Site icon Thumbsup

การมาถึงของ “ลำโพงอัจฉริยะ” กับ 3 ความท้าทายที่นักการตลาดไม่ควรพลาด

การออกมาประกาศตัวว่าจะพัฒนาลำโพงอัจฉริยะที่มาพร้อมผู้ช่วยดิจิทัลให้กับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในเครือของแสนสิริ (คอนโดมิเนียมเซกเมนต์บี) เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมาเป็นอีกหนึ่งเหตุการณ์ที่น่าสนใจไม่น้อยสำหรับแวดวงธุรกิจบ้านเรา ส่วนหนึ่งก็คือการช่วยเสริมภาพลักษณ์ให้กับแสนสิริในการทรานสฟอร์มองค์กรสู่ยุคดิจิทัลดังที่ปรากฏมาตลอดทั้งปี และอีกส่วนหนึ่งก็หมายถึงแสนสิริและนักการตลาดกำลังจะมีเวทีใหม่ที่ท้าทายมากขึ้น กับโลกของการสั่งการด้วยเสียง

หากย้อนหลังไปดูจะพบว่า การปรากฏตัวของลำโพงอัจฉริยะที่เป็นอิมแพคต่อตลาดนั้นถือกำเนิดขึ้นโดยค่าย Amazon กับการเปิดตัว Echo ขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2015 ก่อนจะตามมาด้วยลำโพงอัจฉริยะจากค่ายคู่แข่งอย่าง Google Home (2016) และ Apple HomePod เมื่อเร็ว ๆ นี้ (2017)

โดยในประเทศสหรัฐอเมริกานั้น ข้อมูลจากรายงานของ Smart Audio Report และ Edison Research พบว่า ปัจจุบันมีผู้ใช้ลำโพงอัจฉริยะในบ้านแล้วมากกว่า 7% หน้าที่หลัก ๆ ของมันนอกจากเปิดเพลง เช็คสภาพอากาศ สภาพการจราจรก็คือ ช่วยในการสั่งซื้อสินค้า

หลายคนอาจแย้งว่าสภาพตลาดของสหรัฐอเมริกาและประเทศไทยนั้นแตกต่างกัน แต่หากพิจารณาจากข้อมูลในงานแถลงข่าวของแสนสิริเมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมาจะพบว่า ความสามารถระยะยาวที่ แสนสิริ AI box จะทำได้นั้นแทบไม่ต่างกับสิ่งที่ลำโพงอัจฉริยะในสหรัฐอเมริกาทำได้เลยแม้แต่น้อย

ถ้าเช่นนั้นแล้ว ก่อนที่ “แสนสิริ AI box” จะออกมาวาดลวดลายกันในปีหน้า (กำหนดคือไตรมาสสองของปี 2018) เราจะชวนไปดูความเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภคในสหรัฐอเมริกากันว่าหลังจากมีลำโพงอัจฉริยะแล้วชีวิตของพวกเขาเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง ดังนี้


ประเด็นของผู้บริโภคที่ให้ความสำคัญกับสิ่งที่เป็นแค่ลำโพงว่าเริ่มมีบทบาททัดเทียมเพื่อนนั้นนั้นเป็นเรื่องที่น่าสนใจ แต่สำหรับนักการตลาดแล้ว สิ่งที่น่าสนใจมากกว่าอาจเป็นเรื่องของพฤติกรรมการช้อปปิ้งผ่านลำโพงอัจฉริยะที่ Smart Audio Report พบว่า

ดังนั้นสำหรับนักการตลาดแล้ว นี่จึงเป็นโอกาสดีที่จะเตรียมตัวรับการมาถึงของเทคโนโลยีการสั่งการด้วยเสียง รวมถึงการให้ความรู้ – สอนวิธีใช้งานเพื่อให้ผู้บริโภคได้รับประสบการณ์จากแบรนด์อย่างถูกต้อง เช่น หากเราต้องการให้มันเปิดเพลงจากสถานีวิทยุให้ฟัง เราอาจต้องบอกให้ผู้บริโภคระบุข้อมูลให้ละเอียดมากกว่าเดิม ไม่เช่นนั้นมันอาจดึงบริการอื่นที่มีชื่อเดียวกันขึ้นมาเสนอแทนก็เป็นได้

สองก็คือ การมาถึงของลำโพงอัจฉริยะจะทำให้บ้านที่มีสมาชิกมากกว่า 1 คนกลับมารวมตัวกันและทำกิจกรรมร่วมกันได้มากกว่าเดิม ซึ่งนั่นจะทำให้รูปแบบของการแยกย้ายกันไป หูฟังใครหูฟังมันหมดไปด้วย เมื่อเป็นเช่นนี้ รูปแบบการจูงใจผู้บริโภคด้วยวิธีเดิม ๆ อาจไม่ได้ผลอีกแล้ว เพราะเราอาจต้องจูงใจคนทั้งบ้านให้ได้พร้อมกัน การซื้อจึงจะเกิดขึ้น

ผลการวิจัยยังพบด้วยว่า 31% ของผู้ใช้ลำโพงมีการสั่งซื้อสินค้ามากขึ้นบน Amazon และ Google นับตั้งแต่พวกเขามีลำโพงในบ้าน ซึ่งสำหรับตลาดไทยแล้ว อาจหมายถึงเราจะได้เห็นการจับมือกันมากขึ้นระหว่างผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์กับธุรกิจต่าง ๆ เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการของตนเองบนแพลตฟอร์มของ AI box นั่นเอง 

ข้อมูลประกอบ NPR