Site icon Thumbsup

The Great Resignation เทรนด์การลาออกยกแผง ที่พนักงานและองค์กรต่างก็ต้องวางแผน

เมื่อสถานการณ์โควิด-19 เริ่มคลี่คลายแน่นอนว่าบริษัทที่มีพนักงานนั่งประจำออฟฟิศย่อมต้องวางแผนที่จะให้พนักงานกลับไปทำงานเช่นเดิม แต่ในต่างประเทศกลับเจอปัญหาพนักงานตัดสินใจลาออกแทนการกลับไปนั่งทำงานที่ออฟฟิศ

ช่วงไตรมาสสองของปี 2021 ปัญหาที่องค์กรธุรกิจในสหรัฐกำลังประสบปัญหากัน นั่นก็คือการตบเท้ากันลาออกจำนวนกว่า 3.9 ล้านคนแล้ว ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจประเภทกลุ่มคนรายได้ต่ำ งานท่ีต้องสัมผัสกับคนจำนวนมาก อย่างเช่น กลุ่มร้านอาหาร โรงแรมและสถานบันเทิง เป็นต้น

สำหรับปัญหานี้ก็คือ The Great Resignation ปัญหานี้คล้ายกับที่เคยเกิดขึ้นเมื่อปี 2530 ที่เรียกว่า The Great Retention โดย 39% ของพนักงานพร้อมลาออกหากต้องกลับไปทำงานออฟฟิศเหมือนเดิม

อย่างไรก็ตาม มีนักวิจัยตลาดหลายฝ่ายคาดการณ์ว่าตัวเลขการลาออกจากงานนี้ จะเพิ่มขึ้นอีก 50% หากเจาะจงเก็บข้อมูลเฉพาะกลุ่มมิลเลนเนียลและเจน Z ซึ่งปัญหานี้กำลังลุกลามไปในหลายประเทศฝั่งยุโรป ไม่ว่าจะเป็น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร เนเธอแลนด์และฝรั่งเศส

ส่วนประเทศไทยนั้น ตัวเลขผู้ป่วยโควิด-19 ในอนาคตหากมีตัวเลขผู้ติดเชื้อลดลงและคนทำงานยุคใหม่ก็คุ้นชินกับการทำงานที่บ้านกันมากขึ้น อาจส่งผลให้การกลับไปทำงานที่ออฟฟิศลดลง และนิยมทำงานแบบ remote มากขึ้น

ต้นตอเทรนด์นี้มาจากไหน

การเกิดขึ้นของเทรนด์นี้ไม่ได้หมายความว่า คนทำงานรุ่นใหม่นั้นขี้เกียจหรือไม่รับผิดชอบต่อหน้าที่การงาน คนรุ่นใหม่พวกนี้ยังคงต้องการงานอยู่ แต่พวกเขาก็ต้องการที่จะยืดหยุ่นเรื่องงานกับชีวิตความเป็นอยู่ไปพร้อมกัน

แม้คนรุ่นก่อนจะมองว่าการเริ่มต้นอัตราค่าแรงที่ 15,000 บาทนั้นสูงกว่าในสมัยก่อนที่เริ่มต้นรายได้ที่หลักพัน แต่ก็ต้องยอมรับด้วยว่ายุคสมัยนั้นปรับเปลี่ยนไปเยอะมาก

ค่าใช้จ่ายในเรื่องของค่าเดินทางไปกลับต่อวันต่อคนเริ่มต้นที่ 50 บาท/วัน ค่าอาหารและเครื่องดื่มอยู่ที่ 100 บาท/วัน ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายยิบย่อยในการใช้ชีวิตร่วมกับคนในสังคม จึงเป็นเหตุผลให้คนรุ่นใหม่อยากประหยัดโดยลดการเกิดขึ้นของสิ่งเร้าจากสังคมรอบตัว

ขยายรายละเอียดความต้องการของพนักงานรุ่นใหม่

สิ่งที่พนักงานรุ่นใหม่ต้องการอย่างเงิน ความยืดหยุ่นและความสุขในการทำงาน เป็นปัจจัยหลักที่คำนึงถึงเป็นอันดับแรกๆ เพราะการกลับไปใช้ชีวิตการทำงานแบบเดิม พนักงานอาจไม่สบายใจเรื่องการติดเชื้อที่ง่ายขึ้น การเดินทางที่อาจเผลอสัมผัสกับสิ่งสกปรกและอยากลดค่าใช้จ่ายจากการเดินทางไปช่วยเพิ่มเงินเก็บได้ดีขึ้น

รวมทั้งการที่ต้องทำงานที่บ้านเป็นเวลานานก็กังวลที่ต้องห่างจากลูกหลานที่ยังเรียนออนไลน์ หรือสัตว์เลี้ยงที่มาอยู่เป็นเพื่อนช่วงที่ work from home

การใช้ชีวิตรูปแบบใหม่ช่วงโควิด-19 หลายคนได้ใช้ชีวิตกับตัวเองมากขึ้น ค้นพบความหมายในการใช้ชีวิต ทำให้พวกเขาพบเจอสิ่งที่ตนเองชอบ และอยากที่จะกลับไปใช้ชีวิตแบบเดิม

การทำงานที่บ้านเป็นระยะนานๆ กลายเป็นสิ่งที่ทำให้พวกเขาเห็นความหมายในการใช้ชีวิตและเปลี่ยนไลฟ์สไตล์หลายอย่างไป เช่น การทำอาหาร การปลูกต้นไม้ การเลี้ยงสัตว์ และพบว่าการทำงานไม่ใช่แค่หาเงินแต่ต้องการต้นทุนหรือเงินทุนไปใช้ในการตามหาความฝันและเดินหน้าทำในสิ่งที่ตนเองต้องการได้ด้วยเงินจากการทำงานนี้

ด้วยรูปแบบการทำงานออนไลน์ที่เหมือนจะสบายไม่ต้องเดินทาง แต่ช่วงแรกของการ WFH ที่มีการประชุมแบบไม่จำกัด และผู้บริหารกดดันเรื่องของเวลานั่งหน้าจอทำงานหนักมากทำให้พนักงานรู้สึกว่าหมดพลังในการทำงานแต่ละวันที่หนักจนไม่มีเวลาพัก ไม่สามารถแยกออกระหว่างการทำงานกับการใช้ชีวิต

ดังนั้น หากผู้บริหารยังคิดว่าการกลับมาทำงานที่ออฟฟิศเพื่อรักษาวัฒนธรรมองค์กร ผู้บริหารจำเป็นต้องตอบคำถาม 3 ข้อนี้ให้ได้ก่อนว่า

ไม่ว่าทางเลือกที่ผู้บริหารองค์กรคือแนวทางใด สิ่งที่ผู้บริหารควรตะหนักก็คือ

พนักงานควรวางแผนชีวิตอย่างไร

ที่มา :

The Secret Sauce

Forbes

Bloomberg

Jobthai

JobDB

Cigna