Site icon Thumbsup

เราเรียนรู้อะไรจากปรากฏการณ์ SimSimi

มันกวนมาก! มันฮาดี! มันขำอ่ะ! มัน?..มาก! (บ่นอะไรแนวหยาบคาย) มีกันให้เห็นครบ บนสังคมออนไลน์ทั้ง Twitter, Facebook รวมถึงเม้ามันส์กันในกลุ่มเพื่อนๆ บน Whatsapp ว่า ?ลอง app นี้ยัง? ตลกดีนะ? จะเป็นอะไรไปไม่ได้นอกจากบริการที่มีชื่อว่า SimSimi ที่สร้างเสียงหัวเราะได้ในช่วงวันหยุดที่ผ่านมา

ก่อนอื่นขอคาดหัวก่อนนะคะว่า app นี้ 17+ เพราะมีคำที่ไม่เหมาะสมกับคุณหนูๆ ทั้งหลาย ^^ โผล่มาให้เห็นได้ SimSimi เป็น app ที่พัฒนาโดยบริษัท ISMAKER จากแดนโสมซึ่งมีความชำนาญในการพัฒนา app แนวถามตอบด้วย bot โดยเฉพาะค่ะ มีทั้งบน iOS, android ?เว็บฯ รองรับได้หลายภาษา

เมื่อพูดถึงบริการแนวถามตอบด้วย bot เราอาจเคยได้ยินอย่างบ้านเราเช่น abdul ที่พัฒนาโดยเนคเทค และ Bugham อยากรู้อะไร?ถามบักหำ ที่เล่นผ่าน? Windows Live Messenger ?แต่ความต่างของ SimSimi และกลายเป็นจุดเด่นของมันนั่นก็คือการที่เปิดให้ใครๆ ก็เข้ามาร่วมด้วยช่วยสอน bot ในการพูดคุยและตอบสิ่งที่เราถามไปในแนวบันเทิง (ไม่ใช่เป็น app แนวเครื่องมือช่วยเหลือและไม่ได้เก่งขนาดใช้ซอฟแวร์ AI (Artificial Intelligence)) ซึ่งแน่นอนว่าคราวนี้ก็สนุกมือคนสอนเลยทีเดียว มีทั้งประโยคขบขัน กวนๆ และบางอันก็ไม่สุภาพอย่างหนัก

เพียงในระยะเวลาอันสั้นก็มีคนเล่นกันมากมาย ฮอตฮิตติดเทรนด์บน Twitter ไปเป็นที่เรียบร้อย (29/01/2012) ด้วย Hashtag ชื่อเดียวกับ app คือ #Simsimi ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการเล่าประสบการณ์ว่าเล่นแล้ว bot ตอบอะไรมา ชนิดทิ้งห่างอันดับ 2 ออกไปอย่างไม่เห็นฝุ่น ในขณะที่ Facebook คนก็จับหน้าจอแล้วโพสบน Wall กันอย่างสนุกสนาน เป็นปรากฎการณ์บนโลกสังคมออนไลน์สนุกๆ ในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาค่ะ

เราเรียนรู้อะไรจากข่าวนี้

กระแสมาจากไหน?

การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่อาศัยแรงขับเคลื่อนจากฝูงชน (Crowd) นั้น เกิดขึ้นมาพร้อมๆ กับยุคของ Web 2.0 เป็นโมเดลที่เปิดให้คนเข้ามาร่วมสร้างคอนเทนต์ได้ (User Generated Content) ในรูปแบบที่แตกต่างกันตามจุดประสงค์ของแต่ละบริการ

Chatting Robot อย่าง SimSimi ก็เป็นลักษณะเช่นนั้น เปิดให้คนมาร่วมด้วยช่วยสอน bot เพิ่มความหลากหลายของคำตอบด้วยตัวผู้ใช้เองในแต่ละประเทศ ไม่ได้ถูกจำกัดเพียงแค่เนื้อหาจากผู้พัฒนา เมื่อปล่อยให้ผู้ใช้เป็นคนสร้างคอนเทนต์สิ่งที่ตามมาคือ การสร้างประโยคและคำที่เกิดจากอารมณ์และใช้พูดกันจริงๆ ยิ่งธรรมชาติมนุษย์เมื่อเจอเรื่องราว ขำๆ กวนๆ ฮาๆ ก็จะกลายเป็นเรื่องเล่ากันปากต่อปาก เป็นปัจจัยสำคัญสามารถสร้างกระแสได้ในช่วงระยะเวลาอันสั้นทั้งบน Twitter Timeline (มี @SimSimiTH เสียด้วย :P) และ Facebook Wall ในขณะที่รูปแบบธุรกิจของ Simsimi app ไม่ได้มีอะไรซับซ้อนเลย เน้นหารายได้จากการโฆษณาโดยติด AdChoices เข้าไป อย่างไรก็ตามบ้านเราลืมง่ายค่ะ เดิ๊ยวแป๊ปๆ กระแสมันก็ค่อยๆ ซาไปตามปกติ ถ้ามันไม่มีอะไรใหม่ๆ เข้ามา

สิ่งที่ควรระวัง

อย่างไรก็ตามการเปิดให้ใครเข้ามาเขียนอะไรก็ได้ ก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียไม่ว่าจะเป็นบริการไหนๆ ในยุค Web 2.0 ทั้งนั้น โอกาสที่จะเจอคำไม่เหมาะไม่ควรก็มีมาก ดังนั้น Simsimi จึงได้มีการเพิ่มฟีเจอร์ให้กับผู้ใช้ในการรายงานประโยคและคำที่ไม่เหมาะสมด้วยเช่นกัน เล่นเอาสนุก ขำขันคงพอได้ แต่ก็ระวังอย่าให้คุณน้องๆ หนูๆ เผลอไปเล่น เพราะถ้าเจอ bot ตอบอะไรมาชนิดผู้ใหญ่ฟังแล้วยังหนาว ถ้าเจอเด็กชอบลอกเลียนแบบคราวนี้จะหนาวยิ่งกว่า 😛