Site icon Thumbsup

SuperSport ทุ่ม 50 ล้านบาท ดึงเครื่องมือดิจิทัลไว้ในสาขาเอาใจ Gen Y

“พฤติกรรมของคนดิจิทัลจะเปลี่ยนเร็ว ถ้ายังแข่งขันแบบเดิมอาจไม่พอ เราจึงนำดิจิทัลเข้ามาให้บริการลูกค้าตั้งแต่ตอนนี้” อัจฉรา ซุ่นโลกประเสริฐ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ฝ่ายบริหารสินค้า บริษัท ซี อาร์ ซี สปอร์ต จำกัด เล่าให้ฟังว่า ลูกค้าเลือกใช้ช่องทางออนไลน์ในการช้อปปิ้งมากขึ้น การนำเครื่องมือดิจิตอลมาเสริมประสบการณ์ จะช่วยวิเคราะห์ความต้องการและแนะนำสินค้าให้ลูกค้าได้ดีมากขึ้น

โดยลูกค้าไม่ต้องกังวลว่าพนักงานจะแนะนำแต่สินค้าราคาแพง เพราะต่อไปจะเป็นการเลือกรองเท้าได้ดีตามโปรแกรมที่วิเคราะห์หาตามความเหมาะสมของการใช้งาน วิเคราะห์ตามลักษณะเท้าของลูกค้า ซึ่งมีนำเสนอสินค้าทุกแบรนด์ และการวิเคราะห์นั้น จะเป็นบริการฟรีลูกค้าไม่ต้องเสียเงิน ซึ่งสาขานี้ถือว่าเป็น Flagship Store ร่วมกับพาร์ทเนอร์ในการวิเคราะห์ผ่านโปรแกรม เพื่อเปลี่ยนโฉมตามคอนเซ็ปท์ใหม่ได้อย่างสมบูรณ์แบบ การเปิดร้านซูเปอร์สปอร์ตครั้งนี้ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าทั้งชาวไทยและต่างชาติ

สำหรับสาขา Supersports Central World แห่งนี้ ช่วยรองรับการจับจ่ายของคอกีฬา รวมถึงจุดบริการ Click and Collect จากการสั่งสินค้า Supersports Online ได้อีกด้วย ถือว่าเป็นการเชื่อมการขายแบบ Omni Channel ได้อย่างสมบูรณ์แบบ พร้อมทั้งการสร้าง Engagement และประสบการณ์ตรงกับประเภทกีฬา แต่ละโซนจะมีไฮไลท์สำคัญต่างๆ เช่น Run Lab, Golf Lab, Interactive Wall, Shopping Online, Click and Collect และ Personalization Zone รวมถึงลานกิจกรรม Energy Zone ที่สามารถสร้างสรรค์กิจกรรมกี ฬาใหม่ๆ ที่หลายหลากสำหรับคอกีฬา เหมาะกับคนรุ่นใหม่อย่างแท้จริง  

อีกทั้งการแบ่งโซนสินค้าสำหรับผู้ชาย ผู้หญิงและเด็ก ออกจากกัน ทำให้ลูกค้าสามารถเลือกซื้อสินค้าได้ ตรงกับโซนที่ต้องการ ผ่านงบกว่า 50 ล้านบาท ในการตกแต่งร้าน รวมถึง Digital Element ทั้งหมดอีกกว่า 12 ล้านบาท รวมแล้วกว่า 62 ล้านบาท คาดว่ายอดขายจากสาขานี้ จะเติบโตขึ้นจากเดิมประมาณ 25-30% 

ด้านเหตุผลที่ปรับคอนเซ็ปท์ร้านรูปแบบเก่า มาเป็นโฉมใหม่นั้น เพราะมองว่ารูปแบบเดิมก็ไม่ได้ผิด และยังรองรับลูกค้าได้ดีอยู่ แค่มองภาพอนาคตพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนและคิดว่ายังไม่เห็นธุรกิจแฟชั่นสปอร์ตสไตล์นี้ในไทย ก็เลยต้องก้าวไปข้างหน้าก่อนดิจิทัลจะเข้ามา ซึ่งมีผลเรื่องช้อปมากขึ้น การจัดแบ่งโซนก็ช่วยให้ตอบโจทย์เฉพาะคนแต่ละกลุ่มไปเลย เพราะการวางสินค้าแบ่งเฉพาะแบรนด์อาจมีจำนวนและประเภท ที่เป็นตัวเลือกไม่มากพอ การทำแบบนี้จะช่วยให้ลูกค้าที่เข้ามาเจอสิ่งที่ต้องการได้เลย ซึ่งปกติผู้หญิงจะเข้ามาในร้านมากกว่าผู้ชาย แต่ผู้ชายตัดสินใจซื้อและจ่ายมากกว่าสัดส่วนที่ 45 ต่อ 55 ส่วนค่าใช้จ่ายต่อบิลในสาขาแฟลกชิพนี้ เดิมอยู่ที่ 1,800-2,000 บาท และสิ้นปีนี้จะทำสาขาแบบดิจิทัลนี้อีก 3-4 แห่ง

ด้านพนักงานก็มีการปรับเปลี่ยนบางส่วน คือพนักงานเดิมก็มีการเทรนด์การใช้เครื่องมือดิจิทัลมากขึ้น และรับสมัครพนักงานและเด็กฝึกงานที่เรียนจบด้านวิทยาศาสตร์การกีฬาโดยตรงมาเป็นคนให้ข้อมูลแก่ลูกค้า ซึ่งเราต้องการจำนวนเยอะเพราะต้องกระจายไปทุกสาขา แต่การปรับพนักงานก็ไม่ได้หมายถึงให้ออก เพราะยังมี Hole Sale ด้วย

ส่วนการทำตลาดออนไลน์นั้น ต้องยอมรับว่าการใช้ Influencer และแบรนด์แอมบาสเดอร์ของแบรนด์ ที่ยังนิยมใช้กันมากขึ้นเป็นประโยชน์ในการทำตลาดให้เรา เพราะลูกค้ายังเลือกซื้อจากคนกลุ่มนี้ และมาถามหาของที่หน้าร้านของเรา ทำให้เราสนับสนุน Partner เต็มที่เกี่ยวกับการทำตลาดออนไลน์ จะสั่งซื้อผ่านเว็บล่วงหน้าและมารับของที่สาขาก็ได้ หรือจะปักชื่อของลูกค้าในสินค้าก็ได้ เรามีความร่วมมือกับทางสิงห์ทำโซนนี้ขึ้นมา เรียกว่าเป็นโซน Personalization เชื่อว่าจะพิเศษและโดดเด่นกว่าร้านค้าแนว Sneaker เพราะเขาจับตลาด Nitch Market แต่เราเน้น Mass เลย ทำให้ภาพรวมธุรกิจสปอร์ตแฟชั่นยังมีทิศทางที่ดี