Site icon Thumbsup

Google เปิดพฤติกรรมผู้บริโภคตลาดโทรคมนาคม ชี้ “เสิร์ชเอนจิน” มีอิทธิพลเหนือทุกสื่อ

คุณไมเคิล จิตติวาณิชย์ หัวหน้าฝ่ายการตลาด Google ประเทศไทย

Google เปิดผลวิจัยเรื่องกระบวนการของผู้บริโภคก่อนตัดสินใจซื้อสินค้าในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม พบพฤติกรรมการเลือกแพกเกจโทรศัพท์มือถือของผู้ซื้อเปลี่ยนไป 9 ใน 10 ตัดสินใจเลือกแบรนด์ล่วงหน้าตั้งแต่ก่อนมาที่ร้านแล้ว ไม่เพียงเท่านั้น ยังพบว่าผู้บริโภคส่วนใหญ่มีพฤติกรรม Second-Screening นั่นคือขณะดูทีวี​ ก็มีการใช้งานสมาร์ทโฟนไปด้วย สูงถึง 75% ในปี 2016

โดยข้อมูลที่ Google หยิบยกมาเปิดเผยกันในวันนี้เริ่มจากตัวเลขของยอดขายสมาร์ทโฟนในประเทศไทยโดย Canalys APAC ที่พบว่าเติบโตอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี 2009 ที่ขายได้ 3 แสนเครื่อง และมาพึคสุดในปี 2014 ที่ขายได้ 15.7 ล้านเครื่อง ก่อนจะลดลงบ้างเล็กน้อยในปี 2016 ไปอยู่ที่ 14.8 ล้านเครื่อง ซึ่งในจุดนี้ คุณไมเคิล จิตติวาณิชย์ หัวหน้าฝ่ายการตลาด Google ประเทศไทยชี้ให้สังเกตในช่วงปี 2011 – 2014 ว่าเพียง 3 ปี ยอดขายของสมาร์ทโฟนในไทยเติบโตขึ้นถึง 7 เท่าตัว ซึ่งนับว่ารวดเร็วมาก 

“ทุกวันนี้ยอดขายสมาร์ทโฟนในไทยเกือบจะเท่ากับ 1 ใน 4 ของจำนวนประชากร ซึ่งเท่ากับว่าเรามีการซื้อกันทุกปี”

ขณะที่ตัวเลขด้านพฤติกรรมของผู้บริโภคก็เปลี่ยนไปเช่นกัน โดยมีการพบว่า ผู้บริโภคชาวไทย 3 ใน 4 คนกลายเป็นกลุ่ม Second – Screening หรือก็คือการที่คนดูทีวีแล้วนำสมาร์ทโฟนมาใช้ด้วย (ปี 2016) ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ชีวิตในปัจจุบันของคนไทยนั้นค่อนข้างซับซ้อนมากขึ้น และไม่ได้รับสารจากหน้าจอเดียวอีกต่อไปแล้ว

สำหรับจุดเปลี่ยนนั้น คุณไมเคิลชี้ว่าเป็นเพราะสภาพแวดล้อมเอื้อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เมื่อทุกคนมีสมาร์ทโฟน และดาต้าแพลนจากค่ายมือถือ ก็ทำให้คนเข้าใช้ Digital Services มากขึ้น จนนำไปสู่การเปลี่ยนพฤติกรรมไปในที่สุด อย่างไรก็ดี เมื่อเปลี่ยนพฤติกรรมแล้วเกิดความสะดวกสบาย ก็ทำให้คนเกิดความต้องการดาต้าแพลนที่มากขึ้นไปอีก ต้องการ services ต่าง ๆ มากขึ้นไปอีก

แต่สำหรับผู้ประกอบการ Google ชี้ว่าในการบริโภคที่เพิ่มมากขึ้นนี้มีความท้าทายซ่อนอยู่ 3 ประการ ได้แก่

“เมื่อก่อนผู้ประกอบการทำแคมเปญอัดลงทีวี ก็จบ แต่พอมาปัจจุบัน มันมีข้อมูลเยอะมาก ผู้บริโภคหาข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ต เข้าเว็บอะไร เข้านานแค่ไหน ดูอะไรบ้าง ข้อมูลพวกนี้มีมหาศาลจนนักการตลาดประมวลผลไม่ไหว” คุณไมเคิลกล่าว “Google เราเชื่อว่า ตัวช่วยที่จะทำให้เราเข้าใจข้อมูลมหาศาลเหล่านี้ได้ก็คือ Machine Learning ซึ่งเป็นเทคนิคที่ป้อนข้อมูลจำนวนมากให้คอมพิวเตอร์และให้มันเรียนรู้ด้วยตัวเอง พอมันเรียนรู้ด้วยตัวเองมันจะเข้าใจข้อมูลจำนวนมากได้ง่ายและเร็วขึ้น และเราได้ใส่ Machine Learning ลงในผลิตภัณฑ์ของ Google แล้วในหลาย ๆ ผลิตภัณฑ์”

Path to Purchase

โดยในส่วนของผลการวิจัยหัวข้อ “Path to Purchase” โดยความร่วมมือระหว่าง Google และ TNS ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยการตลาดชั้นนำ แสดงให้เห็นถึงกระบวนการที่ซับซ้อนของผู้บริโภคก่อนตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า โดยได้สัมภาษณ์ผู้ซื้อสินค้าและบริการที่เฉพาะเจาะจง รวมทั้งผู้ที่ซื้อแพ็คเกจโทรศัพท์มือถือในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ทั้งเพศชายและหญิง อายุระหว่าง 18-60 ปี จำนวนทั้งสิ้น 500 รายพบว่า

 

 

ทั้งนี้จะเห็นได้ว่า ในความซับซ้อนที่มากขึ้นเรื่อยๆ ของโลกปัจจุบัน และการมีแหล่งข้อมูลให้เลือกมากมายนั้น นักการตลาดก็ยังสามารถดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคได้ด้วยข้อมูลที่เป็นประโยชน์และเกี่ยวข้องกับความต้องการของพวกเขา ซึ่งจะช่วยเพิ่มยอดขายสินค้าหรือบริการได้เป็นอย่างดี

การวิจัยยังแสดงให้เห็นอีกว่าปัจจุบันคนไทยให้ความสำคัญกับสิ่งที่พวกเขาต้องการมากกว่าสิ่งที่พวกเขาเป็น (เช่นการอิงจากข้อมูล Demographic เช่น อายุและเพศ) ดังนั้น แม้ว่าข้อมูลประชากรยังคงมีความสำคัญในการวางแผนการตลาด แต่ “เจตนาของผู้บริโภค” หรือสิ่งที่ผู้คนต้องการในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งถือเป็นโจทย์ใหญ่ที่สำคัญที่นักการตลาดต้องตอบสนองให้ได้ค่ะ