คนก็ยิ่งเข้ามาอ่านเยอะขึ้นเท่านั้น และเมื่อคนอ่านเยอะขึ้น คะแนนบทความเราก็จะค่อยๆ สูงขึ้นจนมาสู่หน้าหนึ่งของการค้นหาทันที ซึ่งการจะหา Keyword  ไม่ใช่เรื่องยากเลยค่ะ

เรารวบรวมในบทความนี้แล้วเป็นโปรแกรมที่ช่วยค้นหา Keyword Free https://thumbsup.in.th/2019/03/keyword-free/ ลองไปใช้กันดูนะคะ

เขียนเหมือนคนรู้ใจก็ติดอันดับ 1 ได้

เคยอ่านบทความแล้วรู้สึกถูกดึงเข้าไปอีกโลกนึงมั้ยคะ มันเหมือนเราถูกมอมเมาด้วยภาษาที่เขียน รู้ตัวอีกทีก็อ่านไม่หยุดแล้ว ซึ่งวิธีง่ายๆ คือในระว่างที่เราเขียนให้นึกว่า คนอ่านต้องการอะไร เพื่อให้เราเขียนบทความได้ตอบสนองคนอ่าน ไม่ว่าจะอ่านตรงไหนก็รู้ใจมีคำตอบไปซะหมด

วิธีนี้สำคัญอันดับ 1 เลยนะคะ ถ้าฝึก Mindset แบบนี้ได้บทความติดอันดับ 1 รัวๆ แน่นอน เพราะมันคือการเขียนคำตอบที่คนอ่านอยากรู้และมอบสิ่งที่เหนือกว่าให้คนอ่านเพิ่มอีก

 

ทั้ง 3 กระบวนการนี้เป็นเทคนิคที่ตนเองและเพื่อนๆ สายคอนเทนต์ใช้แล้วเวิร์คนะคะ เลยเอามาแชร์กัน สำคัญกว่าทุกอย่างคือลงมือทำค่ะ เทคนิคมากมายไม่ช่วย ถ้าไม่เกิดการลงมือทำจริงๆ เพราะภาษาจะพัฒนาเมื่อซ้อมบ่อยๆ ไม่ต่างจากการทำกิจกรรมอื่นๆ เลย ใครมีเทคนิคอะไรเพิ่มมาแบ่งปันกันได้เลยนะคะ