Site icon Thumbsup

Softbank ครองแชมป์จ่ายค่าธรรมเนียมธนาคารเยอะสุดของปี 2561

หากพูดถึงธนาคารที่มีการลงทุนในกลุ่มธุรกิจสตาร์ทอัพมากที่สุดในปีที่ผ่านมา คงหนีไม่พ้น Softbank ที่เรียกว่าเป็นนักลงทุนที่หว่านเม็ดเงินเพื่อเข้าไปถือหุ้นในธุรกิจต่างๆ มากที่สุด และแน่นอนว่าการควักเงินจ่ายจำนวนมหาศาลนั้น คงหนีไม่พ้นการจ่ายค่าธรรมเนียมธนาคารให้การโอนเงินไปให้บริษัทและธุรกิจต่างๆ โดยปีที่ผ่านมา Softbank ต้องเสียค่าธรรมเนียมธนาคารไปเกือบ 900 ล้านเหรียญกันเลยทีเดียว

ธนาคารยักษ์ใหญ่สัญชาติญี่ปุ่นแห่งนี้ บริหารงานโดยมหาเศรษฐีที่ชื่อว่า Masayoshi Son โดยในปีที่ผ่านมา เขาต้องจ่ายค่าธรรมเนียมธนาคารกว่า 894 ล้านเหรียญเพื่อการลงทุนในธุรกิจรายย่อยประเภทต่างๆ ทั่วโลก

ข้อมูลจากสถาบันการเงิน Refinitiv ระบุว่า บริษัทได้เป็นที่ปรึกษาในการให้บริการ ด้านแนะนำการลงทุนและเข้าซื้อกิจการต่างๆ รวมไปถึงการชำระค่าธรรมเนียมธนาคาร

แต่เม็ดเงินที่ Softbank จ่ายไปนั้น ยังไม่ถือว่าเป็นยอดรวมค่าใช้จ่ายที่สูงที่สุดเมื่อเทียบกับบริษัทอื่นๆ ที่เคยเสียค่าธรรมเนียมนี้มาก่อน

นอกจากนี้ Bayer บริษัทด้านเวชภัณฑ์ยักษ์ใหญ่ สัญชาติเยอรมัน ก็เป็นอีกรายที่ควักเงินจ่ายค่าธรรมเนียมในการทำธุรกิจครั้งล่าสุด ไปถึง 384 ล้านเหรียญ ทิ้งห่าง Softbank ถึง 57% เลยทีเดียวและในปีนี้ก็ยังไม่มีบริษัทใดที่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมสูงใกล้กับ Softbank เลย

ก่อนหน้านี้ เคยมีธุรกิจที่ต้องจ่ายธรรมเนียมธนาคารสูงๆ เช่นกัน โดยเม็ดเงินดังกล่าว อยู่ที่ประมาณ 800 ล้านเหรียญ  นั่นคือ Citi Group ที่ต้องจ่ายเงินค่าธรรมเนียมธนาคารกว่า 813 ล้านเหรียญในการปรับโครงสร้างธุรกิจการเงินเพื่อแก้วิกฤตภายในที่เคยเกิดขึ้น

ไม่เพียงแค่นั้น หน่วยงานภาครัฐ ของสาธารณรัฐประชาชนจีนเอง ก็เคยควักเงินจ่ายค่าธรรมเนียมเกือบ 1.3 พันล้านเหรียญในปี 2561 แต่ก็ยังน้อยกว่าที่เคยจ่ายปี 2560 ที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมดังกล่าวสูงถึง 1.5 พันล้านเหรียญ

ค่าธรรมเนียมจ่ายทำไม

หลายคนคงสงสัยว่าค่าธรรมเนียมเหล่านี้มาจากไหน ทำไมต้องจ่าย โดยค่าธรรมเนียมธนาคารที่เล่ากันมานี้ ส่วนใหญ่เกิดจากค่าดำเนินงานระหว่างหน่วยงาน ที่ต้องจ่ายให้แก่ธนาคารกลางเพื่อเป็นการรับประกันว่า จะมีเงินทุนในการชำระหนี้และเป็นหลักประกันว่าจะไม่ทิ้งทุ่น หากธุรกิจที่เข้าซื้อกิจการนั้นมีปัญหา ถือว่าเป็นเงินกองกลาง เพื่อให้นักลงทุนมั่นใจว่าจะไม่เสียผลประโยชน์ ขณะเข้าไปควบรวมกิจการหรือเข้าซื้อธุรกิจรายย่อย

แต่ Softbank ก็ยังมั่นใจที่จะใช้เงินอีกกว่า 100 พันล้านเหรียญในการเข้าไปลงทุนกองทุนและเข้าซื้อกิจการธุรกิจรายย่อยที่น่าสนใจทั่วโลก

สำหรับการลงทุนในปี 2561 ที่ผ่านมานั้น แบ่งเป็น การลงทุนใน Wework มูลค่ากว่า 2,000 ล้านเหรียญ และ 3,000 ล้านเหรียญสำหรับบริการจัดส่งอาหารในเครืออาลีบาบา อีก 2.3 พันล้านเหรียญในกลุ่มธุรกิจ Cruise Automation ของ GM และอีก 2,000 ล้านเหรียญสำหรับ Coupang บริษัทอีคอมเมิร์ซของเกาหลีใต้

แน่นอนว่าผู้ได้รับผลประโยชน์ไปเต็มๆ คือ ธนาคาร Mizuho ของญี่ปุ่น กลุ่ม Sumitomo Mitsui Financial และ Nomura ซึ่งได้รับเงินกว่า 319 ล้านเหรียญจาก Softbank

ทำความรู้จัก Goldman สักหน่อย

Goldman ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2560 เป็นทีมที่เน้นสร้างรายได้ให้แก่ธนาคาร โดยจะลงทุนกับกลุ่มลูกค้าที่มีขนาดใหญ่ และนำเงินจาก Softbank เข้าไปลงทุนในกลุ่มธุรกิจต่างๆ ถือว่าเป็นอีกหนึ่งการลงทุนที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในการดำเนินธุรกิจของ Softbank

 

ที่มา : Business Insider